รวมที่สุด 3 วิธีแบ่งใช้เงินให้รวยที่ทำได้จริง!!

รวมที่สุด 3 วิธีแบ่งใช้เงินให้รวยที่ทำได้จริง!!

รวมที่สุด 3 วิธีแบ่งใช้เงินให้รวยที่ทำได้จริง!!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เงินเดือนออกแล้วจ้า!!

ช่วงต้นเดือนเป็นช่วงที่หลายคนลั้นลามากๆเพราะเงินเดือนพึ่งออก อารมณ์ประมาณว่าช่วงต้นเดือนเป็นฤดูจ่ายตังค์ ของบางอย่างที่เล็งไว้ตั้งแต่เดือนที่แล้วยังซื้อไม่ได้เพราะเงินหมด ก็เก็บความรู้สึกอัดอั้นตันใจเอาไว้ พอเงินเดือนออกปุ๊บก็จัดหนักทันที พอความรู้สึกอัดอั้นมันเบาลงเพราะซื้อของที่อยากได้ไปหมดแล้ว ก็จะเกิดความรู้สึกตื่นเต้นเข้ามาแทนที่ เวลามองไปในกระเป๋าสตางค์จากแบงก์พันเป็นปึกๆเหลืออีกทีไม่กี่ร้อยบาท รวมถึงบิลที่ใช้รูดบัตรเครดิตเข้ามาแทนทีเงินสดในกระเป๋า สมองก็จะคิดว่า “เดือนนี้จะจ่ายแบบนี้เป็นเดือนสุดท้ายและจะได้ออมเงินสักที” สุดท้ายเดือนต่อไปก็เข้ารูปแบบเดิมที่มีแต่คำว่า “จ่าย จ่ายและจ่าย”

หากไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เงินหมดกระเป๋าก่อนสิ้นเดือน เราควรแบ่งใช้เงินให้เป็นระเบียบมากขึ้น ส่วนไหนให้เก็บก็ต้องเก็บอย่าไปแอบหยิบมาใช้เด็ดขาด ส่วนไหนจ่ายหนี้ก็ควรจ่ายให้ตรงตามเวลา ส่วนที่เหลือจึงนำมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน บทความนี้จะแนะนำวิธีแบ่งเงินใช้จ่ายเพื่อให้ชีวิตเรามีระเบียบวินัยมากขึ้น ซึ่งควรนำแต่ละวิธีไปปรับใช้ให้เข้ากับลักษณะนิสัยการใช้เงินของตนเอง

รวมที่สุด 3 วิธีแบ่งใช้เงินให้รวยที่ทำได้จริง!!

วิธีที่ 1 แยกบัญชีอัตโนมัติ – ออมเป็นระบบ

วิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่ชอบทำทุกอย่างให้เป็นอัตโนมัติ โดยตั้งระบบตัดบัญชีโอนเงินออกไปไว้ตามบัญชีรายจ่ายต่างๆที่ตั้งระบบไว้ หากจะใช้วิธีนี้ก็จะต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายแต่ละส่วนให้แน่นอนว่าเรามีรายจ่ายอะไรบ้าง เราแบ่งรายจ่ายอย่างง่ายออกเป็น 3 ส่วน ตามนี้เลยจ๊ะ

เงินออม
รายจ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือน
เงินรายได้(เงินเหลือใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน)

เมื่อได้รับเงินเดือนแล้วก็จะถูกตัดอัตโนมัติไปใส่ไว้ที่ “บัญชีเงินออมและบัญชีรายจ่าย” ตามสัดส่วนที่เรากำหนดไว้ ควรปรับให้เหมาะสมกับรูปแบบวิธีการใช้ชีวิตของตนเอง บางคนอาจจะมีรายจ่ายน้อยก็อาจจะออมมากกว่า 30% ก็ได้ ตัวอย่างการแบ่งสัดส่วน

เงินออม 30%

รายจ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือน 45%

ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน 25%

แนวคิดของวิธีนี้มีเป้าหมายแตกต่างกัน ดังนี้

1. บัญชีเงินเดือน(เงินรายได้)

==> บัญชีนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่รายได้เข้ามา แต่เป็นที่สุดท้ายที่เราจะได้ใช้ อย่ากดเงินไปใช้อย่างลั้นลาตั้งแต่ครั้งแรกที่เงินเข้าบัญชีเงินเดือน แต่ต้องใช้หลังจากที่หักจากบัญชีเงินออมและบัญชีรายจ่ายในข้อ 2,3 เรียบร้อยแล้ว เราจะใช้เงินที่เหลือในบัญชีเงินเดือนเท่านั้น โดยจะต้องหาวิธียังไงก็ได้ที่ต้องใช้เงินจำนวนนี้ให้พอใช้ถึงสิ้นเดือนและไม่ก่อหนี้เพิ่ม

2. บัญชีเงินออม

==> เราสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของการลงทุนเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ โดยเลือกตามความเสี่ยงที่เรายอมรับได้

ระยะสั้น – เงินเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉินเพราะถอนได้ทันทีในเวลาที่รีบใช้เงินก็ฝากไว้กับบัญชีออมทรัพย์ กองทุนรวมตลาดเงิน
ระยะปานกลาง – เงินเก็บไว้เพื่อลงทุนให้เติบโต เช่น ฝากประจำ กองทุนรวมตลาดทุน โปรแกรมออมทอง โปรแกรมออมหุ้น หุ้นปันผลสูง หุ้นกู้เกรด A
ระยะยาว – เงินเก็บไว้เพื่อเกษียณอายุ เช่น RMF ประกันชีวิตชนิดบำนาญ กบข.(ข้าราชการ) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(เอกชน)

3. บัญชีรายจ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือน

==> เป็นรายจ่ายประเภทหนี้สินต่างๆ หรือรายจ่ายประจำที่ชีวิตเราขาดไม่ได้ เช่น

หนี้ที่ต้องจ่าย คือ หนี้บ้าน หนี้รถ หนี้บัตรเครดิต หนี้เงินกู้นอกระบบ
รายจ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายทุกเดือน หากไม่จ่ายจะทำให้ชีวิตเราลำบากแน่นอน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ หากไม่จ่ายเราก็จะถูกตัดน้ำ ตัดไป ตัดการสื่อสาร

วิธีที่ 2 แบ่งเงินใช้วันละ 200 บาท – เป้าหมายชัดเจน
วิธีนี้เป็นของน้องฝ้ายเลขาน้องหมีแห่งดินแดน Aommoney ของเรานี่เอง ด้วยสภาพแวดล้อมรอบๆที่ทำงานมีแต่ของแพงเพราะทำงานย่านใจกลางเมืองแถวรถไฟฟ้าสุรศักดิ์ ก็ต้องควบคุมรายจ่ายให้ดีเพื่อเป้าหมายสูงสุดของชีวิต คือ เก็บเงินทำนม แม้ว่าตอนนี้เรียนจบปริญญาตรีแล้วแต่ขนาดของนมยังอยู่ระดับประถมอยู่เลย นมโตไม่ทันตามวัยก็ต้องใช้มีดหมอเป็นทางลัด

เมื่อได้รับเงินเดือนน้องฝ้ายจะใช้วิธีตัดรายจ่ายทั้งหมดออกไปก่อน เช่น ค่าเช่าห้อง ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศํพท์ กองทุนนม เหลือเท่าไหร่ก็จะใช้วิธีหารเฉลี่ยต่อวัน โดยตั้งใจไว้ว่าใช้ไม่เกิน 200 บาทต่อวัน แล้วก็แลกแบงก์ 100 มาเก็บใส่ถุงแบบนี้

หากทำแบบนี้ต่อไปกองทุนนมของน้องต้องเติบโตขึ้นแน่นอน แฟนเพจช่วยเป็นกำลังใจให้น้องฝ้ายด้วยนะจ๊ะ ^_^

วิธีที่ 3 แบ่งเงินใช้วันละ 120 บาท

อ่านกระทู้นี้แล้วชอบมากๆ คิดว่าน่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นได้อย่างมาก เราขอเล่าโดยใช้ข้อความในกระทู้ที่ตัดตอนออกมาบางส่วนแล้วแทรกด้วยความคิดเราเพื่ออธิบายเรื่องที่น่าสนใจเป็นสีส้ม (หากต้องการอ่านเรื่องราวทั้งหมดรบกวนคลิกที่ลิงค์ในส่วนของหมายเหตุด้านล่างนะจ๊ะ)

เริ่มเรื่องกันเลยจ้า…

ทำงานที่โรงพยาบาลได้เกือบๆ ปี เราก็เปลี่ยนงานค่ะ มาทำเอกชนแทน ลักษณะงานก็เปลี่ยนไป ต้องปรับตัวนิดหน่อย ค่าตอบแทนสูงกว่ารัฐ ประมาณ 3 เท่า งานไม่ค่อยหนักเท่าไหร่ แต่เน้นการบริการมากกว่า การแบ่งหน้าที่การจัดการดีกว่าที่เดิมค่ะ

ช่วงที่เพิ่งเปลี่ยนงาน เราต้องวางแผนการจัดงานเงินใหม่เพราะรายได้เพิ่มขึ้น เราก็ต้องเก็บมากขึ้น ตอนที่ทำงานอยู่โรงพยาบาลเก็บเดือนละ 5,000-7,000 บาท (จากรายได้ หมื่นกว่าบาท) ตอนนี้รายรับประมาณ 4x,xxx บาท เราเก็บโหดมากค่ะ หักไว้ 3หมื่นบาท/เดือน ไว้เป็นเงินเก็บที่เหลือก็ใช้จ่าย เป็นค่าอาหาร ค่าห้องพัก ค่าน้ำมัน รวมๆแล้วก็ใช้ประมาณหมื่นกว่าบาท

แนวคิดว่า “รายได้มากขึ้นก็ต้องออมเงินมากขึ้น” นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง

เงินออมควรเติบโตตามรายได้ หลายคนอาจจะได้ยินบ่อยๆว่า “เงินเดือนมากขึ้นรายจ่ายก็มากขึ้น” หันไปทางไหนก็มีแต่รายจ่าย สิ้นเดือนมาก็ไม่มีเงินเก็บ หันไปดูรอบๆตัวก็ไม่ได้สิ่งของที่เป็นชิ้นเป็นอันกลับมา หากมีเงินเดือนเพิ่มขึ้นกว่านี้ก็ไม่มีประโยชน์เพราะเก็บเงินไม่อยู่ แม้ว่าเงินเดือนเรามากขึ้น แต่เราก็ใช้ชีวิตได้เหมือนเดิมก็ได้ ถือคติว่า “อยู่เงียบๆแต่เงินเพียบนะจ๊ะ”

ตอนนี้เข้ามาอยู่ในเมืองใหญ่ (ในภาคอิสาน) สิ่งยั่วยุ มันก็เยอะ ออกจากห้องเป็นต้องเสียเงิน เราก็เลยจัดการการใช้เงินโดยถอนแค่เดือนละ 1 ครั้ง (เท่าที่จะใช้) ต้องบอกก่อนว่าเราทำบัญชีรายรับรายจ่ายเป็นประจำอยู่แล้วเพื่อให้รู้ว่าเราใช้อะไรไปบ้างเกินความจำเป็นรึเปล่า แต่ตอนนี้มันอยู่ตัวแล้ว เราไม่ได้ทำบัญชีแล้วค่ะเพราะคุมเงินอยู่แล้ว

ทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย

สำหรับคนที่อยากรู้ว่าเงินตัวเองหายไปไหนในแต่ละเดือนก็ต้องจดไว้ว่าจ่ายกับอะไรไปบ้าง เพื่อควบคุมรายจ่าย หากเราทำเป็นกิจวัตรก็จะรู้ว่าแนวทางการจ่ายเงินของเราเป็นแบบไหน ก็จะจัดทำเป็นงบประมาณรายจ่ายได้และอาจจะไม่ต้องจดบัญชีต่อไป แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงในชีวิต เช่น จากที่เคยอยู่กับพ่อแม่ก็แยกตัวออกมาอยู่ส่วนตัว คนโสดก็อาจจะแต่งงานมีครอบครัว หรือมีการอย่าร้างต้องดูแลลูกฝ่ายเดียว ก็อาจจะต้องจดบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อจะได้รู้พฤติกรรมการใช้เงินของตัวเองที่เปลี่ยนไปจะได้คุมรายจ่ายของตนเองได้

เงินที่ถอนมาเราเน้นแบงค์ 100 กับ แบงค์ 20 ค่ะ เนื่องจากเราต้องใช้เงินที่มีอยู่ในจำนวนที่จำกัด จึงต้องคุมเข้มหน่อย อยากสบายในอนาคตก็ต้องอดทน นี่คือปฏิทินเงินค่ะ วิธีใช้ง่ายมากค่ะ ถ้าวันนี้วันที่ 1 ก็หยิบซองเลข 1 ไปใช้ ใช้ตามวันเลยค่ะ วันละ 120 บาทที่คำนวณไว้ ใช้กินได้อิ่มหนำสำราญค่ะ ข้าวพิเศษ 3 มื้อยังได้เลยวันนึงก็ใช้ประมาณ 120 บาทแต่เราซื้อข้าวถุงละ 8 บาทกับข้าว 25 บาท (ได้เยอะมาก) เราก็แบ่งทาน 2 มื้อ ประมาณ 10โมงเช้ากับบ่าย 3 มื้อเย็นกินนมบ้างไม่กินบ้างลดหุ่นไปในตัวเราจะได้สวยและรวยมาก

วินัยการใช้เงินคือสิ่งสำคัญที่สุด

เราทำงานเหนื่อยแล้วขอใช้เงินให้หายเหนื่อยหน่อยเถอะนะ จะให้เข้มงวดเรื่องการใช้เงินอีกมันบังคับตัวเองมากเกินไป ชีวิตนี้ก็เครียดมากพอแล้ว หากคิดแบบนี้พอถึงวันเงินเดือนออกเราก็จะจ่ายเงินจนหมด จนบางครั้งไม่คิดจะออมเงินเก็บไว้เลย ซึ่งแนวคิดแบบนี้ค่อนข้างอันตรายในระยะยาว

ลองคิดขำๆว่าหากเราเกิดป่วยด้วยโรคอะไรสักอย่างที่ต้องนอนพักเป็นเดือนๆ บริษัทจะยังจ้างเราอยู่ไหมและหากเราไม่เก็บเงินเผื่อไว้ตอนป่วยหละชีวิตจะเป็นยังไง รวมถึงค่ายา ค่ารักษาพยาบาลอีกจิปาถะจะนำเงินส่วนไหนมาจ่าย อย่ามองว่าคนที่มีระเบียบวินัยเข้มงวดกับการเงินแล้วจะมีชีวิตลำบาก ไม่มีความสุข ทั้งที่ความจริงแล้วเขามีความสุขที่เห็นเงินออมเติบโตขึ้น เรามองว่าความสุขบางอย่างก็ไม่จำเป็นต้องใช้เงิน เช่น การมีเวลาให้ครอบครัว การทำกับข้าวทานเองที่บ้าน การทำผักสวนครัวกับลูก ฯลฯ

พอกลับห้องก็เอาเงินที่เหลือเก็บแยกไว้ นี่คือกล่องเก็บแบงค์ 20 และนี่กล่องเก็บแบงค์ 100 ค่ะ เหรียญก็ใส่คอนโดเหรียญอีกเช่นเคย ไม่น่าเชื่อว่าเราเหลือเงินกลับห้องทุกวันค่ะ บางวันใช้แค่ 30 บาทเองนะ

พ่อกับแม่มีรายได้ประจำประมาณ คนละ 5x,xxx / เดือนค่ะเราก็เลยซื้อของให้แทน เพราะคุณแม่เค้าจจะไม่ค่อยซื้อของให้ตัวเองเช่นโทรศัพท์ ใช้มาเป็น 10 ปี จนปุ่มลอกหมด หรือลำโพงเสีย แบตเสื่อมก็ไม่เปลี่ยนก็เลยซื้อเครื่องใหม่ให้ท่าน กลับบ้านก็พาไปทานข้าว ซื้อเป็นสิ่งของให้แทนค่ะ เพราะดูแล้วถึงให้เงินไปท่านก็คงไม่ใช้และไม่ซื้อของให้ตัวเองด้วย

ค่าโทรศัพท์เดือนนึงไม่เกิน (รวมอินเตอร์เน็ต) 500 บาทค่ะของฟุ่มเฟือยมีบ้างค่ะ จะเป็นพวกเสื้อผ้า รองเท้า แต่เราไม่ติดแบรนด์เนมซื้อให้ใส่แล้วดูดีก็พอค่ะ บางตัวซื้อมา 200 เพื่อนถามว่ากี่พันก็มีนะแต่รองเท้าที่ใส่ทำงานเราจะเน้นคุณภาพ ใส่สบาย และใช้ได้นาน ก็อาจจะแพงบ้างแต่นานๆซื้อที

เราพักอยู่คนเดียวค่ะ ทำงาน 11.00-20.00 น. ทำงาน 6 วัน/สัปดาห์เลิกงานห้างก็ทยอยปิดกันแล้ว ถ้าอยู่คนเดียวไม่ค่อยทานข้าวในห้างนะคะ แต่ถ้ากลับบ้านก็จะพาคุณพ่อ คุณแม่ ออกไปทานเสมอ (กลับบ้านเดือนละครั้ง ครั้งละ2-4 วัน) เงินที่ใช้เกินจากเงินรายวัน ก็เป็นเงินที่แบ่งไว้ หรือเป็นเงินที่เหลือจากเงินรายวันค่ะ ค่าใช้จ่ายคร่าวๆ…

วิธีแบ่งสัดส่วนการใช้เงิน

การจดบัญชีรายจ่ายจะทำให้เรารู้จักนิสัยการจ่ายเงินของตัวเอง รู้ภาพรวมว่าส่วนใหญ่แล้วจ่ายไปกับอะไรบ้างแล้วเราจะแบ่งใช้เงินตามสัดส่วนรายจ่ายของตัวเองได้อย่างแม่นยำ แม้ว่าเจ้าของกระทู้คนนี้จะได้รับเงินดือน 4 หมื่นกว่าๆแต่ก็ใช้เงินเพียง 12,000 บาทต่อเดือน หรือประมาณ 30% ของรายได้

กดเงิน 12,000 บาท
==> ค่าใช้จ่ายรายวัน 120*30 = 3,600 (เหลือวันละ 10-90 บาท)
==> ค่าห้อง รวมน้ำ ไฟ เน็ต = 5000
==> ค่าโทรศัพท์ = 500
==> ค่าน้ำมัน = 250
==> ของใช้อื่นๆ = 1,000

ก็จะเหลือใช้อีกเกือบ 2,000 บาทค่ะ

ชอบวิธีไหนก็ลองเลือกไปใช้ดูนะจ๊ะ ไม่จำเป็นต้องเหมือนเป๊ะ
เพราะต้องดัดแปลงให้เข้ากับลักษณะการใช้เงินของแต่ละคน

หมาเหตุ ขอขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูลวิธีที่ 3

แชร์ประสบการณ์การออมเงิน (ฉบับคนธรรมดา) ==> http://pantip.com/topic/32167383

ขอบคุณบทความดีๆจาก www.aommoney.com  

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook