37 รัฐวิสาหกิจ ขอปรับโครงสร้างเงินเดือนใหม่ ขั้นแรกขอ 9,040 บาท ขณะที่ขั้นอื่น ๆ ขอเพิ่ม4.3-5%

37 รัฐวิสาหกิจ ขอปรับโครงสร้างเงินเดือนใหม่ ขั้นแรกขอ 9,040 บาท ขณะที่ขั้นอื่น ๆ ขอเพิ่ม4.3-5%

37 รัฐวิสาหกิจ ขอปรับโครงสร้างเงินเดือนใหม่ ขั้นแรกขอ 9,040 บาท ขณะที่ขั้นอื่น ๆ ขอเพิ่ม4.3-5%
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พลเอก สุรศักดิ์กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ว่าในที่ประชุมได้หารือกรณีสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ (สรส.)และกลุ่มประสานงานบุคคลรัฐวิสาหกิจ (กบร.) เสนอขอปรับปรุงบัญชีโครงสร้างเงินเดือนค่าจ้างพนักงานรัฐวิสาหกิจ37 แห่งซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการพิจารณาสภาพการจ้างของรัฐวิสาหกิจ ไปทำการศึกษาเมื่อได้ข้อสรุปให้เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พิจารณาว่าจะมีการปรับโครงสร้างเงินเดือนของพนักงานรัฐวิสาหกิจในแนวทางใด

ขณะที่ นายศิริชัย ไม้งามประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)ในฐานะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฝ่ายลูกจ้าง กล่าวว่าปัจจุบันบัญชีโครงสร้างอัตราเงินเดือนค่าจ้างของรัฐวิสาหกิจไทย 37 แห่ง อาทิ  องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ, การประปานครหลวง, องค์การเภสัชกรรมมีการใช้โครงสร้างอัตราเงินเดือน 58 ขั้น โดยขั้นแรกอัตราเงินเดือน 5,780 บาท และขั้นที่58 อยู่ที่ 113,520 บาท แต่ที่มีการใช้จริงจะเริ่มจ่ายขั้นที่12 อัตรา 9,040 บาทเนื่องจากขั้นที่ 1-11.5 จ่ายค่าจ้างต่ำกว่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทหรือเท่ากับเดือนละ 9,000 บาท ตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนด ดังนั้นสรส.จึงได้เสนอขอปรับปรุงบัญชีเงินเดือนอัตราค่าจ้างของรัฐวิสาหกิจใหม่โดยกำหนดให้ขั้นที่ 1 อัตรา 9,040 บาทส่วนขั้นต่อไปปรับขึ้นเฉลี่ยในอัตราร้อยละ 4.3 ของฐานเงินเดือนซึ่งจะทำให้อัตราเงินเดือนขั้นที่ 58 อยู่ที่ 189,330 บาท

ส่วนข้อเสนอของกลุ่มประสานงานบุคคลรัฐวิสาหกิจอาทิ กฟผ. การไฟฟ้านครหลวง บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ขอปรับปรุงขั้นที่ 1-40 ยังคงใช้โครงสร้างอัตราเงินเดือนเดิมแต่ขั้นที่ 40.5ถึงขั้นที่ 58 เสนอให้ปรับเพิ่มในอัตราร้อยละ5 ขณะที่ขั้นที่ 58.5 ถึงขั้นที่ 70 เสนอให้ปรับเพิ่มเฉลี่ยครึ่งขั้นคือร้อยละ 2.80โดยอัตราสูงสุดอยู่ที่231,280 บาททั้งนี้เหตุผลที่เสนอปรับโครงสร้างเงินเดือนเนื่องจากโครงสร้างเงินเดือนค่าจ้างของพนักงานรัฐวิสาหกิจนั้นได้ใช้มาตั้งแต่ปี 2537 หากไม่มีการปรับโครงสร้างจะทำให้พนักงานรัฐวิสาหกิจขาดขวัญและกำลังใจซึ่งมีผลกระทบต่อการประกอบการและกระทบถึงผลประกอบการและการนำเงินส่งเข้ารัฐ.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook