ผู้บริโภคจุก! ไข่ไก่ปรับราคาขึ้นฟองละ 20 สตางค์ ดีเดย์ไข่แพง 28 ตุลาคมนี้!

ผู้บริโภคจุก! ไข่ไก่ปรับราคาขึ้นฟองละ 20 สตางค์ ดีเดย์ไข่แพง 28 ตุลาคมนี้!

ผู้บริโภคจุก! ไข่ไก่ปรับราคาขึ้นฟองละ 20 สตางค์ ดีเดย์ไข่แพง 28 ตุลาคมนี้!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นายอรรณพ อัครนิธิยานนท์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ เปิดเผยว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่เตรียมปรับขึ้นราคาไข่ไก่หน้าฟาร์มอีก 20 สต.ต่อฟอง หรือจาก 2.60 บาทต่อฟอง (ไข่คละ) เป็น 2.80 บาทต่อฟอง คาดว่าจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 28 ต.ค. 57 เนื่องจากความต้องการไข่ไก่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะความต้องการของร้านอาหารและโรงแรมรองรับช่วงการท่องเที่ยวไฮซีซั่น ประกอบกับช่วงที่ผ่านมาราคาไข่ไก่ตกต่ำมาตลอดหรือต่ำกว่าต้นทุนที่เฉลี่ยฟองละ 3 บาท จนส่งผลให้เกษตรกรประสบปัญหาการขาดทุนอย่างหนักในช่วง 2-3 เดือนก่อนหน้านี้

ทั้งนี้การปรับขึ้นราคาหน้าฟาร์มเป็นมติของสมาคมฯที่มีการประชุมกันอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 22 ต.ค. ที่ผ่านมาในการแนวทางช่วยเหลือเกษตรกร อย่างไรก็ตามราคาหน้าฟาร์มใหม่นั้นถือว่าเป็นราคาที่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีราคา 3.50 บาทต่อฟอง หรือต่ำกว่า 70 สต.ต่อฟอง ซึ่งราคาหน้าฟาร์ม 3.50 บาทถือว่าเป็นราคาที่สูงประวัติศาสตร์ที่เกษตรกรได้รับ
              
ขณะเดียวกันการปรับราคาหน้าฟาร์มเป็น2.80 บาทต่อฟองไม่จำเป็นต้องแจ้งให้กรมการค้าภายในทราบเพราะอยู่ในกรอบราคาของคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์กำหนดให้ราคาขายหน้าฟาร์มมีกำไรไม่เกิน 20% ของต้นทุนการผลิต  อย่างไรก็ตามการปรับราคาหน้าฟาร์มครั้งนี้ก็จะส่งผลให้ราคาขายปลีกเพิ่มอีก 20-30 สต. ต่อฟอง หรือราคาอยู่ที่ 3.20-3.30 บาทต่อฟอง แล้วต่อระยะทางการขนส่ง เพราะผู้ค้าต้องมีต้นทุนเพิ่มขึ้นเช่นกัน
       
“อยากให้ผู้บริโภคเข้าใจถึงต้นทุนของไข่ไก่ที่เกษตรกรต้องรับภาระขาดทุนมาตลอดในช่วง 2 เดือน เพราะที่ผ่านมาราคาหน้าฟาร์มเคยลงไปสู่ระดับ 2.4 บาทต่อฟอง ซึ่งต่ำสุดในรอบหลายปี ขณะเดียวกันก็อยากให้ผู้บริโภคทราบว่าไข่ไก่เป็นสินค้าที่มีโปรตีนสูงแต่ราคาถูกสุดแล้วเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์นม หรือพืชตระกูลถั่ว เป็นต้น”
    
นายอรรณพ กล่าวว่า ทางสมาคมยังมีแผนในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ 40,000 – 50,000 รายซึ่งมีการเลี้ยงไก่ไข่เฉลี่ยรายละ 500-1ล้านตัว ทั้งในระยะกลางและระยะยาวด้วย โดยระยะกลาง ทางสมาคมฯจะมีการศึกษาเพื่อวางแผนในการดูแลแม่ไก่ไม่ให้มีปริมาณมาเกินไป โดยหากปริมาณไก่ไข่มีมากเกินไปจนเกินความต้องการของตลาดอาจมีลดปริมาณแม่ไก่ไข่ลง 5-10% เพื่อให้เกิดความเหมาะสม เพราะหากมีปริมาณไข่ไก่ออกมาล้นตลาดก็จะทำให้ราคาตกต่ำลงได้ เนื่องจากการระบายไข่ไก่โดยการส่งออกไปต่างประเทศนั้นยอมรับว่าผู้ส่งออกจะได้กำไรน้อยกว่าการจำหน่ายในประเทศเพราะต้องมีค่าขนส่ง ภาษี และค่าบริหารจัดการอื่นๆ จำนวนมาก
  
ส่วนแผนระยะยาวก็ต้องเสนอให้ภาครัฐพิจารณาการส่งเสริมการจัดตั้งโรงงานแปรรูปไข่ไก่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและดึงไข่ไก่ส่วนเกินในท้องตลาดได้ ซึ่งจะช่วยพยุงไม่ให้ราคาไข่ไก่ตกต่ำเหมือนในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมาจนเกษตรกรประสบปัญหาการขาดทุนอย่างหนัก
          
นายอรรณพ กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลกินเจรอบที่ 2 ระหว่างวันที่ 24 ต.ค. – 1 พ.ย. 57 จะไม่ส่งผลกระทบต่อราคาไข่ไก่มากนัก ต่างจากช่วงกินเจรอบแรกระหว่างวันที่ 24 ก.ย. – 2 ต.ค. 57 เนื่องจากการกินเจในรอบ 2 จะมีผู้กินเจไม่มากนักหรือประมาณ 10% ของผู้ที่กินเจรอบแรก ซึ่งผู้ที่กินเจรอบ 2 จะเป็นกลุ่มที่มีความศรัทธาเป็นพิเศษ
              

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook