“หม่อมอุ๋ย” สั่งแยกหนี้จำนำข้าว 5 แสนล้านบาท พร้อมทั้งเร่งหาวิธีใช้หนี้ให้หมดโดยเร็ว

“หม่อมอุ๋ย” สั่งแยกหนี้จำนำข้าว 5 แสนล้านบาท พร้อมทั้งเร่งหาวิธีใช้หนี้ให้หมดโดยเร็ว

“หม่อมอุ๋ย” สั่งแยกหนี้จำนำข้าว 5 แสนล้านบาท พร้อมทั้งเร่งหาวิธีใช้หนี้ให้หมดโดยเร็ว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แหล่งข่าวกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า หม่อมราชวงศ์ ปรีดียาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ ได้สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)  สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ   (สบน.)  แยกหนี้จำนำข้าว  5 แสนล้านบาท ที่เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ออกมาและร่วมกันหารือ เพื่อหาวิธีการบริหารหนี้จำนำข้าวก้อนนี้ต่างหาก ให้หนี้หมดเร็วที่สุด เพื่อไม่ให้เป็นภาระหนี้ที่ลูกหลานจะต้องมาแบกรับในอนาคตด้วย

โดยเบื้องต้น สบน.ประเมินว่าหากสามารถชำระหนี้จำนำข้าวก้อนหนี้ได้ทั้งหมด จะทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพี ลดลงเกือบ 1% จากเดือนมิถุนายน 2557 อยู่ที่ 47% ซึ่งจะชำระหนี้ได้หมดเมื่อใดนั้นคงต้องรอดูทั้งข้าวในสต็อคเหลือเท่าไหร่ และต้องดูว่ากระทรวงพาณิชย์ขายข้าวได้หมดเมื่อไหร่ด้วย

“วิธีการดำเนินล้างหนี้จำนำข้าวดังกล่าว จะต้องรอคณะอนุกรรมการตรวจสอบสต็อกข้าว สรุปผลการตรวจสอบสต็อกข้าวทั้งหมดทั่วประเทศก่อน ว่าจะมีข้าวเสื่อมสภาพไปมากเท่าไหร่ และมีข้าวดีเท่าไหร่ และขณะนี้ได้ให้ทางกระทรวงพาณิชย์เร่งระบายข้าว ในราคาตลาดปัจจุบัน  รวมถึงทำรายงานแผนระบายข้าวเพื่อลดหนี้ดังกล่าวกลับมาเสนอ  จะลดหนี้ได้เท่าไหร่ และหนี้ส่วนที่เหลือต้องตั้งงบประมาณชำระหนี้กี่ปี 

ส่วนทาง ธ.ก.ส. ประเมินภาระต้นทุนที่ใช้สภาพคล่อง 9 หมื่นล้านบาท มาดำเนินโครงการดังกล่าว  รวมถึงคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าว จะมาคำนวณผลขาดทุนแท้จริงเป็นเท่าไหร่ เพื่อตั้งงบประมาณชำระผลขาดทุนจะใช้ระยะเวลากี่ปี”แหล่งข่าวกล่าว

ขณะที่ตามแผนบริหารหนี้สาธารณะปี2558 วงเงินทั้งสิ้น 1.4 ล้านล้านบาท เป็นวงเงินปรับโครงสร้างหนี้  2 แสนล้านบาท  ในจำนวนนี้เป็นการโครงสร้างหนี้จำนำข้าวถึง 50%  หรือประมาณแสนล้านบาท พร้อมกันคณะรัฐมนตรีได้มีมติ ขยายระยะเวลากรอบวงเงินรับจำนำข้าวต้องไม่เกิน 5 แสนล้านบาท  จาก 31 ธันวาคม 2557  ออกไปเป็น 30 กันยายน 2558 

เนื่องจากการตรวจสอบสต็อกข้าวและระบายข้าวมาชำระหนี้คืน มีความยากลำบาก  ขณะที่ในส่วนของงบประมาณ ปี 2558 สำนักงบประมาณ ได้จัดสรรเงินสำหรับชำระหนี้ธ.ก.ส. วงเงิน 8.4 หมื่นล้านบาท  โดยในจำนวนนี้จะนำมาชำระหนี้เงินต้น  3 หมื่นล้านบาท 

ทั้งนี้ ในการปิดบัญชีรับจำนำข้าว ในส่วนของผลขาดทุน ในทางบัญชี จะบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายไว้ก่อน  โดยจะต้องทำเป็นบัญชีพัก สงสัยหนี้จะสูญไว้ก่อน จนกว่าจะติดตามหนี้จนถึงที่สุด หมายถึง จะสิ้นสุดกระบวนการฟ้องร้อง 3 ศาล ซึ่งอาจจะตามได้คืนมาบางส่วน และหากไม่สามารถติดตามหนี้ได้ ถึงจะตัดเป็นหนี้สูญ  นอกจากนี้อาจจะต้องมีการตั้งสำรองจากงบประมาณ เพื่อทยอยชำระคืนหนี้ 

แต่อย่างไรก็ตาม ตั้งข้อสังเกตว่า อาจจะใช้ระยะเวลานานมากกว่ากระบวนการติดตามหนี้จนถึงที่สุดจะเสร็จสิ้น


สำหรับการปิดบัญชีข้าวที่มีนายรังสรรค์ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการรับจำนำข้าวเปลือกที่ผ่านมาของรัฐบาลนั้น ได้มีการประชุมนัดแรกไปเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม และได้ตั้งคณะทำงานปิดบัญชีมีนายอดุลย์ กาญจนวัฒน์ รองผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เป็นประธานคณะทำงาน โดยขอให้ องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.)  ส่งข้อมูลเกี่ยวข้าวล่าสุดมาให้คณะทำงานดังกล่าวภายในวันที่ 15 กันยายน เพื่อให้คณะทำงานสรุปด้านบัญชีภายในสิ้นเดือนกันยายน

ทั้งนี้ การปิดบัญชีล่าสุดมีตัวเลขแค่31 พฤษภาคม 2556 ดังนั้น อนุกรรมการชุดนี้ต้องไปปิดบัญชีเพิ่มอีก 3 รอบบัญชี คือ

ตั้งแต่ 1 สิงหาคม-30 กันยายน 2556 เป็นวันสุดท้ายของปีงบ 2556

ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2556-22พฤษภาคม2557 ก่อนการยึดอำนาจ

และหลังจาก 23 พฤษภาคม 2557-30 กันยายน 2557 ว่าตัวเลขในแต่ละรอบจะเป็นอย่างไร

โดยจะต้องรอการตรวจสต็อคคงเหลือนั้น ต้องรอจากชุดตรวจสต็อคข้าวจากของ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จก่อนจึงจะทราบชัดเจนว่าตัวเลขขาดทุนจะเป็นเท่าใด และต้องนำมาเปรียบเทียบกับประมาณข้างที่อคส.และอ.ต.ก.เสนอมาด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook