ไม่ว่าอายุเท่าไหร่ ทำไมควรมีเครดิตสกอร์ที่ดี?

ไม่ว่าอายุเท่าไหร่ ทำไมควรมีเครดิตสกอร์ที่ดี?

ไม่ว่าอายุเท่าไหร่ ทำไมควรมีเครดิตสกอร์ที่ดี?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในทุกๆ ช่วงของชีวิต มีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้น ทั้งที่ทำให้ชีวิตดีขึ้น หรือทำให้ชีวิตแย่ลง โดยเฉพาะเรื่องเงินๆ ทองๆ นั้น ก็เช่นกัน วันนี้เราจะมาพูดถึงเครดิตสกอร์ หรือหลายๆ คนอาจจะรู้จักในชื่อ "ประวัติเครดิต" หรือ "เครดิตบูโร" ว่า ทำไมในทุกๆ ช่วงของชีวิต ควรจะมีเครดิตที่ดีไว้ก่อน โดยเรามาดูกันเป็นช่วงๆ อายุดังนี้

ช่วงเริ่มทำงานใหม่ๆ
สิ่งที่ท้าทายสำหรับวัยนี้ก็คือ การเริ่มสร้างเครดิตตั้งแต่ "0" เพราะก่อนหน้านี้เราไม่เคยมีเครดิตมาก่อนเลย พอเราเริ่มทำงาน เริ่มหาเงินเลี้ยงตัวเอง และในอีกห้า ถึง สิบปีข้างหน้า เราอาจจะมีแผนการในการซื้อบ้าน หรือรถ ดังนั้น ตอนนี้ จึงเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการเริ่ม สร้างเครดิตสกอร์ ซึ่งหลายคนอาจส่งสัยว่า เครดิตสกอร์ เกี่ยวอะไรกับแผนการซื้อบ้าน หรือรถในอนาคต ต้องขอบอกว่า "เกี่ยวเป็นอย่างยิ่ง" เพราะธนาคารจะตัดสินเราว่าสามารถผ่อนรถ ผ่อนบ้าน จะเป็นลูกหนี้ที่ดีได้หรือไม่จากตัวเครดิตสกอร์นั่นเอง ดังนั้น สำหรับวัยเพิ่งเริ่มทำงาน เรามีวิธีง่ายๆ ในการสร้างเครดิตสกอร์ดังนี้

 

1. เปิดบัตรเครดิต
การใช้บัตรเครดิตเป็นวิธีที่ง่าย สะดวกที่สุด และเร็วที่สุดในการสร้างประวัติเครดิตที่ดีให้กับตัวเอง เพียงคุณใช้อย่างสม่ำเสมอ และชำระหนี้บัตรเครดิตเต็มทุกๆ เดือน ก็สามารถทำให้สถาบันการเงินเชื่อว่า คุณเป็นลูกหนี้ที่ดีได้ในอนาคต

2. อย่าใช้บัตร จนเป็นหนี้
ประเด็นนี้สำคัญ การให้คุณเปิดใช้บัตรเครดิต เพื่อสร้างเครดิตสกอร์ ไม่ได้หมายความว่า หากคุณไม่มีค่าใช้จ่ายอะไรจำเป็น คุณเลยต้องหาค่าใช้จ่ายมาเพื่อสร้างเครดิต อาทิ ไปเที่ยวบ่อยขึ้น ช้อปปิ้งบ่อยขึ้น อันนี้ผิด การใช้บัตรเครดิต คุณเพียงผูกมันไว้กับค่าใช้จ่ายจำเป็นที่คุณต้องจ่ายในทุกเดือน อาทิ ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ ค่าเคเบิลทีวี ค่าอินเทอร์เน็ต เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ คุณต้องจ่ายอยู่แล้ว เพียงแค่คุณ จ่ายด้วยบัตรเครดิตเท่านั้น หากคุณใช้มากกว่านี้ เพียงเพื่อสร้างเครดิตสกอร์ อาจทำให้คุณเป็นหนี้ และมีผลเสียต่อเครดิตสกอร์ในที่สุด

ช่วงวัยกลางคน
สิ่งท้าทายของคนในวัยนี้ คือ การรักษาประวัติเครดิตของคุณให้ดี ซึ่งถึงแม้ในวัยนี้ คุณอาจจะมีรายได้ที่ค่อนข้างมั่นคงแล้ว มีการงานที่ดี แต่ในอีกมุมนึง คุณก็มีค่าใช้จ่ายหลายอย่างให้ต้องดูแลเช่นกัน อาทิ ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ หรือมีลูก และครอบครัวที่ต้องดูแล เพราะฉะนั้น ข้อแนะนำในวัยนี้ คือ การป้องกันตัวคุณเองไม่ให้ตกหลุมพราง และมีวินัยทางการเงินที่ผิดพลาด

1. อย่าจ่ายบิลสาย
ในวัยนี้ คุณคงมีเรื่องให้คิดมากมาย ทั้งเรื่องงาน และเรื่องที่บ้าน เพราะฉะนั้น อย่าให้สิ่งเหล่านั้นมาทำให้คุณลืมที่จะจัดการค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่หากคุณละเลยหรือจ่ายสาย จะมีผลกระทบต่อเครดิตบูโรของคุณ อาทิ การผ่อนค่างวดสินเชื่อต่างๆ บิลบัตรเครดิต บิลค่าน้ำ ค่าไฟ เป็นต้น เพราะฉะนั้น ลองใช้แอพพลิเคชั่นตั้งเตือนในโทรศัพท์ดูสิ หรือเขียนไว้ในปฏิทินให้ชัดเจน กันลืม!

2. ทำงบประมาณรายรับรายจ่ายให้ดี
สืบเนื่องจากข้อ 1 การทำงบประมาณรายรับรายจ่าย ก็เป็นการเตือนว่า รายจ่ายต่อเดือนที่คุณต้องจัดการมีอะไรบ้าง และยังเป็นการเตือนว่า คุณใช้จ่าย เป็นสัดส่วนเท่าไหร่ของรายได้ มีรายจ่ายมากเกินไปหรือไม่ เพื่อเตือนคุณ ก่อนที่คุณจะเป็นหนี้ และส่งผลเสียต่อเครดิตของคุณ

3. มีกองทุนฉุกเฉิน
หลายคนที่คิดว่า ด้วยความที่ตนมีเครดิตที่ดี คุณอาจจะสามารถเปิดบัตรเครดิตใหม่ เพื่อสำรองไว้หากมีค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน ก็สามารถรูดจ่ายได้ ซึ่ง "ผิด" ประการแรก การเปิดบัตรเครดิตหลายใบ มีผลเสียต่อเครดิตสกอร์ของคุณ ประการที่สอง คุณไม่มีทางรู้ว่า เหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้น จะร้ายแรงแค่ไหน เพราะฉะนั้น การมีเงินสดไว้อย่างน้อย 3 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือนของคุณ คือวิธีที่ปลอดภัยที่สุด

ช่วงวันกลางคนตอนปลาย ก่อนเกษียณ
สิ่งท้าทายของคนวัยนี้คือ การขจัดหนี้ก่อนวัยเกษียณ เพราะหากคุณกำลังเข้าสู่วัยเกษียณแล้ว ยังมีหนี้สินอยู่ คงไม่มีความสุขเป็นแน่ ซึ่งสิ่งที่คุณควรทำคือ

ประเมินแผนการใช้เงินใหม่
"อดเปรี้ยว ไว้กินหวาน" คงสามารถอธิบายชีวิตช่วงนี้ได้ดี ทั้งนี้ การวางแผนเพื่อการเกษียณอายุเป็นเรื่องยาก คุณอาจจะมีแผนการใช้จ่ายที่คุณใช้มานานหลายปี แต่ในช่วง 5 - 10 ปีสุดท้ายก่อนเกษียณ คุณอาจจะต้องปรับเปลี่ยนแผนใหม่บ้าง เพื่อ อาจจะเก็บเงินมากขึ้นในกรณีที่คุณอยากเกษียณอายุเร็วขึ้น หรือ คุณอยากเกษียณอายุในต่างประเทศ ที่ต้องใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่สำคัญคือ คุณต้องจัดการหนี้สินให้หมดนั่นเอง และอย่างน้อย การใช้จ่ายให้น้อยที่สุดเมือ่เทียบกับรายได้ ก็เป็นการดีต่อเครดิตของคุณอย่างแน่นอน

หากคุณมีปัญหา เรื่องการเงิน การลงทุน MoneyGuru อยู่เคียงข้างคุณเสมอที่ www.moneyguru.co.th  หรือ info@moneyguru.co.th

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook