อ่านให้ชัด! เปิด "ยูทูป ประเทศไทย" เจ้าของวีดีโอจะได้เงินเข้ากระเป๋าจากคลิปอย่างไร
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/mn/0/ud/37/188053/mon12068.jpgอ่านให้ชัด! เปิด "ยูทูป ประเทศไทย" เจ้าของวีดีโอจะได้เงินเข้ากระเป๋าจากคลิปอย่างไร

    อ่านให้ชัด! เปิด "ยูทูป ประเทศไทย" เจ้าของวีดีโอจะได้เงินเข้ากระเป๋าจากคลิปอย่างไร

    2014-06-12T02:02:48+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    ในยุคสมัยแห่งการออนไลน์ เว็บไซต์ยูทูป (Youtube.com) ได้รับการยอมรับว่าเป็นแหล่งรวมวีดีโอแหล่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลกอินเทอร์เน็ต นับตั้งแต่เปิดให้ใช้งานเมื่อปีพ.ศ. 2548 จนถึงวันนี้ ยูทูปกลายเป็นเว็บไซต์อันดับหนึ่งของการค้นหา, รับชม และเผยแพร่วีดีโอสำหรับคนทั่วโลกโดยมีผู้เข้าชมคลิปวีดีโอในยูทูปกว่า 1 พันล้านคนต่อเดือน

    สำหรับประเทศไทย สถิติการใช้งานเว็บไซต์ยูทูปเมื่อปีที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า คนไทยมีแนวโน้มใช้งานยูทูปเพิ่มขึ้นมากเรื่อยๆทั้งในแง่การเข้าชม, แสดงความคิดเห็น และโพสต์เนื้อหา จนเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ยูทูป เปิดตัวยูทูป ฉบับประเทศไทย หรือเรียกกันอย่างเป็นทางการว่า "ยูทูป ประเทศไทย" นอกจาก ยูทูป ประเทศไทย จะตอบสนองผู้ใช้งานชาวไทยในด้านต่างๆแล้ว ยูทูป ฉบับสยามประเทศ น่าจะเปิดช่องทางการทำธุรกิจให้กับผู้ใช้งานทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือบริษัทต่างๆอย่างจริงจังเหมือนในต่างประเทศแล้ว


    ความเป็นมาและความพิเศษของ "ยูทูป ประเทศไทย"

    คุณพรทิพย์ กองชุน หัวหน้าฝ่ายการตลาดกูเกิลประจำประเทศไทยซึ่งทำหน้าที่ดูแลการตลาดของยูทูปประเทศไทยเปิดเผยประโยชน์ที่ผู้ใช้ในประเทศไทยจะได้รับจากการตั้ง"ยูทูปประเทศไทย"ว่าเว็บไซต์ฉบับภาษาไทยจะเน้นนำเสนอวีดีโอภาษาไทยให้กับผู้ใช้งานชาวไทยมากขึ้นเพิ่มความสะดวกในการค้นหาวีดีโอที่มีเนื้อหาเป็นภาษาไทยในหน้าแรกโดยระบบจะดึงวีดีโอที่มีเนื้อหาเป็นภาษาไทยหรือวีดีโอภาษาไทยที่ได้รับความนิยมขึ้นมาอยู่หน้าแรกเพื่อแนะนำผู้ใช้ชาวไทย

     

    นอกเหนือจากการนำเสนอวีดีโอภาษาไทยแล้วอีกหนึ่งประเด็นสำคัญของการตั้งยูทูปฉบับภาษาไทยคือการเปิดโอกาสให้กับผู้สร้างวีดีโอในประเทศไทยรับส่วนแบ่งรายได้จากเว็บไซต์ยูทูปทั้งที่เป็นผู้ใช้งานทั่วไปและกลุ่มบริษัทต่างๆ

    สำหรับยูทูปประเทศไทยมีโปรแกรมพาร์ทเนอร์เหมือนในต่างประเทศซึ่งยูทูปเริ่มนำระบบนี้มาใช้เมื่อปี2550โดยยูทูปมอบโอกาสให้เจ้าของวีดีโอได้ขยายฐานผู้ชมและสร้างรายได้จากวีดีโอที่โพสต์ลงเว็บไซต์ด้วยถือเป็นการแบ่งปันรายได้จากการโฆษณาให้ผู้สร้างวีดีโอ


    เข้าร่วมเป็นพันธมิตรเพิ่มโอกาสสร้างรายได้

    ที่ผ่านมามีช่องรายการมากกว่า1ล้านช่องที่สร้างรายได้ผ่านโปรแกรมพาร์ทเนอร์ของยูทูปโดยการร่วมเป็นพาร์ทเนอร์สามารถลงทะเบียนฟรีด้วยขั้นตอนที่ง่ายดาย

    ประเด็นสำคัญที่สุดซึ่งผู้ใช้งานอยากรู้คือรายละเอียดการแบ่งรายได้ว่ามีเกณฑ์อย่างไรก่อนอื่นต้องอธิบายพื้นฐานรายได้ของยูทูปก่อนว่าเว็บไซต์ยูทูปมีรายได้จากโฆษณาต่างๆในเว็บไซต์ไม่ว่าจะเป็นแบนเนอร์(แถบโฆษณาในเว็บไซต์)หรือวีดีโอโฆษณาที่แทรกก่อนชมวีดีโอ

    คุณพรทิพย์อธิบายจุดเริ่มต้นของการใช้งานว่า ผู้ที่เข้าร่วมโปรแกรมพันธมิตรของยูทูปเพียงแค่มี 1 วีดีโอในช่องของตัวเองก็สมัครคัดเลือกร่วมโปรแกรมพาร์ทเนอร์ได้ โดยหลักเกณฑ์แรกของการคัดเลือกคือ วีดีโอต้องมีเนื้อหาถูกกฎหมาย กล่าวคือไม่เกี่ยวกับพฤติกรรมหรือเนื้อหาที่จะขัดต่อกฎหมาย

     

    เกณฑ์ต่อมาคือผู้ใช้ช่องรายการต้องเป็นเจ้าของเนื้อหาไม่ได้คัดลอกหรือใช้เนื้อหาของคนอื่นซึ่งเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือละเมิดกฎเกณฑ์ในชุมชนยูทูปเมื่อผ่านเกณฑ์เหล่านี้ผู้ใช้งานก็สามารถเป็นพาร์ทเนอร์กับยูทูปได้ทันทีโดยทางเว็บไซต์จะมีเจ้าหน้าที่ดูแลหรือแนะนำเทคนิกการใช้งานต่างๆ

    "เมื่อเป็นพาร์ทเนอร์แล้วระบบก็จะคำนวณยอดผู้ชมคลิปในช่องกับยอดส่วนแบ่งรายได้จากโฆษณาของยูทูปว่าเป็นส่วนแบ่งเท่าไหร่บ้างเจ้าของช่องไม่ต้องกังวลเพราะทางเว็บไซต์จะมีระบบและคนคอยดูแลเพื่อให้ผู้ใช้งานใช้เวลาสร้างสรรค์วีดีโอที่มีคุณภาพตามความชอบหรือความถนัดส่วนตัวซึ่งเมื่อวีดีโอมีคุณภาพมีความน่าสนใจก็จะส่งผลต่อส่วนแบ่งรายได้เป็นประโยชน์ติดตามมา"คุณพรทิพย์กล่าว

    อย่างไรก็ตาม รายละเอียดตัวเลขของส่วนแบ่งรายได้ที่ผู้ใช้จะได้รับนั้นคุณพรทิพย์ เปิดเผยว่า ตัวเลขจะแตกต่างกันออกไปเนื่องจากการโฆษณาในยูทูปใช้ระบบประมูลซื้อโฆษณา เมื่อมีการประมูล ตัวเลขของค่าโฆษณาจะไม่แน่นอนจึงไม่สามารถระบุหรือการันตีชัดเจนว่าจะได้ส่วนแบ่งจำนวนเท่าไหร่ แต่ผู้ที่เป็นเจ้าของช่องจะสามารถคำนวณได้จากประสบการณ์ที่เห็นโฆษณาที่มาลงและยอดวิวของวีดีโอในช่องตัวเอง

     

    ประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจประเด็นต่อมาคือเรื่องเนื้อหากับการโฆษณาในยูทูป โดยคุณพรทิพย์อธิบายว่า เนื้อหาแต่ละประเภทก็มีการแบ่งส่วนแบ่งรายได้แตกต่างกันยกตัวอย่างเช่นเนื้อหาดนตรีจะแตกต่างจากเนื้อหาบันเทิงโดยทั่วไปกล่าวคือการทำเพลงจะมีเรื่องลิขสิทธิ์มาเกี่ยวข้องโดยเรื่องลิขสิทธิ์ก็มีความซับซ้อนแตกต่างกันออกไปอย่างเช่นจำนวนส่วนแบ่งรายได้ของวีดีโอที่ผู้ใช้เล่นเพลงแต่งเองกับเล่นเพลงของคนอื่นก็จะมีอัตราการแบ่งรายได้ไม่เท่ากันเนื่องจากการนำเพลงของคนอื่นมาทำใหม่จะต้องมีการแบ่ง

    "เพลงที่แต่งเองทั้งทำนองและเนื้อหาแน่นอนว่าส่วนแบ่งรายได้มาเต็มแต่การเล่นเพลงที่เป็นของคนอื่นจะต้องแบ่งรายได้ส่วนหนึ่งกลับคืนให้เจ้าของลิขสิทธิ์ซึ่งกูเกิลจะเป็นผู้จัดการหักให้เจ้าของลิขสิทธิ์เองส่วนที่เหลือที่เราสร้างสรรค์เองก็จะได้กลับมา"คุณพรทิพย์กล่าว

    ส่วนขั้นตอนในการรับรายได้ระบบจะให้ข้อมูลยอดวิวและอัตราตัวเลขส่วนแบ่งรายได้อยู่ทุกวันเมื่อแตะระดับยอดที่ตั้งไว้ผู้ใช้ก็จะได้รับเงินผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะโอนเงินเข้าบัญชีหรือจะรับเป็นเช็คขณะที่ยอดที่ตั้งไว้นั้นคุณพรทิพย์ระบุว่าแต่ละประเทศมีกำหนดระดับแตกต่างกัน

    หัวหน้าฝ่ายการตลาดกูเกิลยังอธิบายเพิ่มเติมโดยยกตัวอย่างเพลง"กังนัมสไตล์"ของ"ไซ"ศิลปินเกาหลีที่มียอดวิวสูงเป็นประวัติการณ์จนโด่งดังทั่วโลกซึ่งทั้งเพลงและท่าเต้นเหล่านี้มีลิขสิทธิ์การทำคลิปคัพเวอร์เพลงจุดนี้ส่วนแบ่งรายได้โฆษณาจะกลับคืนสู่เจ้าของตรงนี้อาจเกิดคำถามต่อไปว่าทำไม"ไซ"ถึงไม่ฟ้องผู้ที่นำเพลงของเขามาทำใหม่ถ้าสิ่งเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของศิลปินโดยชอบธรรม ?

    สำหรับในเว็บไซต์ยูทูปแล้วยูทูปสร้างเทคโนโลยีการปกป้องลิขสิทธิ์ผู้สร้างสรรค์เมื่อเข้าร่วมโปรแกรมพันธมิตรกับยูทูปเมื่อผู้ใช้งานโพสต์วีดีโอลงในเว็บไซต์ระบบจะถามเรื่อง"ความเป็นเจ้าของเนื้อหา"โดยเทคโนโลยีจะอ่านเนื้อหาทั้งภาพและเสียงแล้วเก็บในระบบทำให้รู้ว่าผู้ใช้งานเป็นเจ้าของไอดี

    เมื่อจัดเก็บแล้วระบบจะถามต่อว่า"เจ้าของเนื้อหา"อนุญาตให้ผู้อื่นนำไปใช้ต่อแบบเลียนแบบในยูทูปต่อหรือไม่หรือไม่อนุญาตเลยเทคโนโลยีนี้จะช่วยตรวจจับการนำเนื้อหาในยูทูปมาทำซ้ำใหม่โดยผู้ใช้ที่ไม่ใช่เจ้าของเนื้อหาถ้าเนื้อหาที่ผู้อื่นนำไปใช้ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของในยูทูประบบก็จะบล็อกวีดีโอเหล่านั้นและแจ้งกลับไปยังเจ้าของวีดีโอ

    แต่กรณีที่เจ้าของอนุญาตก็สามารถได้ประโยชน์จากค่าลิขสิทธิ์อย่างเช่นกรณีเพลง"กังนัมสไตล์"ของ"ไซ"ซึ่งเจ้าของแจ้งยืนยันการเป็นเจ้าของแต่อนุญาตให้คนอื่นนำไปใช้ต่อทำคลิปเต้นตามได้โดยที่ไซยังเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์แต่ไซจะมีส่วนแบ่งรายได้จากที่คนทั่วโลกนำเพลงของเขาไปทำในคลิปต่อ

    ความสัมพันธ์ทางธุรกิจเหล่านี้กล่าวโดยสรุปคือถ้าเจ้าของคลิปเป็นเจ้าของเนื้อหาเองทั้งหมดส่วนแบ่งรายได้จากโฆษณาจะแบ่งออกเป็น2ฝ่ายระหว่าง "ยูทูป" กับ "เจ้าของคลิป" แต่เมื่อผู้ใช้นำเนื้อหาที่ผู้อื่นอนุญาตให้ใช้ต่อได้ไปใช้ ส่วนแบ่งจะแยกออกเป็น 3 ฝ่าย ระหว่าง "เจ้าของเนื้อหาตัวจริง" - "ยูทูป" - "ผู้นำเนื้อหามาใช้งานต่อ" สำหรับผู้ใช้งานยูทูปมาก่อนแล้วคงเคยเจอสถานการณ์ที่ถูกบล็อกการอัพโหลดเนื่องจากเทคโนโลยีตรวจจับของยูทูปพบการใช้งานเนื้อหาของคนอื่นซึ่งไม่อนุญาตให้มีการนำไปใช้ต่อแต่ในอีกด้านหนึ่งเทคโนโลยีจะเป็นการปกป้องเจ้าของลิขสิทธิ์ด้วย

     

    ส่วนแบ่งมาก-น้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง ?

    ถึงตรงนี้ประเด็นข้อสงสัยต่อมาคือจำนวนส่วนแบ่งรายได้ที่จะได้รับใครได้มากได้น้อยมีการคำนวณจากปัจจัยใดบ้างคุณพรทิพย์เปิดเผยว่าจำนวนส่วนแบ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยอาทิยอดผู้ชมคลิปในแต่ละช่อง, เนื้อหาตรงเป้าหมายที่นักโฆษณาหรือแบรนด์ธุรกิจต่างๆอยากมาลงโฆษณา ถ้าเนื้อหาคลิปไม่ตรงกับสิ่งที่แบรนด์ต้องการมากนักส่วนแบ่งก็จะลดน้อยลง

    คุณพรทิพย์ยืนยันว่ายูทูปจะเป็นคนกลางที่ไปพูดคุยกับกลุ่มธุรกิจเพื่อหาโฆษณาผู้ที่ลงโฆษณาจะเป็นผู้เลือกว่าเนื้อหาช่องของใครตรงกับเป้าหมายการสื่อสารเช่น แบรนด์เครื่องสำอางก็จะเลือก วีดีโอรีวิวเครื่องสำอาง ขณะที่เจ้าของช่องยังสามารถกำหนดได้ว่าช่องของตัวเองจะให้มีแสดงโฆษณารูปแบบใดบ้าง

    ทั้งนี้คุณพรทิพย์ยืนยันว่าผู้ใช้ไม่ต้องกังวลเรื่องผู้ซื้อโฆษณาเนื่องจากผู้โฆษณามีความหลากหลายมากทั้งในแง่จำนวนและรูปแบบการลงโฆษณาในยูทูป

    "ผู้โฆษณาไม่จำเป็นต้องเลือกเป็นช่องก็ได้เลือกเป็นประเภทเนื้อหาเช่นเรื่องการท่องเที่ยวหรือดนตรีหรือถ้าผู้โฆษณาชื่นชอบช่องของใครเป็นพิเศษก็สามารถเจาะจงได้เช่นกันนอกจากนี้ผู้ลงโฆษณายังมีกลุ่มกว้างขวางทั่วโลกตอนนี้ผู้ลงโฆษณาในไทยก็เริ่มทยอยเข้ามาหลังเปิดตัวยูทูปประเทศไทยและเราก็ได้รับการตอบรับจากแบรนด์ธุรกิจต่างๆเป็นอย่างดีเนื่องจากยูทูปเป็นแพลทฟอร์มที่ใหญ่ระดับโลกและช่วยให้เข้าถึงผู้ใช้ผู้ชมเป็นอย่างดีขณะที่เทรนด์การโฆษณาด้วยวีดีโอก็กำลังมาเช่นเดียวกับแบรนด์ต่างๆที่รอการเปิดตัวของยูทูปในไทยเพราะการโฆษณาด้วยวีดีโอสามารถสร้างสรรค์ได้มากและใช้ประโยชน์ในการเข้าถึงได้ดีอีกด้วย"หัวหน้าฝ่ายการตลาดอธิบายถึงการโฆษณาในยูทูป

     

     

    แม้ว่าจะไม่สามารถระบุตัวเลขส่วนแบ่งรายได้ต่อยอดจำนวนผู้ชมอย่างชัดเจนดังที่อธิบายไปข้างต้นแต่คุณพรทิพย์ยังยกตัวอย่างผู้ใช้งานที่ประสบความสำเร็จจากการร่วมโปรแกรมพันธมิตรทั้งที่เป็นบริษัทแบรนด์ต่างๆรวมถึงบุคคลผู้ใช้ธรรมดาทั่วไปที่เติบโตได้รายได้จากยูทูปโดยทั่วโลกมีช่องที่สามารถสร้างรายได้ต่อเดือนแตะเลข6หลักในอัตราดอลลาร์สหรัฐมากกว่าพันรายซึ่งถือว่าสูงมากขณะที่บริษัทและค่ายเพลงก็เริ่มเข้ามาสนใจมากขึ้นด้วย

    ที่ผ่านมามีบุคคลใช้งานทั่วไปในภูมิภาคเอเชียที่ประสบความสำเร็จจากการเป็นพาร์ทเนอร์ไม่ว่าจะเป็นทางดนตรีทำอาหารหรือด้านความงามเช่นHikakin (youtube.com/HIKAKIN) ที่ทำ "บีทบ็อกซ์" หรือ ทำเสียงดนตรีจากปาก มียอดผู้ชมคลิปในช่องของเขาเองทั้งหมด 250 ล้านครั้ง ถือว่าเวลานี้โอกาสเป็นของคนไทยในการสร้างรายได้จากยูทูปเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆแล้ว ผู้ใช้งานสามารถเริ่มต้นสมัครร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ได้แล้วจากนั้นก็เริ่มสร้างวีดีโอตามความถนัดอย่างสม่ำเสมอไม่แน่ว่าในอนาคตอันใกล้อาจมีชาวไทยที่กลายเป็นคนดังและประสบความสำเร็จจากการใช้ยูทูปเพิ่มขึ้นด้วย

    อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ที่นี่http://www.youtube.com/account_monetization