แบงก์ชาติปรับสูตรคิดดัชนีค่าบาท เพิ่ม3สกุลเงิน"พม่า-ลาว-กัมพูชา"รับค้าชายแดนคึก

แบงก์ชาติปรับสูตรคิดดัชนีค่าบาท เพิ่ม3สกุลเงิน"พม่า-ลาว-กัมพูชา"รับค้าชายแดนคึก

แบงก์ชาติปรับสูตรคิดดัชนีค่าบาท เพิ่ม3สกุลเงิน"พม่า-ลาว-กัมพูชา"รับค้าชายแดนคึก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แบงก์ ชาติรื้อสูตรคำนวณดัชนีค่าเงินและค่าเงินบาทที่แท้จริงใหม่ ดึง 3 สกุลเพื่อนบ้าน "พม่า-ลาว-กัมพูชา" ร่วมคำนวณ รับเทรนด์การค้าชายแดนพุ่งปรี๊ด หวังวัดศักยภาพการค้าไทยมากขึ้น ด้านกสิกรฯชี้ มี.ค.เงินบาทแข็งค่าอันดับ 4 ของภูมิภาค หลังการเมืองลดอุณหภูมิร้อนแรง

รายงานนโยบายการเงิน มี.ค. 2557 โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุถึงการปรับปรุงดัชนีค่าเงินบาท (NEER) และดัชนีค่าเงินบาทที่แท้จริง (REER) ว่า ล่าสุด ธปท.ได้มีการปรับน้ำหนักการค้าที่ใช้การคำนวณดัชนีค่าเงินบาทและดัชนีค่า เงินที่แท้จริง เพื่อให้สะท้อนถึงโครงสร้างทางการค้าตามความเป็นจริงในปัจจุบันให้ดียิ่ง ขึ้น โดยได้มีการเพิ่ม 3 สกุลเงินใหม่เข้ามา และปรับออก 1 สกุลเดิม ทำให้มีสกุลเงินที่ใช้ในการคำนวณดังกล่าวจาก 23 สกุลเงิน เป็นทั้งหมด 25 สกุลเงิน

โดยในเบื้องต้น ธปท.ได้เพิ่มจำนวนสกุลเงินคู่ค้าที่สำคัญอีก 3 สกุล ได้แก่ สกุลเงินจ๊าตของพม่า สกุลเงินกีบของลาว และสกุลเงินเรียลของกัมพูชา เนื่องจากทั้ง 3 สกุลนี้มีบทบาทสำคัญทางการค้ามากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า ส่วนสกุลเงินที่ปรับออก คือ สกุลเงินดอลลาร์แคนาดาของแคนาดา

นางรุ่ง มัลลิกะมาส โฆษก ธปท. กล่าวว่า สถิติที่พบทำให้เห็นว่าสัดส่วนการส่งออกสินค้าจากไทยไปลาว พม่า และกัมพูชาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2556 เพิ่มขึ้นเป็น 5.2% จากปี 2551 อยู่ที่ 2.9% อีกทั้งในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา การส่งออกไทยไป 3 ประเทศดังกล่าวมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมากถึง 2 เท่าตัว สะท้อนถึงความสำคัญทางการค้ากับไทยที่มากขึ้น

พร้อมกันนี้ ธปท. ยังได้ปรับวิธีการคำนวณมูลค่าการส่งออกและการนำเข้าสินค้าในภาคบริการเข้ามา ในการคำนวณน้ำหนัก เนื่องจากการส่งออกภาคบริการโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวมีความสำคัญมากขึ้น กับเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันได้มีการหักการคำนวณมูลค่าการส่งออกและนำเข้าทองคำออกไป เพราะเป็นสินทรัพย์เพื่อการลงทุนมากกว่าเพื่อการค้าขายสินค้า และไม่ได้สะท้อนความสามารถในการแข่งขัน

อีกทั้ง ธปท.ยังได้ปรับน้ำหนักใหม่ โดยการใช้ข้อมูลการค้าในปี 2555 คำนวณแทนข้อมูลในปี 2550 โดยจะเริ่มปรับใช้ 3 สกุลใหม่ พร้อมทั้งปรับน้ำหนักการคำนวณดัชนีค่า NEER และ REER ตั้งแต่เดือน มี.ค.นี้ โดย ธปท.มีการทบทวนน้ำหนักและปรับวิธีการคำนวณใหม่ทุก 3 ปี เพื่อให้สะท้อนโครงสร้างการค้าระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปให้มากที่สุด

ทั้ง นี้ ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์รายงานมูลค่าการค้าชายแดนไทย (กัมพูชา-ลาว-พม่า-เวียดนาม) เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปี 2555 ยอดการค้าชายแดนอยู่ที่ 779,042 ล้านบาท เฉลี่ยเดือนละ 64,920 ล้านบาท และในปี 2556 ยอดรวมอยู่ที่ 850,553 ล้านบาท เฉลี่ยเดือนละ 70,897 ล้านบาท และล่าสุดเฉพาะเดือน ม.ค. 2557 ยอดการค้าชายแดนอยู่ที่ 75,883 ล้านบาท

นาง สาวนลิน ฉัตรโชติธรรม ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า การปรับการคำนวณค่า NEER และ REER ใหม่ของ ธปท.นั้น สะท้อนว่าสกุลเงินเพื่อนบ้านมีบทบาทมากขึ้นในการทำการค้ากับไทย และที่ผ่านมาการเคลื่อนไหวของสกุลเงินของเพื่อนบ้านถือว่ายังเคลื่อนไหวสอด คล้องกับค่าเงินบาท

"แปลว่าการค้าขายระหว่างไทยกับเพื่อนบ้านอยู่ ในเกณฑ์ดี นอกจากนี้ การเคลื่อนไหวของค่า NEER สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถการแข่งขันด้านราคา หากเทียบกับการค้าไทยกับสกุลเงินอื่น ๆ"

พร้อมกับกล่าวว่า หากดูทิศทางอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงเดือน มี.ค.นี้ พบว่าค่าเงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่าขึ้นกว่าหลายสกุลเงินในภูมิภาค โดยในช่วงวันที่ 28 ก.พ.-24 มี.ค. 2557 ค่าเงินบาทแข็งขึ้น 0.31% ติดอันดับ 4 เมื่อเทียบกับ 15 สกุลเงินในภูมิภาค ขณะที่สกุลเงินที่แข็งค่าสูงสุด ได้แก่ รูเปียห์ของอินโดนีเซีย ดอลลาร์ของออสเตรเลีย และรูปีของอินเดีย ตามลำดับ ส่วนการแข็งค่าของเงินบาท เกิดจากนักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อเงินบาท เนื่องจากมองปัญหาการเมืองยังไม่มีเหตุการณ์รุนแรง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook