"ไม้กฤษณา" แรง! กิโลละ 3 แสน ยอด "มงคล" แถมเป็นหัวน้ำหอมชั้นเยี่ยม/ดันเป็นพืชเศรษฐกิจ

"ไม้กฤษณา" แรง! กิโลละ 3 แสน ยอด "มงคล" แถมเป็นหัวน้ำหอมชั้นเยี่ยม/ดันเป็นพืชเศรษฐกิจ

"ไม้กฤษณา" แรง! กิโลละ 3 แสน ยอด "มงคล" แถมเป็นหัวน้ำหอมชั้นเยี่ยม/ดันเป็นพืชเศรษฐกิจ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สยามธุรกิจ : เอกชนผลักดันชาวบ้านปลูก "ไม้กฤษณา" เป็นพืชเศรษฐกิจ นำระบบ "คอนแทร็กต์ ฟาร์มมิ่ง" มาใช้ระบุเป็นไม้มงคลตามความเชื่อทางศาสนาและยังมีคุณสมบัติสกัดเป็นยาสมุนไพรที่หลากสรรพคุณ แถมสามารถกลั่นเป็นน้ำมันหอมระเหย ใช้ทำหัวน้ำหอมคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของตลาดต่าง ประเทศทั้งตะวันออกกลางและยุโรป เผยซื้อขายกันด้วยราคาแพง 3 แสนบาท ต่อกิโล ด้านนักวิชาการระบุปลูกไม้กฤษณาต้องใช้เวลาเป็น 10 ปี

จากความต้องการเครื่องหอมที่มีส่วนผสมของน้ำมันกฤษณากลุ่มชาวมุสลิม เช่น ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือบาห์เรน และชาวมุสลิมทั่วโลกที่มีประชากร รวมกันอยู่ราว 2.1 พันล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 3 พันล้านคนในปี พ.ศ.2563 ส่งผลให้น้ำมันกฤษณาในตลาดโลกมีมูลค่ากว่า 1 พันล้านบาท ขณะเดียวกันน้ำมันกฤษณาซึ่งเป็นส่วนผสมของน้ำหอมยังเป็นตัวช่วยผลักดันให้ตลาดน้ำหอมมีมูลค่ากว่า 3.3 หมื่นล้าน เหรียญสหรัฐ และคาดว่าในปีพ.ศ.2560 จะเพิ่มเป็น 3.6 หมื่นล้านเหรียญ

ขณะที่ในประเทศไทยก็มีการส่งเสริมการปลูกไม้กฤษณาในลักษณะรับซื้อไม้กฤษณาจากชาวบ้าน หรือ Contract Farming โดยมีกลุ่มเดอะทีด้อม กรุ๊ป เป็นผู้ดำเนินการในพื้นที่จ.ตราด ซึ่งถือว่าเป็นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกไม้กฤษณาเช่นเดียวกับ ประเทศกัมพูชาที่ถือว่าเป็นแหล่งเพาะปลูกและส่งออกไม้กฤษณาเป็นอันดับต้นๆ ของโลก

นายแอนดรูล สตีล ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร กลุ่มเดอะทรีด้อม กรุ๊ป เปิดเผย "สยามธุรกิจ" ว่า บริษัทเป็นผู้ผลิตน้ำมันกฤษณาราย ใหญ่ในไทยโดยมีแหล่งปลูกอยู่ที่ จ.ตราด ประมาณ 500 ไร่ มีโรงงานที่ประกอบด้วยหม้อต้มกลั่น 120 หม้อ ผลิตน้ำมันกฤษณาบริสุทธิ์ได้ประมาณ 150 กิโลกรัมต่อปี โดยมีราคาขายส่งอยู่ประมาณ 300,000 บาทต่อกิโลกรัม ปัจจุบันมีการส่งออกไปเพื่อเป็นส่วนผสมของน้ำหอมชื่อดังในยุโรปและแบรนด์ "ARABIAN OUD" ในตะวันออกกลาง

นายแอนดรูล กล่าวว่า บริษัทจะขยาย พื้นที่ปลูกเป็น 1,100 ไร่ ภายใน 3 ปี เบื้องต้นการลงทุนด้านพื้นที่ปลูกประมาณไร่ละ 150,000 บาท โดยจะเน้นขยายพื้นที่ในจ.ตราด เป็นหลัก โดยยังมีรูปแบบของการรับซื้อไม้กฤษณาจากชาวบ้านในลักษณะ "Contract Farming" ประมาณ 40 แปลงปลูก ซึ่งจะต้องเป็นแปลงปลูกที่ตรงตามมาตรฐานของทีด้อม เนื่องจากไม้กฤษณาโดยทั่วไปจะใช้เวลาปลูก 20-30 ปีถึงจะมีกลิ่นหอมตามมาตรฐาน แต่ทรีด้อมจะมีทีมคัดเลือกไม้กฤษณาพร้อมเทคนิคพิเศษในการฉีดสารเร่งความหอมที่เหมาะกับการทำน้ำหอม โดยจะใช้เวลาปลูกเพื่อใช้งานได้ภายใน 6-8 ปี ทั้งนี้ ยังคาดว่าภายในปี 2558 จะเพิ่มพื้นที่ ปลูกได้ 4,000 ไร่ ขึ้นเป็นเบอร์ 1 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย นอกจากนั้น ยังมีแผนเพิ่มหม้อต้มกลั่นเป็น 360 หม้อภายใน 3 ปีข้างหน้า ภายใต้งบประมาณ 25 ล้านบาท

"ปีที่ผ่านมาน้ำมันกฤษณาจากกลุ่มเดอะทรีด้อม ได้ถูกส่งออกไปต่างประเทศกว่า 1,192 กิโลกรัม โดยบริษัทถือเป็นอันดับ 2 ของเมืองไทย ทั้งนี้ บริษัทมีแผนการขยายตลาดในอาเซียน ตั้งแต่การขยายพื้นที่ปลูกไปยังพม่าและมาเลเซีย"

น.ส.ดวงเดือน ศรีโพธา นักวิชาการกองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า การปลูกไม้กฤษณาถ้าเป็นการ ปลูกตามธรรมชาติใช้เวลานานนับสิบปีกว่าจะเกิดการสะสมสารกฤษณาหรือ OLEORESIN ซึ่งเป็นสารที่นำมาสกัดให้เกิดกลิ่น หอม อีกทั้งยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันได้ว่า จะมีวิธีการใดที่ทำให้ต้นกฤษณาสามารถสะสมสารกฤษณาได้ในระยะเวลาสั้นไม่ถึง 10 ปี ส่วนที่บริษัทหรือชาวบ้านออกมาอ้างว่า เป็น ผลสำเร็จจากการทดลองในแปลงที่ทดลองกันเองนั้น กรมวิชาการเกษตรไม่สามารถรับรองผลได้ เนื่องจากทั้งที่ทดลองแล้วได้ผลและไม่ได้ผล ดังนั้น ชาวบ้านที่จะลงทุนปลูกกฤษณานั้นควรตัดสินใจอย่างรอบคอบ

น.ส.ดวงเดือน ยังกล่าวถึงพื้นที่ที่มีการ ปลูกกฤษณาด้วยว่า พบว่ามีการปลูกไม้กฤษณาเพื่อการค้าเป็นจำนวนมาก และปลูก ครอบคลุมเกือบทุกภาคของประเทศ และพบว่า มีการปลูกมากในเขตพื้นที่จ.จันทบุรี ระยอง ตราด และนครนายก ทั้งนี้ข้อมูลสถิติการส่งออกผลิตภัณฑ์จากไม้กฤษณา เมื่อปี 2555 นั้นพบว่า มีการส่งออกเป็นชิ้นไม้กฤษณามากกว่า 3,000 กิโลกรัม ส่วนที่สกัดเป็นน้ำมันแล้วมีมากกว่า 1,500 กิโลกรัม และส่งออกเป็นกล้าไม้ราวๆ 100,000 ต้น และเป็นขี้เลื่อยมากกว่า 100,000 กิโลกรัม ซึ่งเมื่อคิดเป็นมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ประมาณ 42 ล้านบาทต่อปี

จากข้อมูลที่สำรวจพบว่าเหตุที่ประเทศ ในกลุ่มตะวันออกกลางและประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม มีความต้องการกฤษณามากเป็น เพราะข้อบัญญัติในศาสนาอิสลามที่บัญญัติให้ใช้น้ำหอมและเครื่องสำอางที่ผลิตจากพืชได้เท่านั้นห้ามใช้ส่วนผสมที่มีแอลกอฮอลล์ จึงทำให้กฤษณาเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมาก

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ผลจากการที่แก่นไม้กฤษณามีราคาสูงส่งผลให้มีความต้องการเป็นจำนวนมาก ในขณะที่การปลูกต้องใช้เวลานานกว่าจะได้ผลผลิตทำให้มีกลุ่ม มิจฉาชีพลักลอบตัดไม้กฤษณาในเขตสวนป่าบางขนุน อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ขณะที่ก่อนหน้านี้ฝ่ายปกครองของจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิและผู้บังคับ การตำรวจจังหวัดชัยภูมิ ได้จับกุมกลุ่มขบวนการลักลอบตัดไม้กฤษณา โดยผู้มีอิทธิพลได้ว่าจ้างแรงงานชาวเวียดนาม ส่งเข้ามาลักลอบ ตัดไม้กฤษณา ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว โดยยึดของกลางในพื้นที่เป็นชิ้นไม้กฤษณาบรรจุในกระสอบ น้ำหนักรวมอีกกว่า 62 กิโลกรัม มูลค่ารวมกว่า 12 ล้านบาท ทั้งนี้ ตั้งแต่ปลายปี 55 ถึงต้นปี 56 ช่วงปัจจุบันที่ผ่านมาสามารถจับกุมผู้ลักลอบตัดไม้กฤษณา ได้มากกว่า 7 ครั้ง 7 คดี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook