"โชค บูลกุล" ปั้น 2 โมเดลธุรกิจใหม่ ปูพรม 120 ฟาร์มโคนมพม่า-บุกแฟรนไชส์ "อืมม!...มิลค์"

"โชค บูลกุล" ปั้น 2 โมเดลธุรกิจใหม่ ปูพรม 120 ฟาร์มโคนมพม่า-บุกแฟรนไชส์ "อืมม!...มิลค์"

"โชค บูลกุล" ปั้น 2 โมเดลธุรกิจใหม่ ปูพรม 120 ฟาร์มโคนมพม่า-บุกแฟรนไชส์ "อืมม!...มิลค์"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ความ สำเร็จในการทำธุรกิจฟาร์มที่ครบเครื่องทั้งองค์ความรู้ โนว์ฮาว และบุคลากรของอาณาจักรฟาร์มโชคชัยในวันนี้

อาจไม่ใช่ประเด็นใหม่ที่ถูกตั้งคำถามเหมือนช่วงหลายปีก่อน แต่การขับเคลื่อนธุรกิจในย่างก้าวใหม่ ๆ กลายเป็น "โจทย์" ที่ท้าทายอย่างยิ่ง "ประชาชาติธุรกิจ" สัมภาษณ์พิเศษ "โชค บูลกุล" ซีอีโอมาดเท่ที่กุมบังเหียนธุรกิจของกลุ่มฟาร์มโชคชัยไว้ในมือ กับภารกิจการปั้นโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ทั้ง 2 โมเดลที่พร้อมเปิดตัวในเร็ววันนี้

- ธุรกิจกลุ่มฟาร์มโชคชัยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

ที่ ผ่านมาดูเหมือนว่าเราจะเงียบ ๆ เพราะกำลังเข้าสู่ยุคการรีเอ็นจิเนียริ่งองค์กร เพื่อให้มีความทันสมัยมากกว่าเดิม เหมือนรถยนต์แค่ไมเนอร์เชนจ์ไปเรื่อย ๆ บางทีมันก็เก่าอยู่ดี ตอนนี้เรากำลังก้าวไปสู่ความเป็นองค์กรที่มีความเป็นสากลมากขึ้น เริ่มหันมามองโพลิซี (Policy) มากกว่าสมัยก่อนที่ต้องออกไปลุยงานเอง ธุรกิจในหลาย ๆ กลุ่มอยู่ระหว่างการปรับโฉมใหม่ เช่น กลุ่มธุรกิจบริการ ประกอบด้วย ภัตตาคาร ท่องเที่ยว ที่พัก ตอนนี้กำลังปรับลุกใหม่ จากเดิมที่เป็นธุรกิจ Agro-Tourism หรือการท่องเที่ยวเชิงการเกษตร

วันนี้ เริ่มปรับให้เป็นการท่องเที่ยวแบบ CSR and Knowledge หมายความว่า เราทำให้นักท่องเที่ยวตระหนักว่าฟาร์มโชคชัยทำอะไรที่ชดเชยธรรมชาติที่ถูก ใช้ไปจากธุรกิจที่ทำอยู่บ้าง ยกตัวอย่าง วัวที่เลี้ยงอยู่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปเท่าไหร่ เราจะชดเชยด้วยการปลูกต้นไม้ ดังนั้นซีเอสอาร์ในความหมายของเราคือการรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวเอง ทำอะไรก็ต้องรับผิดชอบสิ่งนั้น ตรงนี้ทำให้เรามีจุดขายด้านความแตกต่าง ไม่ใช่การไปพักเพื่อสนุกและเอามันส์อย่างเดียวแล้ว

ผมมองว่ามัน เป็นมิติใหม่ที่ฟาร์มโชคชัยพยายามจะสร้างความตระหนักให้กับสังคมได้เห็นถึง ความรับผิดชอบ เปรียบเหมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว สิ่งแรกคือให้ลูกค้าได้เห็นว่าการท่องเที่ยวฟาร์มโชคชัยเป็นแบรนด์ที่มีความ รับผิดชอบ

เรามีวัวน่ะ วัวเราปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป เราก็ปลูกต้นไม้ชดเชยในพื้นที่ของเรา แก๊สที่มาจากมูลสัตว์นำมาเป็นไบโอแก๊สที่ใช้ในฟาร์ม น้ำเสียถูกปล่อยออกมาก็นำมารีไซเคิลกลับไปใช้กับแปลงผักออร์แกนิกส์ น้ำมันพืชจากภัตตาคารก็นำกลับไปทำไบโอดีเซล ทั้งหมดนี้ถูกนำเสนอในรูปแบบการท่องเที่ยว ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา เราจึงไม่ได้เน้นแนวทางการขยายธุรกิจ เพราะผมมองว่าในอนาคต สังคมจะเลือกคบเราหรือไม่คบเรา จะมองที่ CSR and Knowledge ซึ่งมันเป็นเรื่องที่ทำกันได้ง่าย ๆ

- การลงทุนใหม่ ๆ มีบ้างมั้ย

อืม...ที่ ผ่านมาฟาร์มโชคชัยไม่ได้ลงทุนในรูปแบบตัวเงินมากนัก แต่เป็นการลงทุนในรูปแบบองค์ความรู้ โดยจับมือกับพันธมิตรกับคณะทรัพยากรสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำข้อมูลในเชิงวิชาการเอามาประยุกต์ใช้ในเชิงธุรกิจ เช่น ในธุรกิจนม อืมม!..มิลค์ เราเป็นรายแรกของประเทศไทยที่ได้ฉลากคาร์บอนฟุตพรินต์ (Carbon Footprint) แบบ Primary sort เป็นการเก็บข้อมูลจากหน้างานจริง ๆ ที่ยังไม่มีที่ไหนทำได้

ตรงนี้จะทำให้เห็นเลยว่าเราลงทุนไปกับเรื่องความรู้และของเวลาค่อนข้างมาก ทำให้ธุรกิจไม่ได้โตในเชิงของรายได้ แต่ว่าจะโตในเรื่องของฐานองค์ความรู้ที่เข้าใจและตระหนักกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

สำหรับ ธุรกิจภัตตาคาร ปลายปีนี้เราจะเปิดร้าน "สโตร์ แอด ฟาร์มโชคชัย" เป็นร้านที่ขายผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของฟาร์มมาไว้ที่เดียว ลูกค้าจะเห็นผักปลอดสาร ข้าวออร์แกนิกส์และผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในในฟาร์มมาจำหน่ายที่ร้านนี้ ในขณะเดียวกันในร้านจะมีคอร์เนอร์ที่ขายอาหารกึ่งฟาสต์ฟู้ด เช่น แซนด์วิช เบเกอรี่

อีกมุมก็จะเป็นผลิตภัณฑ์นม อืมม!..มิลค์ ที่มีแคแร็กเตอร์ไม่เหมือนที่จำหน่ายในรีเทลอื่น เช่น อาจจะเป็นชีส เนย เป็นต้น เหมือนกับว่าถ้าลูกค้าเข้าไปที่ร้านนี้จะซื้อผลิตภัณฑ์ทุกตัว

ของเราได้ทั้งหมด พูดง่าย ๆ ว่าเรากำลังจำลองโมเดลที่เป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นเพื่อทดลองตลาด ถ้า คนตอบรับดีค่อยผลิตเป็นแมส ร้านนี้จะเป็นโนว์เลดจ์เซ็นเตอร์ที่จะเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาสินค้าในกลุ่ม อาหารของเราก่อนขยายสาขาอื่น ๆ ต่อไป

- นี่คือโมเดลธุรกิจใหม่หรือไม่

โมเดล ที่พัฒนาและจะออกมาให้เห็นเร็ว ๆ นี้ คือ โมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่ของ อืมม!..มิลค์ เรียกว่า โมเดลทเวนตี้ไฟฟ์ (Model 25) คอนเซ็ปต์คือ ถ้ามีพาร์ตเนอร์สนใจที่จะนำธุรกิจของอืมม!..มิลค์ ไปขยายต่อต้องยกไปที่ละ 25 สาขา ไม่ใช่เอาแค่ 1 หรือ 5 สาขา เพราะว่าธุรกิจนี้เป็นโมเดลที่คำนวณต้นทุนที่ครอบคลุมทั้งหมดแล้ว เป็นโมเดลธุรกิจที่เหมาะกับบริษัท

ใหญ่ ๆ ที่มีโลจิสติกส์เชนอยู่แล้ว โมเดลนี้เรามองไปถึงตลาดเออีซี และโมเดลนี้ทำให้เราดีลกับพาร์ตเนอร์เจ้าเดียว ในอนาคตอาจขยายสาขาออกไปต่างประเทศ ในทางกลับกันลูกค้าจากสิงคโปร์ มาเลเซีย ที่อยากมาชมต้นกำเนิดของอืมม!..มิลค์ สามารถเดินทางมาดูกระบวนการผลิตของเราได้ที่ฟาร์มโชคชัย พูดง่าย ๆ ว่าโมเดลใหม่พัฒนาขึ้นเพื่อรับตลาดเออีซีด้วย ทำให้เราต้องหาจุดแตกต่างในธุรกิจนี้ขึ้นมา

- โปรเจ็กต์ใหญ่ของธุรกิจฟาร์มโคนม

เมื่อ เร็ว ๆ นี้เราเพิ่งทำแผนงานเสนอกับรัฐบาลพม่า ในเรื่องของ National Project มูลค่าประมาณ 2,400 ล้านบาท ภายในกรอบเวลา 12 ปี เรียกว่า "โมเดลทเวนตี้" (Model 20) เป็นลองเทอมโปรเจ็กต์ที่จะทำให้เราสร้างรายได้ประมาณ 200 ล้านบาท/ปีเข้ามา คาดว่าจะเซ็นสัญญาได้ภายในปลายปีนี้ โดยฟาร์มโชค ชัยจะเข้าไปเป็นที่ปรึกษาและพัฒนาฟาร์มโคนมให้กับกลุ่มเกษตรกรรายย่อยในพม่า ที่เป็นฟาร์มต้นแบบ 120 แห่ง แต่ละแห่งมีวัว 20 ตัว เบ็ดเสร็จเราต้องผลิตวัวเพื่อซัพพลายให้กับเกษตรกรกลุ่มนี้ 1,200 ตัว

หลักการคือเข้าไปบริหารจัดการให้เป็นฟาร์มที่มีคุณภาพสูงสุด และมีกำไร ปัจจุบันความต้องการฟาร์มต้นแบบในพม่ามีสูงมาก ท่านประธานาธิบดี เต็ง เส่ง มีความสนใจในเรื่องนี้ และมองว่ามันเป็นนโยบายของประเทศ สั่งการไปที่กระทรวงปศุสัตว์ของพม่า สั่งซื้อวัวจากฟาร์มโชคชัยเพื่อไปทำวิจัยเรื่องนี้โดยตรง เชื่อมั้ยครับ วันที่วัวลอตแรกส่งไปถึง รัฐบาลต้องปิดรัฐสภามาดูเลย

โครงการแบบ นี้มีทุกประเทศนะ แต่เดี๋ยวนี้เริ่มมีปัญหาหมด เพราะรีบขยายและโตเร็ว สวนทางกับตรรกะความเป็นจริงที่ว่า อุตสาหกรรมฟาร์มโคนมเป็นอะไรที่ต้องใช้เวลา แต่ไม่มีประเทศไหนที่รอ ต่างจากรัฐบาลพม่าที่ไม่รีบ เพราะเข้าใจว่าเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา

- มองเศรษฐกิจและปัจจัยเสี่ยงอย่างไร

พูดง่าย ๆ ผมไม่ได้มองว่า เศรษฐกิจมันจะดี เพราะมันไม่ดีอยู่แล้ว บริษัทใหญ่ตอนนี้ไปลงทุนต่างประเทศ ไม่ใช่ว่าจะทำให้เขาโตนะ แต่เป็นการบริหารความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนต่อไปในอนาคตสัดส่วน รายได้ในประเทศของบริษัทเหล่านั้นจะลดลงเหลือแค่ 20% ที่เหลือ 80% ออกไปหาเอาต่างประเทศ เพราะไม่รู้ว่าในประเทศจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ไม่มีใครคาดเดาได้ ฉะนั้นในระยะยาว บริษัทใหญ่ไม่เสี่ยงลงทุนในประเทศแล้ว

จึงไปลงทุนต่างประเทศกันเพิ่มมากขึ้น จำเป็น/ไม่จำเป็นก็ต้องไปไว้ก่อน เพราะต้องกระจายความเสี่ยงของเงินให้มากขึ้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook