RATCH รุกโครงการลงทุนต่างประเทศ

'ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง' เปิดแผนลงทุนในต่างประเทศ โดย โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในอินโดนีเซีย จับมือกับ 'บ้านปู'
นายพงษ์ดิษฐ พจนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH เปิดเผยว่า บริษัทได้ตั้งเป้าหมายขยายธุรกิจโรงไฟฟ้าในพม่า ส่วนของโครงการทวาย และลุ่มน้ำสาละวินตอนบน ให้สำเร็จ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาระหว่างรัฐกับรัฐ หรือ G to G โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในสิ้นปี 2556 นี้ ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นการร่วมทุนกับบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ขณะนี้มีข้อจำกัดในเรื่องของอัตราค่าไฟฟ้าที่สูง แต่มองว่าอินโดนีเซีย มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และมีแหล่งเชื้อเพลิงถ่านหินที่สามารถใช้ผลิตไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งทางอินโดนีเซีย อยู่ระหว่างทบทวนโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่ โดยคาดว่ากลางปี 2557 จะได้ข้อสรุปว่าสามารถเข้าไปลงทุนได้หรือไม่ ส่วนในประเทศกัมพูชา จะมีโครงการลงทุนพัฒนาระบบส่ง ซึ่งอยู่ระหว่างการเลือกสัมปทาน และจะมีความชัดเจนในไตรมาส 1 ปี 2557 เช่นกัน
นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายขยายการลงทุนในญี่ปุ่นในส่วนของพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งมีความมั่นคงและให้ผลตอบแทนที่ดี โดยตั้งเป้ากำลังผลิตไว้ที่ 200 - 300 เมกะวัตต์ และขณะนี้ อยู่ในระหว่างศึกษา คาดว่าจะได้ข้อสรุปในไตรมาส 4 ของปีนี้
นายพงษ์ดิษฐ พจนา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH เปิดเผยว่า บริษัทได้ตั้งเป้าหมายขยายธุรกิจโรงไฟฟ้าในพม่า ส่วนของโครงการทวาย และลุ่มน้ำสาละวินตอนบน ให้สำเร็จ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาระหว่างรัฐกับรัฐ หรือ G to G โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในสิ้นปี 2556 นี้ ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นการร่วมทุนกับบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ขณะนี้มีข้อจำกัดในเรื่องของอัตราค่าไฟฟ้าที่สูง แต่มองว่าอินโดนีเซีย มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และมีแหล่งเชื้อเพลิงถ่านหินที่สามารถใช้ผลิตไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งทางอินโดนีเซีย อยู่ระหว่างทบทวนโครงสร้างค่าไฟฟ้าใหม่ โดยคาดว่ากลางปี 2557 จะได้ข้อสรุปว่าสามารถเข้าไปลงทุนได้หรือไม่ ส่วนในประเทศกัมพูชา จะมีโครงการลงทุนพัฒนาระบบส่ง ซึ่งอยู่ระหว่างการเลือกสัมปทาน และจะมีความชัดเจนในไตรมาส 1 ปี 2557 เช่นกัน
นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายขยายการลงทุนในญี่ปุ่นในส่วนของพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งมีความมั่นคงและให้ผลตอบแทนที่ดี โดยตั้งเป้ากำลังผลิตไว้ที่ 200 - 300 เมกะวัตต์ และขณะนี้ อยู่ในระหว่างศึกษา คาดว่าจะได้ข้อสรุปในไตรมาส 4 ของปีนี้