7 เทคนิคพรีเซนต์งานที่ควรรู้

7 เทคนิคพรีเซนต์งานที่ควรรู้

7 เทคนิคพรีเซนต์งานที่ควรรู้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ไม่นานผ่านมา แมนพาวเวอร์กรุ๊ป แนะเคล็ดไม่ลับ ฉบับงานพรีเซนต์เลิศ ๆ กับเทคนิคทั้ง 7 ในการเรียนหรือการทำงาน ที่มักจะต้องพรีเซนต์งานต่างๆอยู่เสมอ แต่กระนั้น ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีความถนัดในด้านนี้ ดังนั้น แมนพาวเวอร์จึงรวบรวม 7 เทคนิคสำคัญเพื่อการพรีเซนต์งานที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

1.เริ่มด้วย "ทำไม"

ทางที่ดีเราควรเริ่มต้นการนำเสนอผลงานของคุณด้วยเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ รวมทั้งข้อดี และประโยชน์จากการจัดทำผลงาน เพราะคนส่วนมากอาจไม่สนใจว่าคุณทำอะไร แต่อาจสนใจว่าคุณทำเพราะอะไร และ มีประโยชน์อย่างไร

2.ทำความรู้จักกับกลุ่มผู้ฟัง

การศึกษาข้อมูลของกลุ่มผู้ฟัง และรู้จักพวกเขาให้ดีพอจะเอื้อประโยชน์เป็นอย่างมากในการนำเสนอ และโน้มน้าวผู้ฟัง หากคุณรู้ว่าพวกเขาเชื่อ และสนใจในสิ่งใดบ้าง ทั้งนี้ยังรวมถึงสไตล์การพูดที่ควรปรับให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังด้วยเช่นกัน

3.นำเสนอด้วยภาพและคงความเรียบง่าย

ควรใช้ภาพเป็นสื่อในการนำเสนอข้อมูลแทนข้อความยาวๆ และตัวเลขทางสถิติต่างๆ เพราะข้อมูลที่คุณต้องการนำเสนอจะเป็นที่จดจำมากกว่าหากเป็นภาพที่น่าสนใจ และควรหลีกเลี่ยงการใส่ข้อมูลที่มากเกินไป พยายามใช้ข้อความในแต่ละสไลด์ให้ กระชับและชัดเจน

4.บอกเล่าด้วยเรื่องราว

การพรีเซนต์งานด้วยข้อมูลหนักๆ และตัวเลขทางสถิติอาจทำให้คุณดูมีความรู้ แต่แน่นอนว่าอาจไม่มีใครจำสิ่งที่คุณพูดได้ ในทางกลับกัน การบอกเล่าด้วยเรื่องราว อารมณ์ และมุ่งเน้นความสนใจกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะทำให้ผู้ฟังจดจำได้ดีกว่า นอกจากนั้น คุณไม่ควรอ่านจากสไลด์ หรือสคริปท์โดยตรง แต่ควรใช้เพียงโน๊ตสั้นๆและเล่าด้วยจังหวะที่เป็นธรรมชาติ

5.ฝึกซ้อมเพื่อเตรียมความพร้อมเสมอ

หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า "Practice makes perfect" กันมาแล้ว ฉะนั้น คุณควรฝึกซ้อมการพรีเซนต์ให้มากเท่าที่คุณทำได้ พร้อมทั้งทบทวนเนื้อหาและจดจำลับดับของสไลด์ให้ดี คุณอาจใช้วีดีโอบันทึกภาพขณะที่ฝึกซ้อมเอาไว้ เพื่อดูจุดบกพร่องและนำมาแก้ไขต่อไป

6.ลองใช้กฎ "10 นาที"

ผู้ฟังอาจหมดความสนใจหากคุณพูดนานเกินไป ลองใช้กฎ "10 นาที" มาปรับใช้กับการพรีเซนต์งานของคุณ โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ แต่ละส่วนไม่ควรพูดนานเกิน 10 นาที จากนั้นอาจเว้นด้วยการให้รับชมภาพประกอบ หรือวีดีโอ แล้วจึงนำเสนอเนื้อหาในส่วนถัดไป

7.มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟัง

หากคุณพูดเพียงคนเดียวเป็นเวลานานๆ ผู้ฟังอาจเกิดความเบื่อหน่ายได้ ฉะนั้น คุณอาจลองให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมโดยการเปิดโอกาสให้ออกความเห็น หรือตั้งคำถามบ้าง

เพียงเท่านี้คุณก็สามารถนำเกร็ดความรู้ที่นำมาฝากไปปฏิบัติได้ การวางแผนและการเตรียมตัวก็จะง่ายมากขึ้น นี่เป็นเพียงแค่เกร็ดความรู้ส่วนหนึ่งในการเตรียมตัวสู่อนาคตการทำงานในโลกกว้าง

ที่น่าสนใจทีเดียว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook