อากาศเย็น “อาบน้ำ” อย่างไรให้รอด

อากาศเย็น “อาบน้ำ” อย่างไรให้รอด

อากาศเย็น “อาบน้ำ” อย่างไรให้รอด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แม้ว่ายังไม่เข้าสู่หน้าหนาวอย่างเป็นทางการ แต่ในช่วงเช้าและช่วงค่ำ อากาศในบ้านเราเริ่มหนาวเย็นจนทำให้หลายคนพาลไม่อยากอาบน้ำ แต่เมื่อจำเป็นต้องอาบน้ำทั้งที่อากาศหนาวเย็น ทำอย่างไรถึงจะส่งผลดีต่อสุขภาพ Tonkit360 มีข้อมูลจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขมาฝากกัน

  • ควรหลีกเลี่ยงการอาบน้ำในช่วงกลางคืน
  • หากเลี่ยงไม่ได้ ควรอาบน้ำประมาณ 10-15 นาที ไม่ควรเกิน 30 นาที เพราะการอาบน้ำนานเกินไปจะทำให้ผิวหนังแห้ง แตก ลอก
  • ไม่ควรปรับอุณหภูมิน้ำให้ร้อนจนเกินไป
  • ควรราดน้ำไล่จากเท้าขึ้นไป อย่ารีบราดทั้งตัว โดยที่ยังไม่ปรับอุณหภูมิร่างกาย อาจทำให้เป็นหวัดได้ง่าย
  • หลังจากอาบน้ำอุ่นในช่วงท้าย ให้อาบน้ำอุ่นสลับน้ำเย็น เพื่อปิดรูขุมขนและปรับสมดุลผิวหนัง ทำให้ผิวแห้งเสียน้อยลงได้
  • หลังอาบน้ำอุ่น ควรทาครีมบำรุงผิวทันที เพื่อความชุ่มชื่นและป้องกันผิวแตก

น้ำเย็นจัดระวังเกิดภาวะช็อก!
ส่วนจังหวัดที่มีสภาพอากาศหนาวเย็นมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะพื้นที่ทางตอนเหนือ อาจจะต้องระวังภาวะช็อกจากอุณหภูมิเย็นจัด (Cold Shock) ด้วย
Cold Shock เป็นภาวะที่เกิดจากร่างกายสัมผัสน้ำหรืออากาศที่เย็นจัดเฉียบพลัน ร่างกายจึงตอบสนองเฉียบพลัน ทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก เลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ จึงอาจหมดสติ  และอาจอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้  โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัว  เช่น โรคหัวใจ  โรคความดันโลหิตสูง

โดยกรมอนามัยมีคำแนะนำในการป้องกันภาวะ Cold Shock ตามขั้นตอนดังนี้

  • ล้างหน้าแปรงฟันก่อน  เพื่อให้ร่างกายปรับสภาพกับอากาศเย็น (อย่าเพิ่งถอดเสื้อผ้า)
  • ล้างเท้า ล้างแขน ล้างขาก่อน ให้ร่างกายเคยชินกับน้ำเย็น
  • ใช้สบู่น้อย ๆ เพื่อลดระยะเวลาล้าง และทำให้ผิวไม่แห้งจนเกินไป
  • หากมีโรคประจำตัว หรือเป็นผู้สูงอายุ  ควรอาบน้ำอุณหภูมิอุ่นหรือเช็ดตัวแทน

เพิ่มความอบอุ่นหลังอาบน้ำ
นอกจากนี้ ก็ควรเพิ่มความอบอุ่นหลังจากอาบน้ำเสร็จด้วยการดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ ด้วยก็ได้เช่นกัน แต่ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์ก่อนนอน

ทั้งนี้ เป็นเพราะคาเฟอีน จะทำให้ร่างกายตื่นตัวจึงทำให้ต้องใช้เวลานานขึ้นกว่าจะนอนหลับ จึงส่งผลต่อคุณภาพในการนอนหลับ ขณะที่แอลกอฮอล์จะไปขัดขวางการปล่อยฮอร์โมน “ทริปโตแฟน” ที่ช่วยในการนอนหลับ ทำให้รู้สึกว่าร่างกายไม่ได้พักผ่อนตลอดทั้งคืนนั่นเอง

ข้อมูล :  กรมอนามัย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook