ญี่ปุ่นกับวัฒนธรรม ตัวคนเดียว ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง

ญี่ปุ่นกับวัฒนธรรม ตัวคนเดียว ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง

ญี่ปุ่นกับวัฒนธรรม ตัวคนเดียว ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เริ่มตั้งแต่การนั่งดื่มไปจนถึงการร้องคาราโอเกะ มีชาวญี่ปุ่นทำกิจกรรมเหล่านี้ด้วย “ตัวคนเดียว” มากขึ้น อะไรคือสาเหตุให้วัฒนธรรม “ชีวิตเดี่ยว” นี้เติบโตมากยิ่งขึ้น

จากศตวรรษที่ผ่านมา การทำอะไรตัวคนเดียวเป็นเรื่องน่าอายและทำให้รู้สึกอึดอัด ไม่ว่าจะการนั่งกินข้าวคนเดียวที่โรงเรียน กินข้าวคนเดียวที่ออฟฟิศ ถึงขนาดต้องไปแอบเอาข้าวไปกินในห้องน้ำแทน จนมีคำเรียกคนที่ทำกิจกรรมในลักษณะนี้ว่า “Benjo Meshi” หรือ “Toilet Lunch”

แต่กับปัจจุบันคนส่วนใหญ่มีความคิดไปในทิศทางเดียวกันว่าสังคมญี่ปุ่นกำลังเปลี่ยนไป หนึ่งในนั้นคือ มิกิ ทาเทชิ บาร์เทนเดอร์สาวผู้ทำงานที่บาร์แห่งหนึ่งชื่อว่า ฮิโตริ ในกรุงโตเกียวหนึ่งในบาร์บรรยากาศสบาย ๆ ที่ออกแบบมาสำหรับนักดื่มที่ชอบฉายเดี่ยว

เป็นบาร์ที่ให้บริการมานับตั้งแต่กลางปี 2018 ที่แสดงให้เห็นถึง สิ่งที่ผิดปกติแต่กำลังขับเคลื่อนไปอย่างสอดคล้องในสังคมญี่ปุ่น สำหรับการออกมาทำกิจกรรมเพียงตัวคนเดียว ซึ่งเห็นได้ชัดถึงแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยผู้คนหันเหออกจากความอึดอัดในการกินข้าวคนเดียวในห้องน้ำ ก้าวออกมาทำอะไรคนเดียวในโลกภายนอกมากขึ้น

ทาเทชิ กล่าวว่า “บางคนมีความสุขที่ได้ทำอะไรคนเดียวในขณะที่คนอื่น ๆ ชอบเข้าสังคม” โดยเธอเชื่อว่า นโยบายของร้านที่ว่าด้วย บาร์สำหรับการมานั่งดื่มคนเดียวนั้นช่วยให้ผู้คนได้ปลีกตัวจากสังคมกลุ่มใหญ่ แขกในร้านสามารถผ่อนคลายกันภายในร้านที่มีบรรยากาศสบาย ๆ และพื้นที่แคบ ๆ อาจช่วยให้เขาได้มีบทสนทนากันบ้างในบรรดาแขกจำนวนหนึ่ง

ไก สุกิยามา พนักงานจากในบริษัทอุตสาหกรรมการผลิต อายุ 29 ปี ให้ความเห็นว่า “มันเป็นสิ่งที่หาได้ยาก ผมรู้สึกว่าคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ใช้ชีวิตกันแบบเป็นสังคมเป็นกลุ่มเพราะต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น ๆ เรามักไม่ค่อยเห็นวัฒนธรรมการทำอะไรด้วยตัวคนเดียวสักเท่าไหร่”

Hitori แปลว่า คนเดียว เนื่องด้วยเพราะความเปลี่ยนแปลงของสังคมทำให้เกิดธุรกิจให้บริการกับคนที่ชอบทำอะไรตัวคนเดียว ตั้งแต่การท่องราตรี การท่องเที่ยว ล้วนมีตัวเลือกใหม่ผุดขึ้นมาสำหรับคนประเภทนี้ในช่วงปีที่ผ่านมา และสิ่งนี้เป็นการขับเคลื่อนภายใต้ชื่อเรียก “Ohitorisama”

หากแปลคำว่า Ohitorisama อย่างหลวม ๆ ก็คงแปลได้ว่า ปาร์ตี้สำหรับคนเดียว ซึ่งหากลองเสิร์ชแฮชแท็กนี้ในอินสตาแกรม จะเห็นโพสต์ของการทำอะไรคนเดียวเต็มไปหมดอย่าง กินข้าวคนเดียว ดูหนังคนเดียว ออกท่องเที่ยวตั้งแคมป์คนเดียว โดยวัฒนธรรมแบบนี้มีให้เห็นมากขึ้นในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมาทั้งในหน้าข่าวและโซเชียลมีเดีย

มีสิ่งใหม่ ๆ กำเนิดมารองรับวัฒนธรรมนี้มากขึ้น อย่างล่าสุด Hitori Yakiniku หรือร้านเนื้อย่างสำหรับมากินคนเดียว จากปกติที่เรามักจะเห็นภาพของการนั่งล้อมเตาปิ้งย่างของกลุ่มคนที่มาด้วยกัน แต่สำหรับ Hitori Yakiniku จะมีแค่คุณและเตาเท่านั้น

หรือแม้แต่การร้องคาราโอเกะก็ยังเป็นกิจกรรมที่มีการทำคนเดียวมากขึ้น โดยมีเปอร์เซ็นต์ของลูกค้าที่มาร้องคาราโอเกะคนเดียวเพิ่มจาก 30 เป็น 40% ในเวลาอันรวดเร็ว ในโตเกียวมีร้านคาราโอเกะให้บริการอยู่ทั่วไป และส่วนใหญ่จะอยู่บนอาคารพาณิชย์ที่มีหลายชั้นซึ่งมีการจัดห้องส่วนตัวสำหรับการมาร้องคาราโอเกะคนเดียวไว้ด้วยในขนาดห้องเล็กเท่า ๆ กับตู้โทรศัพท์สาธารณะ

ทว่าในหลายชาติอื่น ๆ วัฒนธรรม ตัวคนเดียว นั้นไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร ตัวอย่าง เช่น คริสตินา เฮนดริกส์ นักแสดงสาวชาวอเมริกัน โพสต์ภาพของเธอระหว่างไปคอนเสิร์ตโดยใส่แฮชแท็กว่า #Solodate หรือ เอ็มม่า วัตสัน นักแสดงสาวชื่อดังชาวอังกฤษที่ออกมาเปิดเผยเรื่องความรักของตัวเองว่าเป็น Self-Partnered มีงานเขียนของชาติตะวันตกที่เขียนเกี่ยวกับ คู่มือการนั่งดื่มคนเดียว การนั่งอ่านหนังสือในบาร์ การเที่ยวคนเดียว จนส่งผลให้เกิดอาชีพที่มีอิทธิพลอย่างมากในโซเชียลมีเดีย

สังคมตัวคนเดียว โดดเด่นและเพิ่มขึ้นด้วยหนุ่มสาวที่ใช้ชีวิตโดยไม่แต่งงานและผู้สูงอายุที่ใช้ชีวิตแบบเป็นหม้าย ทั้งหมดนี้จะกลายเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในอนาคตของทุกประเทศ ซึ่งในหลาย ๆ ประเทศอาจไม่แปลกใหม่ แต่ในประเทศญี่ปุ่นประเด็นนี้เติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ควบคู่ไปกับทัศนคติที่ยืดหยุ่นมากขึ้นเกี่ยวกับการใช้ชีวิตที่ก่อนหน้านี้การทำอะไรคนเดียว เช่น การกินข้าวในห้องน้ำ เป็นเรื่องน่าอับอาย แต่ 10 ปีต่อมากลับมีธุรกิจที่รองรับการใช้ชีวิตตัวคนเดียวมากขึ้น

ที่มา : BBC WORKLIFE

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook