“ศิลปะ x แฟชั่น” Perfect Match ของวงการศิลปะ

“ศิลปะ x แฟชั่น” Perfect Match ของวงการศิลปะ

“ศิลปะ x แฟชั่น” Perfect Match ของวงการศิลปะ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ศิลปะ และ แฟชั่น ความจริงก็ถือเป็นศาสตร์เดียวกันเพราะมาจากพื้นฐานทางศิลปะเหมือนกัน การรวมตัวกันของ Fine Art และ แฟชั่น ก็มีให้เราเห็นกันอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการค้า อย่างการรวมตัวกันของแบรนด์และศิลปินเพื่อทำคอลเลคชันพิเศษขึ้นมา การนำภาพวาดดังๆ มาถ่ายแฟชั่น หรือการจัดแฟชั่นโชว์ที่ได้แรงบันดาลใจจากงานศิลปะ

Salvador Dali (ซัลวาดอร์ ดาลี) ที่เราเห็นการทำงานแบบไม่สนโลกไม่สนทฤษฎี ก็เคยนำผลงานตัวเองไปอยู่บนเสื้อผ้ามาตั้งแต่ปี 1937 แต่ด้วยความที่งานของดาลีค่อนข้างจะเฉพาะกลุ่ม ไม่ได้ทำงานตามความนิยมของสังคม เลยอาจจะเป็นที่รู้จักและเป็นแรงบันดาลใจในวงการแฟชั่นได้น้อยกว่าวอร์ฮอล

thesouperdressชุดเดรสที่มาจากกระป๋องซุป

Andy Warhal (แอนดี้ วอร์ฮอล) หนึ่งในศิลปินกลุ่มแรกๆ ที่เปลี่ยนงานศิลปะของเขาให้เป็นสินค้าแฟชั่น ด้วยธรรมชาติของศิลปินป๊อปอาร์ต ย่อมใช้ความนิยม และความทันสมัยในสมัยนั้นได้ดีอยู่แล้ว แนวคิดทางการค้าย่อมมากกว่าศิลปินลัทธิอื่นที่ทำผลงานด้วยความชอบรสนิยมของตัวเอง (และก็ไม่แปลกเลย เพราะวอร์ฮอลทำงานแฟชั่นมาก่อนที่จะเริ่ม Fine Art ซะอีก)

ถึงแม้เขาจะไม่มีชีวิตอยู่แล้ว แต่ผลงานที่ฝากเอาไว้ยังคงเป็นแรงบันดาลใจ และมีอิทธิพลต่อวงการแฟชั่นมาจนถึงตอนนี้ หมดยุคของวอร์ฮอล หมดยุคของมอนโรล แต่ไม่มีคำว่าเก่าสำหรับผลงานของเขา 

ศิลปิน Conceptual Art อย่าง Damien Hirst (เดเมียน เฮิร์สต์) ที่ชอบนำสัตว์มาแช่แข็งแล้วจัดแสดงในแกลเลอรี่ ก็เคยร่วมงานกับวงการแฟชั่นมาแล้วในโปรเจคการกุศลที่ทำร่วมกับ PRADA (แต่เห็นผลงานแล้วอาจจะเฉพาะกลุ่มหน่อยๆ)

arianaศิลปะทางศาสนาก็เป็นแฟชั่นได้

ผลงานที่ตอบโจทย์ความเป็น Fine Art X Fashion อีกชิ้นคงเป็นชุดของ Ariana Grande ในงาน Met Gala 2018 เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ที่นำ “The Last Judgement” ของ Michelangelo (มิเคลันเจโล) มาสกรีนเป็นชุดเดรสในธีม Heavenly Bodies : Fashion and the Catholic Imagination ออกแบบโดย Vera Wang ดีไซเนอร์ชาวอเมริกัน เป็นธีมที่จะได้เห็นกึ๋นของดีไซเนอร์กันชัดๆ ไปเลยว่าจะตีความความเป็นศาสนาให้ผสมกับแฟชั่นอย่างไรให้ยูนีคและตอบโจทย์ 

vanxvangoahVans x Van Gogh

แบรนด์ที่เราคุ้นกันอย่าง Vans ก็เพิ่งจะมีคอลเลคชันที่ร่วมกับ Van Gogh Museum Amsterdam เอางานศิลปะของแวนโก๊ะมาเป็นลายรองเท้าและเสื้อ ราคาอยู่ที่ประมาณ 2,500 – 3,000 บาท ขณะเดียวกัน Murakami เองก็เคยร่วมงานกับ Vans ในปี 2015 เหมือนกัน

หรือแม้แต่แบรนด์ใกล้ตัวอย่าง Uniqlo ที่มีคอลเลคชันงานศิลปะอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจุดเริ่มต้นการนำงานศิลปะมาสกรีนบนเสื้อผ้าของ Uniqlo ก็มาจากแอนดี้ วอร์ฮอล (อีกแล้ว!) และมีศิลปินอีกมากที่ถูกนำผลงานมาเป็นลายเสื้อ สามารถเพิ่มมูลค่าของเสื้อยืดธรรมดาได้เป็นสองเท่าเลยทีเดียว

ที่ว่าเป็น Perfect Match คงไม่ได้เกินจริง เพราะเมื่องานศิลปะที่มีคุณค่าในตัวเอง มาบวกกับสินค้าทางแฟชั่นที่มีทั้งชื่อแบรนด์และคุณภาพ ก็สามารถเพิ่มมูลค่าออกไปได้อีกไม่รู้เท่าไร

vansmurakamiงานของมูราคามิก็เคยอยู่บนสินค้าแฟชั่นเช่นกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook