รู้จักบี.กริม ผ่านหนังสือฝากไว้ในแผ่นดิน หนังสือที่ผู้ชายประวัติศาสตร์-วรรณกรรม ไม่ควรพลาด

รู้จักบี.กริม ผ่านหนังสือฝากไว้ในแผ่นดิน หนังสือที่ผู้ชายประวัติศาสตร์-วรรณกรรม ไม่ควรพลาด

รู้จักบี.กริม ผ่านหนังสือฝากไว้ในแผ่นดิน หนังสือที่ผู้ชายประวัติศาสตร์-วรรณกรรม ไม่ควรพลาด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากเอ่ยชื่อบริษัทบี.กริม อาจมีไม่มากนักที่ร้องอ๋อ เพียงแต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น บี.กริม เป็นบริษัทที่ก่อตั้งและฝังตัวรากลึกอยู่ในสังคมไทยนานถึง 140 ปีมาแล้ว

ปัจจุบันบี.กริม เป็นกลุ่มบริษัทที่ดำเนินธุรกิจทั้งในด้านพลังงาน เครื่องปรับอากาศ สุขภาพ คมนาคม อสังหาริมทรัพย์ ไปจนถึงไลฟ์สไตล์ โดยตัวเลข 140 ปี หาใช่ตัวเลขที่ถูกเอ่ยขึ้นมาอย่างไร้ความหมาย แต่อันที่จริงแล้ว เมื่อเรานำพุทธศักราช 2561 พาเราย้อนถอยหลังด้วยการค้นหาข้อมูลด้วยอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนหน้าเสิร์ชเอนจินของกูเกิล หรือวิกิพีเดีย สารานุกรมออนไลน์ คุณจะพบว่า ช่วงระยะเวลา 140 ปีที่ผ่านมา บี.กริม เป็นบริษัทที่เคยผ่านช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดในมวลมนุษยชาติถึงสองครั้งสองครา ทั้งจากสงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I) และสงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II)

381800ปี ๑๙๐๒ (พ.ศ. ๒๔๔๕) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ทรงเปิดอาคารศาลาว่าการเมืองธัญญบุรี โดยมีแบร์นฮาร์ด กริม และ แอร์วิน มุลเลอร์ เฝ้าฯ รับเสด็จ

บี.กริม เป็นบริษัทของชาวเยอรมนี ที่ข้ามน้ำข้ามทะเลจากผืนแผ่นดินยุโรป เข้ามาบุกเบิกกิจการในประเทศสยามตั้งแต่ช่วงสมัยของรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งจุดเริ่มต้นที่ทำให้บี.กริม เป็นที่รู้จักในสยามเมื่อ 6 รัชกาลก่อน นั่นก็คือ การเปิดร้านขายยาแผนตะวันตกแห่งแรกในสยาม ก่อนที่สร้างชื่อเสียง กระทั่งได้รับความไว้วางใจจากราชสำนักสยามให้เป็นตัวแทนส่งตำรับยาสมัยใหม่เข้าสู่ราชสำนัก

แต่ด้วยความขัดแย้งทางการเมืองบนผืนแผ่นดินยุโรป กระจายตัวไปสู่วงกว้าง ราชอาณาจักรและประเทศในยุโรป ถูกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายเป็นกลุ่มประเทศไตรภาคี ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย กับกลุ่มประเทศไตรพันธมิตร นำโดยเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี กระทั่งลุกลามมาเคาะอยู่หน้าปากประตูแผ่นดินสยาม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ไม่มีทางเลือก จำต้องเลือกข้าง จากจุดยืนเดิมที่สยามต้องการวางตัวเป็นกลาง แต่ความกดดันทางการเมือง ทำให้ในท้ายที่สุดรัชกาลที่ 6 เลือกที่จะเข้ากับกลุ่มไตรภาคี จึงได้ประกาศสงครามกับเยอรมนี

การที่บริษัท บี.กริม เป็นบริษัทที่ก่อตั้งโดยชาวเยอรมนี ทำให้ไม่มีทางเลือกนอกจากจะถูกเหมารวมให้กลายเป็น ‘ชนชาติศัตรู’ ก่อนที่สงครามโลกครั้งที่สอง จากการนำของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำพาเยอรมนีเข้าสู่สงครามครั้งใหม่ ที่ว่ากันว่า สงครามครั้งนี้ทำให้ดาวเคราะห์สีฟ้าที่ชื่อว่าโลก ถูกละเลงด้วยเลือดของผู้เสียชีวิตมากกว่า 60 ล้านคน

จากเหตุการณ์สงครามโลกทั้งสองครั้ง บี.กริม บริษัทที่ก่อตั้งและดำเนินการในสยาม จึงต้องอยู่ภายใต้อุ้งมือแห่งชะตากรรมที่ตัวนั้นมิอาจลิขิตใดๆ ได้เลย

coverซ้าย: ฮาราลด์ ลิงค์ และยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรือง

โดยเหตุการณ์ของบริษัท บี.กริม นั้น ได้ถูกบันทึกและเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือวรรณกรรมเชิงประวัติศาสตร์เล่มใหม่ล่าสุด ‘ฝากไว้ในแผ่นดิน’ ซึ่งประพันธ์โดยยุวดี ต้นสกุลรุ่งเรือง ผู้เคยฝากผลงานด้านบันเทิงคดีและด้านสารคดีมาแล้วหลายชิ้น เธอได้กล่าวว่า ได้ใช้เวลานานถึง 10 ปีในการรวบรวมข้อมูล ซึ่งค้นคว้าทั้งจากหอสมุดแห่งชาติ รวมถึงการพูดคุยกับฮาราลด์ ลิงค์ ประธานกลุ่มบริษัท บี.กริม คนปัจจุบัน ก่อนที่จะนำข้อเท็จจริงเชิงประวัติศาสตร์มาเรียงร้อยถ้อยคำ จนกลายเป็นวรรณกรรมเรื่องนี้

241331

ในแง่มุมหนึ่งของหนังสือ ‘ฝากไว้ในแผ่นดิน’ ก็อาจเป็นเพียงหนังสือที่ถูกสรรค์สร้างขึ้นในวาระครบรอบ 140 ปีของบริษัทบี.กริม ก็จริง แต่หากเรามองให้ลึกลงไป รายละเอียดของหนังสือเล่มนี้ยังมีอีกหลายด้านชวนให้เราศึกษา ทั้งในเชิงของประวัติศาสตร์ตั้งแต่รัชสมัยของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ความเคลื่อนไหวของประชาชนชาวสยามในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ซึ่งตรงกับรัชกาลที่ 6 จนถึงช่วงต้นรัชกาลที่ 8

ขณะเดียวกัน หนังสือเล่มนี้ยังมีองค์ประกอบที่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่สามารถใช้เป็นข้อมูลเชิงศึกษาเกี่ยวกับข้อจำกัด และอุปสรรคของนักธุรกิจเมื่อกว่าร้อยปีก่อนว่า พวกเขาฝ่าฟันมันได้อย่างไร กระทั่งปัจจุบันบริษัทบี.กริมที่ว่านี้ ก็ยังมีตัวตน พร้อมกับโลดแล่นในวงการธุรกิจได้อย่างเหนียวแน่น และเป็นหนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดบริษัทหนึ่งในประเทศไทยในปัจจุบัน

อัลบั้มภาพ 8 ภาพ

อัลบั้มภาพ 8 ภาพ ของ รู้จักบี.กริม ผ่านหนังสือฝากไว้ในแผ่นดิน หนังสือที่ผู้ชายประวัติศาสตร์-วรรณกรรม ไม่ควรพลาด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook