วัดท่าไม้ ประวัติความเป็นมา การเดินทาง

วัดท่าไม้ ประวัติความเป็นมา การเดินทาง

วัดท่าไม้ ประวัติความเป็นมา การเดินทาง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากมีข่าวดังว่า พระครูปลัดอุเทน สิริสาโร เจ้าอาวาสวัดท่าไม้ ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร พระชื่อดัง ที่หลายคนศรัทธาได้ขอลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาส โดยให้เหตุผลว่า "ตนเองมีปัญหาด้านสุขภาพที่หนัก มีโรครุมเร้าหลายโรค และเรื่องการขัดแย้งต่างๆที่เกิดขึ้น สาเหตุเพราะตนเองยังบกพร่องหลายอย่าง รวมไปถึงตั้งใจจะไป จะไปจำพรรษาที่เมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย" 

วัดท่าไม้วัดท่าไม้

สำหรับใครที่ยังไม่ทราบว่า "วัดท่าไม้" นี้มีประวัติความเป็นมาอย่างไร ทำไมถึงโด่งดัง Sanook Horoscope จะพาไปทำความรู้จักกับวัดท่าไม้กัน

ประวัติวัดท่าไม้

"วัดท่าไม้" หลายคนน่าจะเคยได้ยินกันมาบ้างเกี่ยวกับความศักสิทธิ์อันเลื่องชื่อของวัดนี้ ที่แม้แต่กระทั่งดาราดังอย่าง ณเดชน์ คูกิมิยะ, ญาญ่า อุรัสยา, อั้ม พัชราภา,มาริโอ้ ที่ต่างพากันไปทำบุญไหว้พระขอพร สักการะบูชา กันบ่อยๆ เชื่อกันว่าที่วัดแห่งนี้จะมีการทำบุญสะเดาะเคราะห์เสริมดวง โดดเด่นในเรื่องเมตตามหานิยม

รวมไปถึงเรื่องของการดูดวงกับ "พระครูปลัดอุเทน สิริสาโร เจ้าอาวาสวัดท่าไม้"ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คนส่วนใหญ่นิยมมาเช่นกัน....มาตอนนี้คงอยากทราบกันแล้วว่า วัดท่าไม้ มีประวัติความเป็นมาอย่างไร

พระครูปลัดอุเทน สิริสาโร เจ้าอาวาสวัดท่าไม้พระครูปลัดอุเทน สิริสาโร เจ้าอาวาสวัดท่าไม้

พระครูปลัดอุเทน สิริสาโร เจ้าอาวาสวัดท่าไม้พระครูปลัดอุเทน สิริสาโร เจ้าอาวาสวัดท่าไม้

(พระครูปลัดอุเทน สิริสาโร เจ้าอาวาสวัดท่าไม้)

วัดท่าไม้นี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2520 ได้รับพระราชทานวิสุงคามมะสีมาเมื่อปีพุทธศักราช 2537 ปัจจุบัน ตั้งอยู่เลขที่ 51 หมู่ที่ 11 ถนนเศรษฐกิจ 1 ซอย 8 ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร ในวัดมีพื้นที่ประมาณ 6 ไร่

ถ้านับย้อนไปเมื่อต้นปี พ.ศ. 2520 มีพระภิกษุหนุ่ม อายุราว 24 ปี เป็นพระธุดงค์ชื่อ ยอดชาย ฉายา อุปติสฺโส พรรษา 1 วัดหนองโตนด (พันท้าว) ต.พงตึก อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี ต้องการหาสถานที่เพื่อปฏิบัติสมณธรรม คุณทุยได้ชี้นำบริเวณปากคลองคอกหมู ริมแม่น้ำท่าจีน อยู่ไม่ไกลจากหมู่บ้านนั้นนัก ซึ่งวิเวกร่มรื่นสงบ อากาศดีไม่มีคนพลุกพล่าน แล้วชักชวนญาติสนิทมิตรสหาย ช่วยกันสร้างที่พักสงฆ์

ด้วยจริยาวัตร และสามัคคีธรรมร่วมกันของพระภิกษุกับชาวบ้าน ประสงค์จะสร้างเป็นวัด จึงขออนุญาตสร้างวัด ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2520 และเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 จนได้รับใบอนุญาตสร้างวัดจากกรมการศาสนา ให้นามว่า "สำนักสงฆ์โพธิธรรมรังษี(ท่าไม้)"

วัดท่าไม้ วัดท่าไม้

จนเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2532 ได้ยกฐานะของสำนักสงฆ์โพธิธรรมรังษี ขึ้นเป็น "วัดท่าไม้" ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากเป็นการสมควรที่วัดท่าไม้จะได้มีเจ้าอาวาส ท่านเจ้าคณะตำบลท่าไม้ ในขณะนั้น คือ ท่านพระครูสาครธรรมรัตน์ วัดสุวรรณรัตนาราม ได้อาราธนา ท่านพระครูโสภณธรรมสาคร เจ้าคณะอำเภอกระทุ่มแบน วัดอ้อมน้อย

มาประชุมร่วมกับพระภิกษุสามเณรและทายกทายิกาของวัดท่าไม้ นำเสนอพระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระราชสาครมุนี เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสาคร วัดเจษฎาราม ให้พระอาจารย์สุรสิงห์ สุรสีโลเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2533

วัดท่าไม้ วัดท่าไม้

ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างอุโบสถในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2534 ได้ทุนดำเนินการขั้นต้นรวม 840,000 บาท ตามแบบแปลนของกรมศิลปากร เป็นอุโบสถภายในกว้าง 5 เมตร ยาว 9 เมตร มีมุขหน้าและมุขหลังรวมอีก 6 เมตร มี 6 หน้าต่างมี 4 ประตู สำเร็จในปีเดียวกัน

และท่านพระครูศีลสาครวิมล ได้สร้างถาวรวัตถุไว้คู่พระศาสนามากมายจวบจบวาระสุดท้ายแห่งชีวิต ถาวรวัตถุเหล่านี้มีสภาพทรุดโทรม เนื่องจากมีน้ำท่วมเพราะเหตุที่พื้นที่บริเวณวัดต่ำกว่าเขื่อนกั้นน้ำ จนกระทั่งเมื่อ พระครูศีลสาครวิมล อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าไม้ ได้มรณภาพลง เจ้าคณะจังหวัดสมุทรสาครจึงแต่งตั้งให้ พระครูปลัดอุเทน สิริสาโร ย้ายจากวัดท่ากระบือมาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสสืบจนถึงปัจจุบัน

ถาวรวัตถุที่ยังหลงเหลือจากอดีตคงมีเพียงแต่ พระอุโบสถที่มีพระพุทธชินราชประดิษฐานเป็นพระประธานเท่านั้น ส่วนถาวรวัตถุอื่นได้เปลี่ยนแปรสภาพไปตามกาลเวลาและสถานการณ์ ในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ที่ท่าน พระครูปลัดอุเทน สิริสาโร ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส มีการเปลี่ยนแปลงถาวรวัตถุภายในวัดท่าไม้โดยใช้ระยะเวลาในการบูรณะเพียงแค่ 1 ปีเศษ

ถาวรวัตถุที่สำคัญภายในวัดท่าไม้ถาวรวัตถุที่สำคัญภายในวัดท่าไม้

ถาวรวัตถุที่สำคัญภายในวัดท่าไม้ ณ ปัจจุบัน

  1. พระอุโบสถ มีพระพุทธชินราชจำลองหน้าตัก 69 นิ้ว เป็นพระประธานในพระอุโบสถ รวมทั้งมีพระเชียงแสน พระสุโขทัย และพระอู่ทอง ร่วมประดิษฐานในพระอุโบสถด้วย
  2. ศาลาการเปรียญ มีพระพุทธหิรัญราช เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องกษัตริย์ปางประทานพร เป็นพระประธานในศาลาการเปรียญ
  3. ศาลาชินบัญชร เป็นสถานที่รองรับพุทธศาสนิกชนในการปฏิบัติธรรมรักษาศีลเจริญสติปัฏฐานสี่
  4. ศาลาบูรพาจารย์ เป็นศาลาที่ประดิษฐานพระเกจิดังในเมืองไทย ซึ่งทางวัดท่าไม้ได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ 4 รูป มี
    1. หลวงปู่ทวด วัดช้างให้
    2. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
    3. พระไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง ติสสโร) เทพเจ้าแห่งลุ่มน้ำท่าจีน
    4. หลวงพ่อยี
  5. ศาลาเทวาพิทักษ์ เป็นที่ประดิษฐานพระราหูเป็นศาลาประกอบพิธีกรรมการสวดดาวนพเคราะห์ย้ายรวมถึงใช้เป็นศาลาเอนกประสงค์ต่างๆ
  6. ศาลาพระธรรมจักรแก้ว
  7. ศาลาเจ้าแม่กวนอิม เป็นที่ประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม เพื่อให้พุทธศาสนิกชนเชื้อสายจีนได้กราบสักการบูชา
  8. ศาลาพระแม่สิริมหามายา
  9. หอฉัน
  10. หอกลอง
  11. หอระฆัง
  12. หอวัตถุมงคลและของที่ระลึก

ความนิยมกับการติด "สติ๊กเกอร์วัดท่าไม้" ที่รถ

เชื่อว่าใครหลายๆ คนที่ใช้รถใช้ถนนจะต้องเห็นเหมือนกันว่าทำไมรถที่เราพบเห็นแต่ละคันถึงได้มีสติ๊กเกอร์ที่ระบุคำว่า วัดท่าไม้ กันเยอะแยะขนาดนั้น อย่างน้อยก็ 5 คันต่อหนึ่งชั่วโมง จนบางครั้งพอเราเห็นบ่อยขึ้นก็ทำให้นึกขึ้นได้ว่า นี่ต้องเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญรองจากทะเบียนรถที่ขาดไม่ได้แน่ๆ แล้ว วัดท่าไม้ ที่ว่ากันนี้อยู่ที่ไหนกันล่ะ แล้วทำไมต้องไปวัดท่าไม้ อยากรู้คำตอบเหมือนกันก็เลยลองไปค้นหาเรื่องราวที่น่าจะทำให้ความสงสัยนี้กระจ่างได้มาเล่าสู่กันฟัง จะได้ร้องอ๋อไปพร้อมๆ กัน

วัดท่าไม้ เดิมทีน่าจะรู้กันอยู่แล้วว่าเป็นวัดเล็กๆ วัดหนึ่งที่อยู่ในอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร วัดแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันในวงแคบเฉพาะผู้ต้องการจะเดินทางมาแสวงหาโชคลาภและประกอบพิธีกรรมที่สามารถช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจได้ แต่เชื่อรึเปล่าว่าจากวันนั้นถึงวันนี้ โดยเฉพาะในช่วงสุดสัปดาห์ มีผู้คนเป็นจำนวนมากเดินทางมาที่วัดท่าไม้เพื่อกราบไหว้สักการะองค์พระและประกอบพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งแต่ละคนมักจะกลับออกไปพร้อมด้วยสติ๊กเกอร์ที่ผ่านการปลุกเสกอย่างน้อยคนละ 1 แผ่น ทำให้ในตอนนี้จำนวนการผลิตของสติ๊กเกอร์วัดท่าไม้พุ่งสูงขึ้นถึง 30,000 แผ่นต่อเดือน แต่กระนั้นก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกศิษย์ เดิมทีสติ๊กเกอร์วัดท่าไม้ผลิตขึ้นเพื่อใช้แสดงความเป็นลูกศิษย์ของวัดเท่านั้น ไม่ได้ใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางใจและเป็นเครื่องรางที่ใช้ปกป้องคุ้มครองภัยดังเช่นในทุกวันนี้ นั่นเอง จึงทำให้ วัดท่าไม้ กลายเป็นจุดหมายปลายทางแห่งการแสวงหาโชคลาภใหม่ของคนไทยในทุกวันนี้

นับได้ว่าสติ๊กเกอร์วัดท่าไม้เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ สำหรับเรียกศรัทธาจากผู้คนรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยมีที่ไหนมาก่อน ซึ่งในมุมมองของนักวิชาการระบุว่า วัดท่าไม้ สามารถสร้างความโดดเด่นในแง่ของชื่อสื่อให้ไปสู่คนรอบนอกได้อย่างกว้างขวางในทุกๆ ที่ อีกทั้งยังช่วยให้ประสบความสำเร็จในการขยายฐานเสียงลูกศิษย์อันเนื่องมาจากบริการที่ตอบสนองความต้องการผู้คนจำนวนมากได้อย่างเฉพาะเจาะจงและแม่นยำ ฉะนั้น สติ๊กเกอร์วัดท่าไม้ ไม่ได้เป็นเพียงวัตถุมงคลที่ลูกศิษย์นำมาติดไว้ที่รถเพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นอีกเครื่องมือสื่อสารหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อผู้ที่พบเห็นในแง่ของการสร้างการรับรู้ได้อีกด้วย จึงจะเห็นได้ว่ากลยุทธ์การสร้างแบรนด์เช่นนี้ไม่ได้เพียงช่วยให้เกิดการรับรู้และความน่าเชื่อถือสำหรับองค์กรเพียงอย่างเดียว ทุกวันนี้สถาบันพระพุทธศาสนาก็หันมาใช้วิธีการแบบนี้เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่น่าศรัทธา น่านับถือได้เช่นเดียวกัน โดยจะเห็นได้จากความสำเร็จของวัดท่าไม้ที่กระตุ้นความอยากรู้ของคนให้เข้าสู่ สถาบันวัดท่าไม้ ได้อย่างมหาศาล

การเดินทางไปวัดท่าไม้

การเดินทางไปวัดท่าไม้สำหรับใครที่มีรถยนต์ส่วนตัว อาจวิ่งเข้าติวานนท์ - นครอินทร์ - กาญจนาภิเษก - พุทธมณฑลสาย 4 จากนั้นให้เลี้ยขวาเข้าถนนเพชรเกษม ต่อด้วยเลี้ยวซ้ายเข้าถนนหมายเลข 3019 (เศรษฐกิจ) เข้าไปประมาณ 3 - 4 กิโลกเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าซอย (ดูตามแผนที่) ให้ขับรถข้ามแม่น้ำท่าจีนก็จะเจอวัดท่าไม้อยู่ซ้ายมือ

แผนที่วัดท่าไม้แผนที่วัดท่าไม้

นี่ก็เป็นเรื่องราวดีๆ ที่ Sanook! Horoscope นำมาฝากกัน แนะนำว่าใครที่อยากจะเดินทางไปวัดท่าไม้อาจจะต้องเตรียมตัวและเผื่อเวลาล่วงหน้ากันสักหน่อย เพราะปกติแล้วที่วัดจะมีลูกศิษย์ลูกหาเดินทางมาอย่างหนาแน่นทุกวัน ใครที่ต้องการจะประกอบพิธีใดๆ จะต้องมาจองคิว หรือเดินทางมาแต่ตั้งช่วงเช้ามืดเลยก็ได้ จะได้รวดเร็ว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook