"รูปแบบและธรรมเนียม" ในการพระราชทานเพลิงพระศพ

"รูปแบบและธรรมเนียม" ในการพระราชทานเพลิงพระศพ

"รูปแบบและธรรมเนียม" ในการพระราชทานเพลิงพระศพ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การพระราชทานเพลิงพระศพนั้น ถือว่าเป็นพระราชพิธีใหญ่ มีธรรมเนียมและวิธีการปฏิบัติที่ตรงตามตำราดังที่เจ้าพนักงานภูษามาลาสืบทอดกันมา แต่เมื่อมาถึงปัจจุบันการพระราชทานเพลิงพระศพนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเพิ่มมากขึ้น สืบเนื่องมาจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไปแต่ทางราชสำนักก็ยังคงรักษาราชประเพณีไว้ให้ได้มากที่สุด โดยในปัจจุบันนั้นในราชสำนักมีรูปแบบของการพระราชทานเพลิงพระศพอยู่ทั้งหมด 4 รูปแบบดังที่แอดมินจะขออธิบายตามรูปภาพต่อไปนี้

1.การพระราชทานเพลิงพระศพบนพระจิตกาธาน (กรณีพระศพอยู่ในพระโกศ) ในรูปแบบนี้เป็นราชประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงเก่า แต่ในปัจจุบันนี้ไม่พบว่ามีการพระราชทานเพลิงพระศพบนพระจิตกาธานอีกแล้ว เนื่องจากควบคุมเพลิงได้ยาก เจ้าพนักงานจะต้องคอยฉีดน้ำและควบคุมทิศทางลมอยู่ตลอดเวลา ประกอบกับปัจจุบันมีการนำเตาเผาสมัยใหม่เข้ามาใช้ทดแทน ดังภาพจะเห็นว่ามีเปลวเพลิงลุกไหม้อยู่ตลอดเวลาโดยเกิดจากการสุมเชื้อเพลิงจากด้านล่างของพระจิตกาธาน จากภาพคืองานถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระพระบรมราชินี ในปีพ.ศ.2528

2.การพระราชทานเพลิงพระศพบนพระจิตกาธาน (กรณีพระศพอยู่ในหีบ) ในรูปแบบนี้เป็นราชประเพณีที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จนถึงปี พ.ศ.2539 ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จย่า เนื่องจากพระบรมศพประดิษฐานอยู่ในหีบ ทางสำนักพระราชวังจึงทำการตั้งหีบพระบรมศพบนพระจิตกาธานแล้วนำพระบรมโกศ(โกศปล่าว)วางบนหีบพระบรมศพอีกชั้นหนึ่งดังภาพ ในคราวนั้นสมเด็จพระบรมฯ สมเด็จพระเทพฯ และสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ฯหลังจากที่ผู้มาร่วมงานกลับกันหมดแล้วทั้งสามพระองค์เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปยังพระเมรุมาศเพื่อควบคุมการถวายพระเพลิงด้วยพระองค์เอง

3.การพระราชทานเพลิงพระศพในเตาไฟฟ้า (กรณีพระศพอยู่ในหีบ) ในรูปแบบนี้เป็นราชพระประเพณีที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเช่นกัน จนถึงงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯซึ่งมีกระบวนการต่างๆคล้ายกับงานพระบรมศพสมเด็จย่า แต่จะแตกต่างกันตรงที่อัญเชิญหีบพระศพเข้าไปพระราชทานเพลิงในเตาเผาไฟฟ้าแทน จากภาพคือเตาไฟฟ้าสมัยใหม่ในงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ

4.การพระราชทานเพลิงพระศพในเตาไฟฟ้า (กรณีพระศพอยู่ในพระโกศ) ในรูปแบบนี้เป็นราชพระประเพณีที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนอีกเช่นกัน จนถึงปี พ.ศ.2555 ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จเจ้าฟ้าภคินีเธอฯที่พระศพของพระองค์ประดิษฐานอยู่ในพระโกศ แต่เมื่อถึงเวลาพระราชทานเพลิงพระศพจริงนั้นเจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระโกศลงจากพระจิตกาธานเข้าไปพระราชทานเพลิงยังเตาไฟฟ้าแทน ดังจะเห็นในภาพที่ขนาดของเตามีขนาดใหญ่และสูงกว่าปรกติ เพื่อที่จะให้พระโกศเข้าไปภายในเตาได้ ในงานพระศพครั้งนี้นับว่าทางราชสำนักได้ว่างเว้นการบรรจุพระศพพระราชวงศ์ชั้นสูงลงในพระโกศนานเกือบ30ปี แต่ยังพบว่าพระราชวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและหม่อมเจ้าบางพระองค์ยังคงประดิษฐานพระศพในพระโกศจนถึงปัจจุบัน

*จิตกาธาน คือ เชิงตะกอนหรือฐานที่ทำขึ้นสำหรับเผาศพ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook