การให้ “อภัยทาน” ยิ่งให้บุญยิ่งเพิ่ม เป็นทานขั้นสูงสุด!

การให้ “อภัยทาน” ยิ่งให้บุญยิ่งเพิ่ม เป็นทานขั้นสูงสุด!

การให้ “อภัยทาน” ยิ่งให้บุญยิ่งเพิ่ม เป็นทานขั้นสูงสุด!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การที่เราสามารถสร้างอภัยทานให้เกิดมีขึ้นในตัวได้นั้น ถือเป็นการชำระจิตใจของเราได้เป็นอย่างดี ทานที่เป็น “ทรัพย์ภายใน” ที่ทรงคุณค่าและสูงค่าที่สุดก็คือ อภัยทาน เพราะแม้เราจะได้ชื่อว่ากระทำธรรมทานสอนและแนะนำให้ผู้อื่นได้กลับตัวได้รู้ธรรมได้มากเพียงใดแม้จะให้มากโดยชักชวนคนไป ฟังธรรมสัก 100 ครั้ง หรือสั่งสอนคนให้กลับตัวเป็นคนดีได้มากถึง 100 คน ก็ได้บุญและอานิสงส์น้อยกว่าการให้ “อภัยทาน” 

แม้จะให้เพียงครั้งเดียวได้ การรู้จักให้อภัยทานนั้น หมายถึง การไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทร้ายต่อคนอื่น แม้แต่ผู้ที่เป็นศัตรูซึ่งจะได้บุญกุศลและอานิสงส์แรงที่สุดในการทำทานทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นทานประเภทที่เป็นทรัพย์ภายนอกหรือทรัพย์ภายในก็ตาม

เพราะการให้อภัยทานนั้นเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อลดละสิ่งที่เรียกว่า “โทสะกิเลส”และเป็นการเจริญ “พรหมวิหารธรรม” พรหมวิหารธรรมนั้นจะเป็นคุณธรรมที่เรียกได้ว่า ทำได้ยากในบุคคลธรรมดาด้วยการมีความเมตตาคือปรารถนาให้คนอื่นมีความสุข มีความกรุณาปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ มีความมุทิตา คือยินดีเมื่อผู้อื่นมีความสุขไม่อิจฉาริษยา และ ความมีอุเบกขารู้จักวางเฉยอย่างมีปัญญา

เมื่อผู้ที่สามารถฝึกจิตใจตนให้มีพรหมวิหารธรรมกำกับอยู่ก็จะสามารถให้อภัยทาน ได้สำเร็จสามารถละได้ซึ่งความพยาบาทไม่ต้องติดกรรมซึ่งกันและกัน ด้วยเหตุนี้การให้อภัยทานจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเย็นที่สุดแต่ก็ได้ผลประโยชน์สูงสุดด้วยเช่นกันนั่นคือก่อให้เกิด “อโหสิกรรมผล”

กรรมที่หมดโอกาสให้ผล เรียกว่า “อโหสิกรรม” คือไม่มีเหตุให้เกิดผลแห่งกรรมใดๆ ต่อกันอีก เป็นการสร้างกรรมดีไว้มากเสียจนกรรมเก่าตามไม่ทัน หรือเป็นกรรมที่เจ้ากรรมนายเวรหรือคนที่ได้รับความทุกข์เพราะตัวเราเป็นต้นเหตุแม้จะตั้งใจหรือไม่ตั้งก็ตาม ซึ่งเขาเหล่านั้นได้รับการชดใช้แล้วจึงไม่มีเหตุให้ต้องผูกมัดมาใช้เวรให้กรรมร่วมกันอีก เลิกแล้วต่อกันไปโดยปริยาย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook