เปิดตำนานรอยพระพุทธบาท "เขาคิชฌกูฏ" ด้วยจิตศรัทธาที่แรงกล้า!

เปิดตำนานรอยพระพุทธบาท "เขาคิชฌกูฏ" ด้วยจิตศรัทธาที่แรงกล้า!

เปิดตำนานรอยพระพุทธบาท "เขาคิชฌกูฏ" ด้วยจิตศรัทธาที่แรงกล้า!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากจะพูดถึงความศักดิ์สิทธิ์ของสถานที่ต่างๆ ที่ผู้คนนิยมไปสักการบูชากราบไหว้ หนึ่งในนั้นต้องมี "เขาคิชฌกูฎ" ที่จังหวัดจันทบุรี  ซึ่งยอด "เขาคิชฌกูฏ" ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ต.พลวง กิ่ง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี ที่จังหวัดจันทบุรี เป็นที่ประดิษฐานของรอยพระพุทธบาทที่อยู่สูงที่สุดในประเทศไทย สูงกว่า 1,050 เมตร จากระดับน้ำทะเล ถือว่าสูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ "รอยพระพุทธบาท" มีลักษณะเป็นรอยบนหินแผ่นใหญ่ มีรอยลึกประมาณ 2 เมตรเศษ กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร ค้นพบที่ยอดเขาพระบาทห่างจากที่ทำการอุทยานเขาคิชฌกูฏราว 4 กม. ซึ่งเป็นตำนานศักดิ์สิทธิ์อันเลื่องลือ ที่ใครๆต่อใครต้องบอกว่าครั้งหนึ่งในชีวิตต้องไปให้ได้!

ที่มาของชื่อเขาคิชฌกูฏนั้น ในตำนานศาสนาพุทธกล่าวไว้ว่า เขาคิชฌกูฎอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธเป็นยอดเขาที่มีแนวเขาล้อมโดยรอบ และเคยเป็นสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในอดีต เป็นความดำริของพระครูธรรมสรคุณซึ่งเป็นกรรมการและเป็นหลักในการพัฒนาพระบาทพลวงตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ได้เสนอใช้ชื่อ พระบาทเขาคิชฌกูฎ (พลวง) เหตุผลเพราะเมืองไทยเป็นเมืองพุทธที่พุทธศาสนาเจริญกว่าเมืองไหนๆ แม้กระทั่งประเทศอินเดีย

โดยสภาพภูมิประเทศคล้ายคลึงและบนยอดเขามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวกับพระพุทธองค์ คือ รอยพระพุทธบาท และหินลูกบาตร ที่ตั้งข้างรอยพระพุทธบาท อยู่ในลักษณะคล้ายลอยอยู่ริมลานพระพุทธบาทฝั่งตรงข้ามหินลูกบาตรมีรอยพระหัตถ์ไปรับหินก้อนนี้ และในหินก้อนนี้ ตรงข้ามกันรอยพระหัตถ์ มีรูปรอยเท้าใหญ่ (รอยเท้าพญามาร) ใต้พระบาทมีถ้ำตาฤาษี

จึงน่าจะใช้ชื่อนี้เป็นที่ระลึกถึงพระบรมศาสดา ในทุกๆ ปีจะมีพิธีเปิดและพิธีปิดการขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ พระครูธรรมสรคุณ ยังได้สอนว่า "เท้าของพระพุทธองค์ แม้ประดิษฐานอยู่แห่งหนตำบลใดก็ตาม ถ้าเรามีความเชื่อมั่น เคารพกราบไหว้ด้วยใจ อธิษฐานแล้ว ย่อมเกิดผลสำเร็จแก่ผู้นั้นทุกคนและเป็นสิริมงคลแก่ผู้นั้นตลอดไป"

แต่ต้องตั้งจิตอธิษฐานให้ดี ปรารถนาสิ่งใดที่ดีที่ชอบขอได้ตามความพอใจ กลับไปจะมีแต่ความปลอดภัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายและเทพยดาที่รักษารอยพระพุทธบาทแห่งนี้ จะอำนวยอวยพรให้ท่านได้รับแต่ความสุขตามสมบูรณ์พูลผล ร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป ซึ่งผู้อยากจะขึ้นไปสักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนยอดเขานั้นจะต้องมีจิตศรัทธาที่แรงกล้า เนื่องจากต้องเดินเท้าขึ้นสู่ยอดเขาอีกราว 3 กม. ท่ามกลางผู้คนที่มีศรัทธาเดียวกันมากมายที่เบียดเสียด เพราะการจะขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาท เขาคิชฌกูฏ จะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี หรือช่วงช่วงประมาณปลายเดือนมกราคม - เดือนมีนาคม

ซึ่งประเพณีสักการะรอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏในปีนี้ 2561 จะเริ่มวันที่ 17 มกราคม จนถึงวันที่ 17 มีนาคม 2561 โดยจะมีพิธีบวงสรวงเปิดงานในวันที่ 15 มกราคม 2561 และ บวงสรวงปิดงานวันที่ 17 มีนาคม 2561

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากพุทธศาสนิกชนมากมายจากหลายที่ต่างถิ่น จะพร้อมใจกันมาสักการบูชาแผ่นหินซึ่งเชื่อว่าประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จะได้อานิสงส์แรงกล้า เปรียบได้กับการได้เข้าเฝ้าองค์พระศาสดาถือเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ ในปัจจุบันได้มีการจัดเดินป่าขึ้นยอดเขาคิชฌกูฏ เพื่อไปสักการบูชารอยพระพุทธบาทจนกลายเป็นงานประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมานาน โดยมีความเชื่อว่าจะได้บุญสูง และเป็นการฝึกจิตใจให้มีความอดทน ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก...ในอดีตจะเป็นการเดินเท้าขึ้นสู่ยอดเขา แต่ในปัจจุบันมีรถบริการให้ประชาชน ได้เดินทางขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ได้สะดวกยิ่งขึ้น

 

ข้อมูลและภาพประกอบ เขาพระบาทพลวง จันทบุรี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook