กินอย่างไรให้อารมณ์ดี

กินอย่างไรให้อารมณ์ดี

กินอย่างไรให้อารมณ์ดี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ร่างกายมีผลต่ออารมณ์มาจาก 2 แหล่งของผลสะท้อนความรู้สึกคือ อาหารและสารเคมีในสมอง และปัจจัยที่ควบคุมได้ง่ายคือ อาหาร ซึ่งทางรายการขอนำเสนอ 12 วิธีการกินที่ทำให้อารมณ์ดี ดังนี้

กินอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ผักและผลไม้ที่มีเส้นใยมาก และมีรสไม่หวาน เป็นต้น เพราะร่างกายจะค่อยๆ ย่อยและดูดซึมช้าๆ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดคงที่ สม่ำเสมอ และหลังกินอาหารได้ 4-6 ชั่วโมง ร่างกายจะหลั่งสารฮอร์โมนบางชนิด เพื่อสลายไกลโคเจน ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตที่สะสมอยู่ในร่างกาย และเพิ่มการสร้างกลูโคสจากแหล่งอาหารอื่น เช่น ไขมัน

เลือกกินเฉพาะแป้งที่ไม่หวาน เพราะขนมปังและข้าวทุกชนิด คือแหล่งคาร์โบไฮเดรต ซึ่งมีส่วนในการกระตุ้นให้สมองหลั่งสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งช่วยให้เกิดความสงบ งานวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตต์ สหรัฐอเมริกา แนะนำให้กินขนมปังเพื่อต่อต้านอาการซึมเศร้า

ปรับเปลี่ยนเพื่ออารมณ์ดี การปรับเปลี่ยนประเภทของอาหารเพียง เล็กน้อยก็สามารถส่งผลให้อารมณ์ดีขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อ ควรกินอาหารให้ครบมื้อ แต่ถ้าไม่มีเวลากินอาหารเป็นมื้อ แบบกิจจะลักษณะ ควรเลือกของว่างเล็กๆ น้อยๆ เช่น ขนมปังโฮลวีทสักแผ่น หรือขนมปังกรอบธัญพืชสัก 2-3 แผ่น อย่าปล่อยให้ท้องว่างเด็ดขาด หรือว่าจะแบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อเล็กๆ แต่กินบ่อยๆ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำตาลในเลือดตก

กินปลาแซลมอนและแมคคาเรล ปลา 2 ประเภทนี้มีโอเมก้า 3 ซึ่งยืนยันด้วยผลวิจัยว่าส่งผลต่ออารมณ์ ช่วยป้องกันโรคหัวใจและมะเร็ง ที่ดีไปกว่านั้นแซลมอนยังเต็มไปด้วยเซเลเนียมที่เป็นสารสำคัญในการต่อต้านอนุมูลอิสระด้วย

ปรุงอาหารด้วยน้ำมันคาโนลาออยล์ (Canola Oil) จากดอกคาโนลาซึ่งกำลังได้รับความนิยมแทนน้ำมันพืชทั่วไป เนื่องจากเต็มไปด้วยวิตามินอี ซึ่งมีผลต่อระดับอารมณ์ แต่ควรกินได้ไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัม โดยใช้ทอดปลาแซลมอนหรือทำอาหารสุขภาพ

กินผักโขม ถั่วสด และถั่ว Chickpeas ที่มีแต่โปรตีนไขมันต่ำอยู่สูง ในผักใบสีเขียวเข้มมีโฟเลตสูง มีส่วนสำคัญในการสร้างเซโรโทนิน ซึ่งช่วยให้อารมณ์อยู่ในระดับปกติ นอกจากนั้นการกินถั่วยังได้รับวิตามินซีและไฟเบอร์ด้วย การลองผสมถั่ว หรือเพิ่มผักใบเขียวลงในทูน่าสลัด

กินพริกรสเผ็ด ในพริกมี ‘สารแคปไซซิน' ส่งสัญญาณหลอกให้สมองหลั่งสารแห่งความสุข เอนโดรฟิน แต่ควรระวังหากกินมากเกินไปอาจทำท้องไส้ปั่นป่วน

กินปวยเล้ง ผักอารมณ์ดีที่อุดมด้วย ‘กรดโฟลิก' (Folic acid) ที่ช่วยสร้างเซลล์ใหม่และช่วยให้เซลล์ใหม่แข็งแรงสมบูรณ์ การขาดนำไปสู่การลดการหลั่งของฮอร์โมนเซโรโทนิน โดยตรง ซึ่งก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้า การกินปวยเล้งสม่ำเสมอยังทำให้หลับง่าย หลับสนิทดีด้วย

กินกล้วยหอม กระตุ้นการสร้างสาร ‘ซีโรโทนิน' และอุดมไปด้วย ‘ทริปโทโฟน' ช่วยลดอารมณ์ซึมเศร้า คลายเครียด และไม่อ้วน

กินถั่วเหลือง ที่อุดมด้วยสารซีโรโทนิน เพิ่มความตื่นตัว กระฉับกระเฉง และ‘โดไทโรซิน' เพิ่มสมาธิในการทำกิจกรรมต่างๆ

กินเชอร์รี่เป็นของหวาน แพทย์ตะวันตกเรียกเชอร์รี่ว่าเป็น ‘แอสไพรินธรรมชาติ'เนื่องจากผลไม้ชนิดนี้มีสารที่ชื่อว่าแอนโธไซยานิน Anthocyanin) ซึ่งเป็นเม็ดสีในเชอร์รี่ ทำให้เชอร์รี่มีสีสันสวยสดใส และสรรพคุณสำคัญ คือ ทำให้คนกินมีความสุข งานวิจัยมหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐอเมริกา ชี้ว่าการกินเชอร์รี่ 20 ผล ช่วยลดอาการซึมเศร้าได้ดีกว่าการกินยา

กินและปรุงอาหารด้วยกระเทียม ที่อุดมด้วยสารเซเลเนียม (Selenium) สารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยทำให้อารมณ์ดีขึ้น นักวิจัยเยอรมันแนะว่า การกินกระเทียมวันละ 2 กลีบน่าจะเหมาะสม นอกจากนี้กระเทียมยังมีสรรพคุณช่วยลดระดับไขมันในเลือดและรักษาโรคความดันโลหิตสูง

12 วิธีที่กล่าวมาแล้วนั้นอาจจะช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่ปฏิบัติง่ายกว่าการกินคือการควบคุมจิตใจ ไม่ให้โกรธ วิตกกังวลหรือคิดไม่ดี ทำจิตใจให้สบาย ผ่อนคลายและมีสมาธิ มองโลกในแง่ดี เพียงเท่านี้ก็อารมณ์ดีแล้วล่ะครับ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook