คนไทยชอบนั่งเก้าอี้ตัวเดิม ? เปิดจิตวิทยาที่ซ่อนอยู่ในที่นั่งประจำ
คนไทยมีที่นั่งประจำที่คุ้นเคย ไม่ว่าจะห้องเรียน โต๊ะอาหาร จนไปถึงห้องน้ำห้องเดิม มันเป็นแบบนั้นจริงหรือเปล่า? แล้วอะไรคือคำตอบของพฤติกรรมที่ซ่อนอยู่
มีความเป็นไปได้แล้วอาจไม่ใช่เฉพาะคนไทย
หากถามว่าเป็นแบบนั้นจริงหรือเปล่า คำตอบคือมีความเป็นไปได้ หากตอบในฐานะคนไทยคนหนึ่งก็คงบอกว่าจริงเพราะเห็นมากับตา เช่น สมัยเรียนมหาวิทยาลัย การเรียนรวมที่มีคนจำนวนมากทุกคนกลับสามารถนั่งเก้าอี้ตัวเดิมได้หรือย้อนไปสมัยมัธยม เก้าอี้โรงอาหารทุกคนก็ล้วนแต่มีที่นั่งประจำ
สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะคนไทย แต่มนุษย์ทุกคนสามารถเกิดขึ้นได้ เป็นการสะท้อนถึงความหวงอาณาเขต ความมั่นใจของมนุษย์ เกี่ยวข้องกับ “จิตวิทยาสิ่งแวดล้อม (Environmental psychology) ”
จากอดีตที่เรามีพื้นที่ส่วนตัว พอยุคสมัยพัฒนาขึ้นเราต้องเข้าสังคม เก้าอี้ตัวเดิมที่นั่ง เป็นเสมือน อาณาเขต ของมนุษย์ ที่เวลาอยู่แล้วสบายใจและเป็นการบ่งบอกว่านี้คือพื้นที่ของฉัน
โต๊ะโรงอาหาร
เคยมีการทดลองตั้งกล้องแอบถ่ายในห้องเรียนของมหาวิทยาลัย โดยสังเกตจากเลือกที่นั่งของนักศึกษาใหม่ ผลออกมาตามที่ทุกคนน่าจะเดาได้ เมื่อเวลาผ่านไปนักศึกษาหลายคนเลือกที่นั่งเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า
หากมองในมุมทั่ว ๆ ไปมันเรื่องความเคยชิน สะดวกสบาย รู้สึกว่าปลอดภัย หลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนหาไปนั่งที่อื่น
หากจะหาข้อมูลมาอธิบายเพิ่ม Habit Formation กระบวนการสร้างนิสัย ระบุไว้ว่า เมื่อเราทำสิ่งใดซ้ำๆ สมองจะสร้างวงจรพฤติกรรมเพื่อให้เราประหยัดพลังงานทางจิต การนั่งที่เดิม ๆ จึงกลายเป็นนิสัย หรือการสร้างตัวตนในสังคมก็มีส่วน การนั่งที่เดิมช่วยให้เรารู้สึกเป็นตัวเอง เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มในตำแหน่งที่เราอยู่
การนั่งเก้าอี้ตัวเดิม เป็นรากฐานของมนุษย์ ไม่แปลกในที่มันส่งผลต่อพวกเราไม่ว่าจะวัยเรียนจนถึงวัยทำงานหรือการใช้ชีวิต เก้าอี้ออฟฟิศตัวเดิม โต๊ะตัวเดิม ห้องน้ำห้องเดิม เพราะมันสะดวกสบาย ทำให้เรารู้สึกสบายใจ พอใครแย่งไปก็อาจรู้สึกโกรธได้ ติดตามบทความอื่น ๆ ได้ที่