7 โรคและเชื้ออันตรายที่มาจากการกินดิบ

7 โรคและเชื้ออันตรายที่มาจากการกินดิบ

7 โรคและเชื้ออันตรายที่มาจากการกินดิบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การรับประทานอาหารดิบ เช่น เนื้อวัวดิบ จิ้มแจ่ว ซอยจุ๊ ลาบดิบ ก้อย ซอยห่าง แหนมดิบ ลาบดิบ จิ้นส้ม เสี่ยงต่อโรคและเชื้ออันตรายได้

7 โรคและเชื้ออันตรายที่มาจากการกินดิบ

1.โรคพยาธิตัวตืดวัว-ควาย

สาเหตุมาจากการเผลอรับประทานตัวอ่อนพยาธิ เมื่อตัวอ่อนพยาธิเข้าสู่ร่างกายแล้วจะเจริญเป็นตัวเต็มวัยในลำไส้ ผู้ป่วยจะมีอาการหิวบ่อย ปวดบริเวณลิ้นปี่ ไม่สบายท้อง อาหารไม่ย่อย คลื่นไส้ อาเจียน อาจมีอาการท้องร่วง ท้องผูก น้ำหนักตัวลดลง อีกทั้งปล้องสุกที่หลุดออกมา อาจเข้าไปไส้ติ่งและทำให้ไส้ติ่งอักเสบได้

2.โรคซาร์โคซิสติส

มีลักษณะคล้ายเม็ดข้าวสาร ในวัว-ควาย มีอัตราการเป็นโรคสูงมาก สำหรับในคน มีรายงานโดยพบซีสต์ในกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อกล่องเสียง หรือกล้ามเนื้ออื่น ๆ ผู้ที่เป็นโรคนี้มักมีอาการปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย บวมใต้ผิวหนัง ข้ออักเสบ และเม็ดโลหิตขาวอีโอซิโนฟิลสูง

3.โรคแอนแทรกซ์

เกิดอาการในระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยอาจมีอาการอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายท้องอย่างรุนแรง และอาจพัฒนาไปถึงการติดเชื้อในกระแสเลือด และรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้

4.เชื้อซาลโมเนลลา

เป็นแบคทีเรียที่มักมีการปนเปื้อนมากับอาหาร เป็นโรคระบบทางเดินอาหาร ซึ่งมักจะมีอาการอาเจียน ท้องร่วง

5.เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์

เป็นเชื้อที่สามารถพบได้ในทางเดินอาหารของ วัว และสัตว์อื่น ๆ เชื้อนี้อาจทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ มีอาการท้องเสีย ปวดท้อง มีไข้ บางครั้งอาจมีอาการถ่ายเป็นเลือดร่วมด้วย

6.เชื้ออีโคไล

เป็นเชื้อที่สร้างสารพิษทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร ผู้ที่ได้รับเชื้อนี้ไปประมาณ 1 – 2 วัน จะมีอาการปวดท้อง เป็นตะคริว และมีอาการท้องร่วง บางครั้งอาจมีเลือดปน

7.ไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า

หากนำเนื้อวัว-ควายที่ตายแบบไม่ทราบสาเหตุมารับประทาน หากวัวหรือควายมีสาเหตุการตายมาจากโรคพิษสุนัขบ้า ทั้งคนแล่เนื้อ คนทำอาหาร ไปจนถึงคนรับประทาน ล้วนมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อนี้ได้ ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิต เนื่องจากไม่มียารักษา

กรมควบคุมโรคได้แนะนำประชาชนว่า ควรซื้อเนื้อที่สะอาดได้มาตรฐาน แล้วควรรับประทานอาหารที่ สุก ร้อน สะอาด เพื่อความปลอดภัยในการรับประทาน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook