ถ้าคุณเป็นคนขี้ลืม แก้ได้ด้วย 3 วิธีนี้

ถ้าคุณเป็นคนขี้ลืม แก้ได้ด้วย 3 วิธีนี้

ถ้าคุณเป็นคนขี้ลืม แก้ได้ด้วย 3 วิธีนี้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อาการหลง ๆ ลืม ๆ แม้จะเกิดจากสาเหตุทั้งทางร่างกายและจิตใจ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมาจากเรื่องจิตใจเป็นหลัก นั่นคือ เรื่องของความเครียด ความวิตกกังวล และความฟุ้งซ่าน จะทำให้คนเราขาดสมาธิ ความคิดแตกกระจาย ส่วนสาเหตุทางร่างกาย มักจะเกิดจากการที่สมองเสื่อมจากวัยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติ เกิดจากการป่วยทางสมอง หรือแม้ไม่ใช่โรคที่สมองเสื่อมโดยตรง แต่เป็นโรคที่กระทบกระเทือนสมอง ทำให้เซลล์สมองตาย เช่น เกิดอุบัติเหตุมีเลือดคั่งในสมอง

ถึงแม้ว่าจะเอาเลือดออกไปแล้ว แต่ในช่วงที่เลือดกดสมอง จะทำให้สมองบางส่วนตายไป หรือนักมวยที่ชกบ่อย ๆ ในบั้นปลายของชีวิต สมองของคนเหล่านี้จะแย่ เพราะเซลล์สมองถูกกระทบกระเทือนอยู่ตลอด อีกพวกหนึ่ง คือ ผู้ที่ป่วยทางกายทั่วไปในภาวะที่ร่างกายคนเราไม่แข็งแรง ไม่ปกติ ช่วงนั้นผู้ป่วยจะจำรายละเอียดของเรื่องต่าง ๆ ไม่ค่อยได้ เพราะจิตใจมัวแต่กังวลอยู่กับความทุกข์ ความเจ็บปวด พลังในการจดจำจึงมีน้อย
วิธีแก้ไขอาการขี้ลืม

1. ไม่อ่านหนังสือ ฟังเพลง และดูโทรทัศน์พร้อมกัน

พฤติกรรมอย่างนี้ทำกันบ่อยและเป็นกันมาก โดยเฉพาะวัยรุ่นทั้งหลายที่เวลาท่องตำรับตำรา ดูหนังสือสอบ แทนที่จะไปหามุมสงบเงียบ ๆ อ่าน ก็จะชอบเปิดเพลงฟัง หรือเปิดโทรทัศน์ไปด้วย พอผู้ใหญ่ทักท้วงว่าเดี๋ยวไม่มีสมาธิ เขาก็จะบอกว่าสามารถแยกประสาทเป็นส่วน ๆ ได้

แต่โดยหลักการแล้ว ความจำของคนเราขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของการเอาใจใส่เป็นสำคัญ การที่เราอ่านหนังสือไปด้วย ฟังเพลงไปด้วย แน่นอนว่าเราได้ยินเสียงเพลง เห็นตัวหนังสือ แต่มันเป็นการแบ่งจิตใจ แบ่งสมาธิไป 2 ส่วน ซึ่งในความเป็นจริง เวลาที่คนเราอ่านหนังสือแล้วถึงตอนที่ต้องทำความเข้าใจอย่างเต็มที่ หรือทำแบบฝึกหัดแล้วกำลังสนุกจดจ่อกับโจทย์อย่างเต็มที่ เราจะไม่ได้ยินเสียงเพลง

ตรงนี้บางทีหลายคนอาจไม่รู้ตัวเอง แต่พอเราเริ่มคลายจากโจทย์หรือความสนใจเสียงเพลง จะผ่านเข้ามาให้ได้ยิน ทำให้รู้สึกผ่อนคลายสบายใจขึ้น ถ้าเข้าใจสิ่งนี้ แล้วจัดสรรเวลาให้เป็นเรื่องเป็นราว จะอ่านหนังสือหรือทำอะไรก็ทำสิ่งนั้นอย่างเดียว จิตใจจะมีสมาธิกับสิ่งที่ทำมากกว่า

2. ฝึกแก้ปัญหาเพื่อเป็นการลับสมอง

สมองก็เหมือนอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายที่ไม่มีการสร้างขึ้นมาใหม่ เสื่อมแล้วก็เสื่อมเลย แต่ถ้ามีการฝึกฝนอยู่เสมอ มันจะแก่ช้ากว่าร่างกาย ซึ่งโดยความรู้ในทางการแพทย์จะบอกว่า สมองของคนเรามีจำนวนเหลือเฟือ และเราก็ไม่ได้ใช้มันทั้งหมดหรอก อย่างเช่น ถ้ามีสมองอยู่ 100 ส่วน เราอาจจะใช้สมองแค่ 20 ส่วนเท่านั้นเอง หรือพอเราพัฒนาการใช้สมองเป็น 30-40 ส่วน และแม้สมองจะตายไปเหลือร้อยละ 60-70 คนเราก็ยังฉลาดขึ้นได้เรื่อย ๆ

เพราะเท่าที่มีอยู่เราจะใช้กันไม่หมด คนที่มีลักษณะหรืออุปนิสัยเรื่อย ๆ เฉื่อย ๆ ไม่ค่อยสนใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว มีสิทธิ์จะเป็นโรคสมองฝ่อได้มาก เพราะขบวนการของสมองไม่ได้ใช้ ไม่เหมือนกับคนที่ชอบอ่านหนังสือ ซึ่งจะมีผลต่อการทำงานของสมอง เมื่อใช้บ่อย (คิด-พูด-อ่าน) เซลล์สมองซึ่งมีเส้นใยเป็นขาเป็นแขนก็จะเชื่อมต่อกัน ยิ่งใช้บ่อยก็จะเชื่อมโยงกันเป็นโครงข่าย ทำให้คิดอะไรเป็นระบบ มีหลักการ มีเหตุผล แต่หากไม่ค่อยได้ใช้ เส้นใยเหล่านี้จะหดลง ไม่ต่อกัน ความจำก็จะไม่เป็นระบบ ดังนั้น เมื่อเกิดปัญหา แล้วรู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นประจำในชีวิตประจำวัน ก็นับเป็นการลับสมองที่ดีมากอย่างหนึ่ง

3. อาหารบำรุงสมอง และฝึกสมาธิช่วยให้ความจำดี

ใครที่อยากความจำดี สมองปลอดโปร่ง แจ่มใส ต้องพยายามดูแลเรื่องอาหารการกินให้ครบทั้ง 5 หมู่ กินให้ได้ทั้งสัดส่วนและคุณภาพ เพียงเท่านี้ก็มีผลต่อการบำรุงสมอง ไม่ต้องกินวิตามินเสริม (เพิ่มรายจ่ายโดยใช่เหตุ) ถึงเวลากินก็ต้องกิน กินแล้วค่อยทำงานต่อ ไม่ใช่ทำงานมาก คิดมาก ไม่ได้พักผ่อนนอนหลับ ใช้สมองอยู่ตลอดเวลา พอถึงคราวที่ต้องจำอะไรสำคัญ ๆ สมองจะล้า สิ่งเหล่านี้กระทบต่อความจำแน่นอน นอกนั้นก็เป็นเรื่องการออกกำลังกาย และอากาศที่ดี ซึ่งมีผลต่อสมองในระยะยาว

คนที่ฟุ้งซ่าน วิตกกังวลจน ลืมโน่นลืมนี่อยู่เสมอ อย่าเพิ่งท้อใจว่าทำไมเราถึงขี้ลืม อาการดังกล่าวแก้ไขได้ โดยเฉพาะเรื่องของสมาธิ ที่จะช่วยในเรื่องของความจำทุก ขั้นตอน ตั้งแต่การรับข้อมูลเข้า ซึ่งถ้ามีสมาธิดี มีความตั้งใจ จะฟังได้รายละเอียดมาก ขั้นตอนการจดจำ ถ้าหากไม่มีเรื่องอื่น ๆ มารบกวน การระลึกได้ก็สามารถจะใช้จิตของเราไปค้นหาความจำอันนั้นได้ตลอดทาง

การฝึกสมาธิ นอกจากจะช่วยในเรื่องของความจำแล้ว ยังช่วยในเรื่องอื่น ๆ อีกมากมายในชีวิตได้ด้วย มีดยิ่งลับยิ่งคม ฉันใด เช่นเดียวกัน ถ้าอยากให้สมองดี ความจำดี ก็ต้องหมั่นคิดวิเคราะห์ หัดแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเป็นประจำ ส่วนคนที่ชอบลืมบ่อย ๆ (แต่ยังไม่ถึงขั้นสมองฝ่อ) เทคนิควิธีการที่ควรใช้ คือ การจด ซึ่งจะช่วยในเรื่องความจำได้เช่นกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook