สานศิลป์ดิจิทัลในโดมยักษ์กลางกรุง

สานศิลป์ดิจิทัลในโดมยักษ์กลางกรุง

สานศิลป์ดิจิทัลในโดมยักษ์กลางกรุง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ณ บริเวณพื้นที่ว่างข้าง อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปรากฏ “โดมดิจิทัลอาร์ตขนาดใหญ่” โดยมีกิจกรรมศิลปะดิจิทัลการฉายภาพ 3 มิติเสมือนจริง ทั้งภายในและนอกตัวโดมและการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริงโดยศิลปินชื่อดังระดับโลก ซึ่งมีการลงนามความร่วมมือในการจัดตั้งโครงการศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล หรือฟ้าใหม่ ระหว่าง ศ.ดร.บุษกร บิณฑสันต์ คณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กับ รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล รองอธิการบดีด้านจัดการทรัพย์สินและนวัตกรรม จุฬาฯ และคุณศีลชัย เกียรติภาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) เมื่อเร็วๆนี้

564081

อ.จนัธ เที่ยงสุรินทร์ ผู้ช่วยคณบดีคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และผู้อำนวยการโครงการศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล หรือ ฟ้าใหม่ (FAAMAI Digital Arts Hub) เปิดเผยว่า โดมนี้เป็นศูนย์กลางการศึกษา เรียนรู้ และทดลองด้านศิลปกรรมดิจิทัลครั้งแรกในประเทศไทยและเอเชีย เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านศิลปกรรมดิจิทัลให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม สร้างบุคลากรที่มีศักยภาพ และสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับสังคมและชุมชน

จุดเด่นของงานศิลปะครั้งนี้คือการฉายภาพ 3 มิติเสมือนจริง ทั้งภายในและนอกตัวโดม โดยศิลปินที่มีชื่อเสียงชาวอเมริกันสองท่าน คือ Dylan Roscover และ Anita Kucharczyk จาก The Experiential Co. (TEC) ซึ่งเคยร่วมงานกับองค์กรอย่าง Adobe, NASA JPL, The Chicago Blackhawks, The Venetian, NBA และอื่นๆ อีกมากมาย

topupbox-c06

“ศิลปินทั้งคู่จะแสดงผลงานแบบ Live Audio Visual (สื่อโสตทัศน์) สดๆ ให้ชมกัน ซึ่งถือเป็นประสบการณ์ที่ค่อนข้างใหม่สำหรับเมืองไทย ทั้งนี้ ศิลปินทั้งสองท่านที่เราเชิญมา ก็ยังจะมาช่วยวางโครงสร้างงานด้าน Digital Art ให้กับทางฟ้าใหม่อีกด้วย”

อีกหนึ่งไฮไลต์ที่น่าสนใจคือการจำลองสภาพแวดล้อมเสมือนจริง จากศิลปินชื่อดังชาวไต้หวัน Hsin-Chien Huang ผู้ชนะรางวัล Venice Award for Best Virtual Reality Experience (For Interactive Content) ประจำปี 2018 นอกจากนี้ยังมีการแสดงผลงานของศิลปินไทย และนิสิตจากสาขานิทรรศการศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ อีกด้วย

s__21667940._1jpg

สำหรับผลที่คาดว่าจะได้รับจากกิจกรรมนี้ อ.จนัธ มองว่านี่เป็นก้าวที่สำคัญของการสร้างองค์ความรู้ให้เท่าทัน โลก จากศิลปินที่เป็นตัวจริงของงานด้านศิลปะดิจิทัลเพื่อพัฒนานิสิตนักศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ให้มากยิ่งขึ้น

“ประโยชน์ข้อแรกที่จะได้รับก็คือการได้ประเมินศักยภาพและความพร้อมของคณะศิลปกรรมศาสตร์ ต่องานด้าน Digital Art สองคือมอบพื้นที่ที่รวบรวมผลงานด้าน Digital Art ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ เป็นการมอบความสุขให้กับคนในชุมชน และสุดท้ายคือการสร้างความตื่นตัวในวงการศิลปะ รวมถึงสังคม ต่อแนวคิดใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์งานศิลปะ บ่มเพาะศิลปินรุ่นใหม่ เพราะเรามีศักยภาพเพียงพอ”

s__21667940._1jpg

โดมสำหรับแสดงงานขนาดยักษ์นี้ ใช้เทคนิคและการออกแบบโครงสร้างโดย Carsten Fulland สถาปนิกและผู้ออกแบบจาก บริษัท ZENDOME ผู้ผลิตโดมระดับโลกจากประเทศเยอรมนี พร้อมกับผู้เชี่ยวชาญของ บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด ทั้งนี้ ภายในของโดมสามารถรองรับได้เต็มที่ถึง 1,000 คน แต่เพื่ออรรถรสในการรับชมผลงาน จึงจำกัดในแต่ละรอบไว้ไม่เกิน 200 คน

ฟ้าใหม่ จะเปิดโดมต้อนรับผู้ที่สนใจและบุคคลทั่วไปเร็วๆ นี้ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ บางกิจกรรม เช่น VR ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า สำหรับผู้ที่สนใจ โปรดติดตามรายละเอียดและกำหนดการได้ที่ www.chula.ac.th

เรื่อง: ชาติสยาม หม่อมแก้ว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook