Work from Home (WFH) คืออะไร มีข้อดีอะไร จากการทำงานที่บ้านบ้าง?

Work from Home (WFH) คืออะไร มีข้อดีอะไร จากการทำงานที่บ้านบ้าง?

Work from Home (WFH) คืออะไร มีข้อดีอะไร จากการทำงานที่บ้านบ้าง?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Work from Home คืออะไร

Work from Home (WFH) คือ การทำงานที่บ้าน เป็นการทำงานที่พนักงานไม่ต้องเดินทาง (เช่นโดยรถประจำทางหรือรถยนต์ ฯลฯ) ไปยังสถานที่ทำงาน โดยใช้การสื่อสารโทรคมนาคมแทน แต่ก็ยังได้รับเงินเดือนเบี้ยเลี้ยงเหมือนกับการทำงานปกติ ซึ่งการสื่อสารโทรคมมีความโดดเด่นและใช้กันในช่วงทศวรรษ 1970 โดย ในศตวรรษที่ 21 มักจะใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคมมือถือเช่นแล็ปท็อปที่ติดตั้ง Wi-Fi หรือคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนเพื่อทำงานจากร้านกาแฟ คนอื่น ๆ อาจใช้คอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปและโทรศัพท์บ้านที่บ้าน จากการสำรวจของ Reuters ประมาณว่า "หนึ่งในห้าของคนงานทั่วโลกโดยเฉพาะพนักงานในตะวันออกกลางละตินอเมริกาและเอเชียสื่อสารทางไกลบ่อยครั้งและทำงานเกือบ 10 เปอร์เซ็นต์จากบ้านทุกวัน"

ข้อดีของการทำงานที่บ้านจากผลการสำรวจ

  • ไม่เสียเวลาในการเดินทาง จากผลการวิจัยพบว่าพนักงานสามารถเอาเวลาที่ใช้ในการเดินทางประมาณ 1-2 ชั่วโมงมาใช้ในการทำงานที่บ้านได้ ซึ่งทำให้ได้งานมากกว่า
  • ทำให้เกิดผลผลิตในการทำงานมากขึ้นกว่าเดิม 10-20% เมื่อเทียบกับวันที่เดินทางมาทำงานที่บริษัท
  • ตัวพนักงานเองยืนยันว่าวันที่ได้ทำงานจากที่บ้านนั้น ทำให้เขารู้สึกทุ่มเทให้กับงาน และมีสมาธิในการทำงานมากกว่ามาทำงานที่บริษัท และทำให้ทำงานได้ยาวนานกว่านั่งทำงานที่บริษัท
  • 78% ของผู้จัดการเชื่อว่า การให้พนักงานทำงานที่บ้านได้นั้น มีผลทำให้พนักงานรู้สึกถึงการสร้างความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้มากขึ้น และทำให้สามารถรักษาพนักงานให้อยู่ทำงานกับองค์กรได้ดีกว่า
  • พนักงาน 36% ยอมที่จะให้ขึ้นเงินเดือนน้อยหน่อย เพื่อแลกกับการที่ตนเองได้มีโอกาสทำงานที่บ้านได้บ้าง
  • พนักงาน 25% รู้สึกว่าการที่ได้ทำงานที่บ้านนั้นทำให้ความเครียดลดลงไปได้มาก
  • 80% ชอบนโยบายนี้ เพราะเป็นการทำให้ Work-Life Balance ดีขึ้น

Work from Home การทำงานจากที่บ้าน เกิดมาแล้วกว่า 300 ปี

Work from Home การทำงานจากที่บ้าน เกิดขึ้นแล้วที่อังกฤษ เมื่อ 300 กว่าปีก่อน เคยเปลี่ยนชีวิตนักศึกษาคนหนึ่ง ให้กลายเป็นบุคคลสำคัญระดับโลก นั่นคือ “เซอร์ ไอแซค นิวตัน” ย้อนไปเมื่อปี 1665 ไอแซค นิวตัน ยังเป็นเพียงนักศึกษาวัย 20 ต้นๆ คนหนึ่งของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึ่งในขณะนั้น ได้เกิดกาฬโรคระบาดครั้งใหญ่ ส่งผลให้ประชาชนใช้วิธี “หลีกเลี่ยงพื้นที่สาธารณะ” (Social Distancing) หรือกักตัวเองอยู่ในบ้าน เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ก็สั่งให้นักศึกษาทุกคนกลับไปเรียนหนังสือเองที่บ้าน โดยนิวตันได้กลับไปที่ Woolsthorpe บ้านพักของครอบครัว ห่างจากเคมบริดจ์ไปทางตะวันตกเฉียงเหนือราว 60 ไมล์

และช่วง Work from Home ของเขา ก็ทำให้เกิดช่วงเวลาที่เรียกว่า “ปีแห่งความพิศวง” ที่นิวตันประสบความสำเร็จทางวิชาการ โดยไม่มีอาจารย์คอยสอนแต่อย่างใด

ความสำเร็จประการแรกของเขาก็ได้แก่ การแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่เขาเริ่มทำตั้งแต่อยู่ที่เคมบริดจ์ต่อ จนกระทั่งผลงานที่เขาเขียนชิ้นนี้กลายเป็นแคลคูลัสในยุคแรก ตามด้วยการนำปรึซึมมาทดลองในห้องนอน โดยเจาะรูบานเกล็ดหน้าต่าง เพื่อให้ลำแสงเล็กๆ ลอดผ่านเข้ามา ทำให้เขาคิดทฤษฎีเกี่ยวกับแสงและสายตาได้ในที่สุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook