ปัญหาโลกแตก! "ถูกสุนัขจรจัดกัด" ใครรับผิดชอบ?

ปัญหาโลกแตก! "ถูกสุนัขจรจัดกัด" ใครรับผิดชอบ?

ปัญหาโลกแตก! "ถูกสุนัขจรจัดกัด" ใครรับผิดชอบ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในกรณีที่สุนัขจรจัดหรือสุนัขไม่มีเจ้าของ ไปกัดหรือทำร้ายผู้อื่นเช่นนี้ แล้วใครกันล่ะจะเป็นผู้ที่รับผิดชอบ? ซึ่งในเรื่องนี้ก็ต้องมาดูตามข้อกฎหมายดังนี้ คือสำหรับพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 มาตรา 26 ระบุว่า ในกรณีที่พบสัตว์ถูกปล่อย ละทิ้ง หรือไม่มีเจ้าของ

ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการ จัดสวัสดิภาพสัตว์ให้แก่สัตว์ตามความเหมาะสม ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายฉบับนี้ ก็ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ทารุณกรรมสัตว์ พ.ศ. 2557

โดยข้อ 3 กำหนดแต่งตั้งให้อธิบดีกรมปศุสัตว์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ และผู้ดำรงตำแหน่งในหน่วยงานของกรมปศุสัตว์ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม พ.ร.บ.ทารุณกรรมสัตว์ ประกอบด้วย 12 หน่วยงานในกรมปศุสัตว์ และให้ตั้งผู้อำนวยการของหน่วยงานตลอดจนถึงเจ้าพนักงานนั้น เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย

ดังนั้นสำหรับหน่วยงานราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ในการดูแลควบคุมสัตว์ในที่สาธารณะจะต้องถือปฏิบัติ เพราะถ้าเกิดความเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามหน้าที่นั้น หน่วยงานราชการและพนักงานเจ้าหน้าที่ อาจจะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้น

ทั้งนี้เจ้าพนักงานท้องถิ่นยังมีหน้าที่จับสุนัขจรจัด เพื่อป้องกันโรคและรักษาสภาวะความเป็นอยู่ ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่น เมื่อละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535

รวมถึงพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ.2535 ทำให้สุนัขไปกัดหรือทำร้ายผู้อื่น ผลแห่งการละเมิดดังกล่าวจึงเป็นผลโดยตรง จากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ องค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครอง จะต้องชดใช้ค่าเสียหาย เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียหายจากการขาดรายได้ และค่าเสียหายจากการเจ็บป่วยทุกข์ทรมาน ให้แก่ผู้ถูกกระทำละเมิด นั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook