"โดนข่มขืน ควรทำอย่างไร" ความทุกข์ใจที่ไม่กล้าเอ่ยปาก

"โดนข่มขืน ควรทำอย่างไร" ความทุกข์ใจที่ไม่กล้าเอ่ยปาก

"โดนข่มขืน ควรทำอย่างไร" ความทุกข์ใจที่ไม่กล้าเอ่ยปาก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เพียงแค่ได้ยินข่าวข่มขืน ผู้ได้ยินก็รู้สึกสะเทือนใจเป็นอย่างมาก และหากผู้ที่ผ่านความโชคร้ายนั้นมาด้วยตนเอง จะยิ่งสร้างความบอบช้ำทั้งทางร่างกายและจิตใจ ปัจจุบันภัยข่มขืนใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด เพราะเหตุการณ์นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา ไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับเวลาหรือสถานที่สุ่มเสี่ยงเท่านั้น

อย่างไรก็ตามไม่มีใครต้องการให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นไม่ว่าจะกับใครก็ตาม แต่หากต้องเผชิญกับความโชคร้ายนั้นไม่ว่าจะเป็นตัวคุณเองหรือคนใกล้ตัว การรู้วิธีรับมือหลังเกิดเหตุการณ์นั้นนอกจากจะทำให้เราสามารถจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีสติแล้ว เรายังอาจเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ที่ตกอยู่ในความบอบช้ำเช่นเดียวกับเราได้อีกด้วย

โดนข่มขืน ควรทำอย่างไร

istock-820376276

ตั้งสติให้ดีก่อน

เหตุการณ์แบบนี้ สติเป็นเรื่องที่สำคัญ ไม่ผิดที่เราจะรู้สึกสติแตก แต่การรวบรวมสติให้ได้ควรเป็นสิ่งแรกที่เราควรทำ เพราะว่าเราควรที่จะจดจำเหตุการณ์ สถานที่ และหน้าตาของคนร้ายให้ได้ รวมไปถึงจดจำว่าช่วงที่เกิดเหตุการณ์มีใครที่สามารถเป็นพยานให้เราได้

ป้องกันตัวเองไว้ก่อน

ควรจะป้องกันการตั้งครรภ์ โดยใช้ยาคุมกำเนิดฉุกเฉินทันทีหรือภายใน 120 ชม. สามารถซื้อยาคุมฉุกเฉินตามร้านขายยาทั่วไป เรื่องนี้ควรให้ความสำคัญมากๆ เพราะยิ่งกินเร็วเท่าไหร่จะทำให้การป้องกันนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ตรวจร่างกายอย่างเร่งด่วนเพื่อดำเนินคดี

ถึงตามหลักความเป็นจริงนั้นเมื่อผ่านเหตุการณ์แย่ๆ มา คนเราก็อยากที่จะชำระล้างร่างกายให้รู้สึกสะอาดและกำจัดร่องรอยของเหตุการณ์นั้นออกไป แต่ความจริง ยังไม่ควรอาบน้ำหรือชำระล้างร่างกายก่อน แต่ควรรีบไปให้แพทย์ตรวจร่างกายอย่างเร่งด่วน เพื่อให้สามารถเก็บหลักฐานได้ชัดเจน

บอกผู้ปกครองหรือคนที่ไว้ใจได้เพื่อแจ้งความเรียกร้องสิทธิ

สิ่งที่ทำให้เหยื่อของเหตุการณ์นี้ไม่กล้าออกมาพูดก็คือ ความอับอาย แต่ในความจริงแล้วเราอยากจะบอกว่า การที่คุณเป็นผู้ถูกกระทำ ไม่ได้มีความหมายว่าคุณเป็นฝ่ายผิด การออกมาเรียกร้องสิทธิตัวเองนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และอาจจะเป็นฮีโร่สำหรับคนที่เจอเหตุการณ์แบบนี้ และสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิเหมือนกับเราก็ได้

ตรวจเลือด

เรื่องการตรวจเลือดนั้นถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากๆ เพราะเราไม่ใช่เราจะโชคดีที่ฝั่งที่มาทำร้ายจะใช้อุปกรณ์ป้องกัน การตรวจเลือดนั้นสามารถตรวจได้ภายใน 3-7 วัน แต่สามารถทานยา PEP ที่ต้านเชื้อ HIV เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด คนไข้ที่ต้องสงสัยว่าได้รับเชื้อจะต้องรับประทานยาต้านไวรัส (PEP) อย่าง เร็วที่สุด ภายในเวลา 72 ชั่วโมง และจะต้องรับประทานยาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 28 วัน ภายใต้การดูแล และนำของแพทย์

การแจ้งความร้องทุกข์ แบ่งเป็น 2 กรณี

กรณีที่การกระทำนั้นสามารถยอมความกันได้

จะต้องแจ้งความร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน ถ้าไม่ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน ก็ต้องฟ้องร้องคดีต่อศาลภายใน 3 เดือน ถ้าหากไม่ปฏิบัติตาม ถือว่าผู้ถูกกระทำไม่ประสงค์จะให้ผู้กระทำรับผิด และคดีขาดอายุความไม่สามารถฟ้องทางอาญาได้

กรณีที่การกระทำนั้นไม่อาจยอมความกันได้

ไม่จำเป็นต้องแจ้งความร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน กรณีที่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี พ่อแม่ผู้ปกครองต้องเป็นผู้พาเด็กไปแจ้งความและทางตำรวจ จะต้องนัดนักจิตวิทยาและอัยการเพื่อสอบปากคำอีกครั้งหนึ่ง ตาม พรบ.สืบพยานเด็ก (ป.วิอาญา พ.ศ.2542)

มาตรา 277 ถ้าการกระทำที่ชายกระทำกับเด็กหญิงอายุมากกว่า 13 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี โดยหญิงนั้นยินยอม และภายหลังศาลอนุญาตให้ชายและหญิงนั้นสมรสกัน ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ ถ้าศาลอนุญาตให้สมรสระหว่างผู้ที่กระทำผิดกำลังรับโทษความผิดนั้นอยู่ ให้ศาลปล่อยตัวผู้กระทำผิดนั้น

ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือผู้ที่ถูกกระทำความรุนแรงทั้งภาครัฐและเอกชนที่พร้อมให้การปรึกษาและช่วยแก้ไขปัญหารวมถึงกระบวนการทางกฎหมายไปพร้อมๆกันและรวมถึงการดูแลความปลอดภัยทั้งร่างกายและจิตใจ เช่น สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทุกจังหวัด หรือ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม OSCC โทร.1300 ตลอด 24 ชม.

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook