อินกับบุพเพสันนิวาส 5 หนังสือน่าอ่านเกี่ยวกับอยุธยา

อินกับบุพเพสันนิวาส 5 หนังสือน่าอ่านเกี่ยวกับอยุธยา

อินกับบุพเพสันนิวาส 5 หนังสือน่าอ่านเกี่ยวกับอยุธยา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

178130

กระแสละคร บุพเพสันนิวาส ดูจะไม่ลดความแรงได้โดยง่าย นอกเหนือจากจะทำให้ ผู้คนลุกขึ้นมาแต่งชุดไทยเพื่อไปเที่ยวพระนครกรุงศรีอยุธยา และ ลพบุรีแล้ว นวนิยาย “บุพเพสันนิวาส” ของ “รอมแพง” (นามปากกาของจันทร์ยวีร์ สมปรีดา) ก็ขึ้นแท่นเป็นหนังสือขายดีของทุกบุ๊คสโตร์ ไปแล้ว

นอกจากนี้ยังทำให้หนังสือประวัติศาสตร์อีกหลายเล่ม ได้รับความสนใจจากนักอ่านไม่ใช่น้อย ทำให้วงการหนังสือที่ว่ากันว่าอยู่ในช่วงขาลง กลับมาคึกคักได้ไม่ใช่น้อยเมื่อเป็นเช่นนี้ Tonkit360 ขอแนะนำหนังสือที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่น่าสนใจให้คุณผู้อ่านที่ต้องการทราบรายละเอียดอย่างต่อเนื่องหลังจากอินเข้าไปกับละครเรื่องบุพเพสันนิวาส

จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์

เล่มแรกที่ขอแนะนำเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ของ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส เป็นบันทึกในราวปี พุทธศักราช 2231 ที่ลา ลูแบร์ ได้บรรยายถึงกรุงศรีอยุธยาไว้อย่างกว้างขวางทั้งด้านเศรษฐกิจ การกินอยู่ การแต่งงาน ขนบธรรมเนียม ประเพณีในสมัยนั้น แต่มุมมองของลา ลูแบร์ นั้นอาจจะไม่ได้บันทึกประวัติศาสตร์ไว้ได้ทั้งหมดเพราะลา ลูแบร์ นั้นอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเพียงแค่ 3 เดือน 6 วันเท่านั้น ในบันทึกบทที่ 8 ที่ลา ลูแบร์ เขียนถึงการอบรมของชาวสยามนั้นระบุไว้ว่า “ความสุภาพเรียบร้อยเป็นสิ่งจำเป็นแก่ชาวสยาม”

 1

เรื่องเล่าและตำนาน อยุธยา อาณาจักรสยามสมัยรุ่งเรือง

เล่มที่สอง อาจจะไม่ได้เกี่ยวโดยตรงกับสมัยสมเด็จพระนารายณ์ดังเช่นเล่มแรก แต่เป็นการเล่าที่มาที่ไปของอาณาจักรอยุธยาตั้งแต่แรกเริ่ม ยุคสมัยที่อาณาจักรอยุธยานั้นรุ่งเรือง และการผลัดแผ่นดินในช่วง 417 ปีกับ 5 ราชวงศ์ อันประกอบไปด้วย ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ปราสาททอง และ ราชวงศ์บ้านพลูหลวง อันเป็นราชวงศ์สุดท้ายก่อนจะเสียกรุงศรีอยุธยาในปีพุทธศักราช 2310

ในภาคที่สามของหนังสือเล่มนี้ เขียนถึงราชวงศ์บ้านพลูหลวงเอาไว้ว่า “บ้านพลูหลวงเมื่อขุนนางมาเป็นเจ้า” ชื่อราชวงศ์บ้านพลูหลวงนี้ มาจากหมู่บ้านพลูหลวง แขวงเมืองสุพรรณบุรีอันเป็นถิ่นกำเนิดของสมเด็จพระเพทราชา ราชวงศ์บ้านพลูหลวงมีพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์ทั้งสิ้น 6 พระองค์ คือสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ. 2231-2246) สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) (พ.ศ. 2246-2251) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ (พ.ศ. 2251-2301) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ. 2275-2301) สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (12 เดือน) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) ( พ.ศ. 2301-2310)

 2

ผู้หญิงอยุธยา

เล่มที่สามอาจเป็นเพียงเครื่องเคียงประวัติศาสตร์ แต่เนื้อหาภายในเล่มก็น่าสนใจไม่น้อย เรื่องราวของสตรีในราชสำนัก ที่ความสำคัญต่อประวัติศาสตร์อยุธยา และผู้หญิงที่เคยถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ของอยุธยา ผู้เขียน “บินหลา สันกาลาคีรี” ให้คำจำกัดความหนังสือเล่มนี้เอาไว้ว่า “สิ่งที่ซุกซ่อนทางประวัติศาสตร์ความเป็นแม่ ความเป็นเมีย และความเป็นคน”

ในบทที่ 36 ซึ่งเขียนถึง “กรมหลวงโยธาเทพ” พระราชธิดาองค์เดียวของสมเด็จพระนารายณ์ ที่ภายหลังเมื่อพระเพทราชายึดอำนาจจากสมเด็จพระนารายณ์ ได้ทรงอภิเษกกับ “กรมหลวงโยธาเทพ” และยกให้เป็นมเหสีฝ่ายซ้าย ซึ่งพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาระบุเอาไว้ว่า หลังจากพระเพทราชา อภิเษกกับ กรมหลวงโยธาเทพ เมื่อขึ้นหอวันแรก กรมหลวงโยธาเทพนั่งเปลือยพระแสงพาดพระโสณีรอคอย

 3

อยุธยาที่ไม่คุ้นเคย

หนังสือที่รวบรวมโบราณสถานในอยุธยาที่เราอาจจะยังไม่คุ้นเคย หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนจึงได้รวบรวมโบราณสถานภายในพระนครศรีอยุธยาจำนวน 59 แห่ง มาจัดรวมไว้เป็นหมวดหมู่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรอยุธยา อาทิ พระตำหนักสวนกระต่าย ท้องสนามหน้าจักรวรรดิ หอพระมณเฑียรธรรม พระคลังสุพรัตและพระคลังพิเศษ ศาลาสารบัญชีและประตูดิน ศาลาลูกขุน ประตูมงคลสุนทร ประตูมหาโภคราช ท้ายจระนำพระมหาวิหาร วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดระฆังหรือวัดวรโพธิ์ ตะแลงแกง ฯลฯ

 4

จินดามณี

ความแรงของละครบุพเพสันนิวาส ทำให้หนังสือจินดามณี ฉบับพระโหราธิบดี กรุงศรีอยุธยา ที่ถูกบันทึกว่าเป็นแบบเรียนเล่มแรกของสยาม ได้ถูกนำมาพิมพ์ใหม่โดยกรมศิลปากรและจำหน่ายในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 46 ปรากฏว่าขายหมดภายในเวลาหนึ่งชั่วโมง นับเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจยิ่ง และ น่ายินดีในเวลาเดียวกัน

เพราะหนังสือจินดามณี ฉบับพระโหราธิบดีนั้น ถือว่าเป็นแบบเรียนภาษาไทยเล่มแรก และมีการแต่งเพิ่มเติมในเวลาต่อมา ซึ่งก็ยังคงใช้ชื่อว่า “จินดามณี” เพียงแต่จะระบุว่าอยู่ในยุคสมัยใด ภายในหนังสือนั้นจะมีรายละเอียด การใช้สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ การผันอักษร อักษรศัพท์ อักษรเลข การสะกดการันต์ การแต่งคำประพันธ์ ชนิดต่าง ๆ

5

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook