สุดยอดความภาคภูมิใจ 4 ความในใจ จาก "ผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล"

สุดยอดความภาคภูมิใจ 4 ความในใจ จาก "ผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล"

สุดยอดความภาคภูมิใจ 4 ความในใจ จาก "ผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

584317

เนื่องในวันที่ 5 ธันวาคม 2560 วันพ่อแห่งชาติของประชาชนชาวไทยทุกคน วันนี้ทาง Sanook! Campus เลยนำบทสัมภาษณ์ของนักเรียน ผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล มาให้ทุกท่านได้ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ ๙ และเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้เยาวชนไทยมีแรงผลักดันในการมุ่งมั่นศึกษา ตั้งใจเรียน เพื่อที่จะได้เป็นอนาคตของชาติต่อไป 

_mg_1197

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรพรรณ เรืองผกา ผู้รับทุนพระราชทาน อานันทมหิดล แผนกเกษตรศาสตร์ ปี 2541 อาจารย์ประจำอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยการจัดการ

Q:ความรู้สึกที่ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล

A:รู้สึกเป็นบุญอย่างมากที่ได้รับพระราชทาน เพราะเป็นสิ่งที่มีเกียรติยศสูงสุดของตัวเอง และครอบครัว

Q:ได้รับการคัดเลือกเพราะอะไร

A:คัดเลือกจากคุณสมบัตินักศึกษา 2 ประการ ประการแรก เรียนได้เกียรตินิยมอันดับ 1 คุณสมบัติที่สอง คือเรื่องคุณธรรมได้รับการติดต่อสัมภาษณ์ชิงทุนพระราชทาน พอได้ทุน ก็ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

Q:พระองค์ทรงได้รับสั่งอะไรเป็นพิเศษ

A:ทรงมีพระราชดำรัสว่า “เราจำหนูได้ หนูเป็นอาจารย์ใช่ไหม ขอให้เป็นอาจารย์ต่อไปแล้วนำเอาความรู้ที่เราส่งหนูไปเรียน เอามาสอนต่อให้กับนิสิต นักศึกษา ให้มีความรู้และพัฒนาต่อไป” เป็นที่มาของการได้เป็นอาจารย์จนถึงทุกวันนี้

Q:นำคำสอนของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มาใช้ในชีวิตอย่างไร

A:ตั้งแต่เด็กได้นำแบบอย่างของพระองค์ท่านมาใช้ในเรื่องของความประหยัด เช่นการบีบยาสีฟัน การใช้ดินสอ และหลักการเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาในการทำระบบสารสนเทศ

_mg_1204

ดร. เจน ชาญณรงค์ ผู้รับทุนพระราชทาน อานันทมหิดล แผนกวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ปี 2532

Q:ความรู้สึกที่ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล

A:เป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างมาก และได้เป็นการตอบแทนพระคุณพ่อแม่ เพราะทำให้ท่านภาคภูมิใจในด้านการเรียน

Q:พระองค์ทรงได้รับสั่งอะไรเป็นพิเศษ

A:เน้นในเรื่องของการกลับประเทศไทย นำความรู้ที่ได้รับมาช่วยพัฒนาประเทศไทย

Q:นำคำสอนของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มาใช้ในชีวิตอย่างไร

A:ตัวอย่างในชีวิตที่ได้ประสบพบเจอมาคือ การที่บางครั้งในชีวิตเราจะพบคนไม่ดี  ชักชวนให้ทำในสิ่งที่ไม่ดี และพึงนึกถึงเสมอว่า เราเป็นนักเรียนทุน เราทำสิ่งไม่ดีไม่ได้มันไม่ควร เราควรดึงตัวเองกลับมาในจุดของเรา ไม่คล้อยตามคนที่คอยดึงเราไปในจุดที่ไม่ดี ภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเรามันฝังอยู่ในใจว่าอะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ สติเท่านั้นที่คอยเตือนตัวเราตลอดว่าให้ทำความดี

_mg_1191

นาย ปัญญา แซ่ลิ้ม ผู้รับทุนพระราชทาน อานันทมหิดล แผนกเกษตรศาสตร์ ปี 2548

Q:ความรู้สึกที่ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล

A:รู้สึกดีใจมาก เป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล เป็นพระมหากรุณาธิคุณสูงที่สุดสำหรับคนไทยที่สามารถจะทำได้ และ ตื้นตัน และได้รับพระเมตตาจากพระองค์ท่านอย่างมากมาย

Q:พระองค์ทรงได้รับสั่งอะไรเป็นพิเศษ

A:พระองค์ท่านมีพระราชดำรัสว่า อย่าเรียนอย่างเดียว ขอให้ใช้ชีวิต ศึกษาดูชีวิตของผู้คนที่นั่น ทำกิจกรรมบ้าง ต้องเรียนควบคู่กับการทำกิจกรรม

Q:สานต่อจากการไปเรียนอย่างไร

A:ความตั้งใจเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือการนำความรู้ไปใช้โดยตรง ตัวผมเชี่ยวชาญเรื่องการเพาะพันธุ์ปลาและสัตว์น้ำ ก็นำความรู้ไปเพาะพันธุ์ปลาที่สามารถเป็นประโยชน์ต่อประเทศ นำไปเลี้ยง ไปเพาะ  ใช้ระยะเวลาเลี้ยงสั้นลง และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในโครงการต่างๆ ส่วนที่ 2 คือนำความรู้ไปถ่ายทอดกับนักศึกษาตามมหาวิทยาลัยต่างๆ

Q:นำคำสอนของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มาใช้ในชีวิตอย่างไร

A:ความเพียรพยายามมาเป็นหลักนำในการใช้ชีวิต จากการอ่าน พระมหาชนก ในสมัยเด็ก เราจะทำสิ่งใดให้ลุล่วงต้องมีความเพียร ความอดทนเป็นที่ตั้ง เพราะไม่อย่างนั้นเราจะล้มเหลวต่ออุปสรรคที่เข้ามา คำสอนของในหลวงที่จำขึ้นใจ คือ การที่ท่านคอยมีคำสอนในทุกๆ ที่ที่ท่านเสด็จไป และการที่ท่านลงมือทำให้เราเห็น ทรงเน้นย้ำในการทำเพื่อส่วนรวม ประโยชน์ของประเทศเป็นที่ตั้ง ก่อนจะนึกถึงประโยชน์ส่วนตน

_mg_1173

ดร.กฤชชลัช ฐิติกมล ผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกธรรมศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่ สหรัฐอเมริกา ปี 2536

Q:ความรู้สึกที่ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล

A:รู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการศึกษาต่อ ที่พระองค์พระราชทานให้ โดยเปิดโอกาสให้คนเก่งได้มีโอกาสได้ไปศึกษาต่อในสาขาที่ตัวเองชอบและถนัด

Q:พระองค์ทรงได้รับสั่งอะไรเป็นพิเศษ

A:มีพระราชดำรัสในเรื่องแนวทาง วิธีการในการปฏิบัติตัว ประโยชน์ในการไปเรียน และได้มีโอกาสไปศึกษาคนเก่งในต่างประเทศและเอากลับมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์กับประเทศ

Q:สานต่อจากการไปเรียนอย่างไร

A:รับเอาหลายๆ เทคโนโลยี และการบริหารจัดการมาใช้  และการมองแบบองค์รวมในหลายๆ ด้าน เพื่อหาและค้นคว้าสิ่งที่เหมาะสมสำหรับประเทศที่สุด นำความรู้ที่ได้มาเผยแพร่ให้คนอื่นๆ ได้รับรู้และนำไปประยุกต์ใช้

Q:นำคำสอนของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มาใช้ในชีวิตอย่างไร

A:สิ่งหนึ่งที่ได้เห็นคือการทรงงานหนักของพระองค์ท่าน กว่าจะทำให้โครงการแต่ละโครงการสำเร็จต้องใช้ระยะเวลานาน ซึ่งทำให้ได้รู้ถึงความเพียรพยายามของพระองค์ท่าน จึงนำความเพียรพยายาม อุตสาหะ มาก่อให้เกิดประโยชน์ และเชื่อมั่นในความเพียรและทำสิ่งที่สำคัญได้สำเร็จ

ซึ่งทั้ง 4 ท่านนี้ได้กลายเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศชาติให้พัฒนาต่อไป ซึ่งเชื่อเลยว่า บทสัมภาษณ์ทั้งหมดนี้ จะสร้างแรงผลักดัน ทำให้ น้องๆ เด็กๆ เยาวชนไทยมีพลังในการศึกษาร่ำเรียนเพื่อเป็นอนาคตของชาติต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook