14 มีนาคม วันคณิตศาสตร์โลก หรือ วันพาย (World Math Day)

14 มีนาคม วันคณิตศาสตร์โลก หรือ วันพาย (World Math Day)

14 มีนาคม วันคณิตศาสตร์โลก หรือ วันพาย (World Math Day)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันที่ 14 มีนาคม ของทุกปี เป็น วันคณิตศาสตร์โลก จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองความสำคัญของคณิตศาสตร์ในฐานะศาสตร์ที่เป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และการออกแบบ (STEM)

จุดเริ่มต้น ของวันคณิตศาสตร์โลก

นักคณิตศาสตร์ทั่วโลกได้ร่วมกันกำหนดให้วันที่ 14 มีนาคมของทุกปีเป็น "วันคณิตศาสตร์โลก" (World Math Day) เพื่อเป็นการระลึกถึงสัญลักษณ์สำคัญทางคณิตศาสตร์ π (พาย) ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่หาได้จากความยาวของเส้นรอบวงกลม (Perimeter) หารด้วยความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมนั้น (Diameter) โดยมีค่าเท่ากับ 3.14 ด้วยเหตุนี้จึงถือเอาวันที่ 14 เดือน 3 เป็นวันคณิตศาสตร์โลก หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า "วันพาย" (Pi Day) นอกจากนี้วันที่ 14 มีนาคมยังเป็นวันคล้ายวันเกิดของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein : ค.ศ.1879-1955) นักวิทยาศาสตร์ชื่อดังของโลกอีกด้วย 

ทั้งนี้ ค่าของ π เป็นทศนิยมแบบไม่รู้จบที่ไม่ซ้ำกัน และไม่สามารถเขียนเป็นตัวเลขออกมาได้ทั้งหมด คือ π = 3. 14159265358979323846264338327950284197169... ซึ่งถูกเรียกว่าจำนวนอตรรกยะ จึงได้มีการกำหนดค่าเป็นสากล ให้ π = 3.14 นั่นเอง

กิจกรรมที่จัดขึ้นในวันคณิตศาสตร์โลก

กิจกรรมที่จัดขึ้นในวันคณิตศาสตร์โลกมีหลายรูปแบบ เช่น กิจกรรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ การแข่งขันคณิตศาสตร์ การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ และกิจกรรมสันทนาการที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์

ความสำคัญ ของวันคณิตศาสตร์โลก คือ

  • กระตุ้นให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของคณิตศาสตร์
  • ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนสนใจเรียนคณิตศาสตร์
  • พัฒนาศักยภาพด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียน
  • สนับสนุนการใช้คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

วันคณิตศาสตร์โลก จึงเป็นวันที่สำคัญสำหรับการเฉลิมฉลองความยิ่งใหญ่ของคณิตศาสตร์ และส่งเสริมให้ผู้คนเห็นความสำคัญของคณิตศาสตร์ในทุกๆ ด้านของชีวิต

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook