อีกหนึ่งในการบริหารจัดการ NGV ของ ปตท.

อีกหนึ่งในการบริหารจัดการ NGV ของ ปตท.

อีกหนึ่งในการบริหารจัดการ NGV ของ ปตท.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

     ตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจ NGV บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)(ปตท.) ได้จัดตั้งสถานีบริการ NGV ในรูปแบบการขายปลีก โดย ปตท. เป็นผู้ลงทุนสร้างสถานีบริการ และจ้างผู้มีสิทธิ์ในที่ดินเป็นผู้บริหารการขาย ต่อมาเมื่อความต้องการใช้ก๊าซ NGV เพิ่มมากขึ้น ปตท. ได้ส่งเสริมให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนสถานีบริการ NGV เอง จนกระทั่งปัจจุบัน (ณ 31 ส.ค. 56) ประเทศไทยมีสถานีบริการ NGV แล้ว 486 แห่ง ครอบคลุม 54 จังหวัด   ทั่วประเทศ เป็นสถานีบริการ NGV ที่ ปตท. ลงทุน  392 แห่ง และเอกชนลงทุน  92 แห่ง ทั้งนี้ ด้วยราคาขายปลีกก๊าซ NGV ที่ต่ำกว่าเชื้อเพลิงชนิดอื่นมาก ทำให้ผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะ รถขนส่ง และประชาชนทั่วไปนิยมใช้ก๊าซ NGV เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีรถ NGV แล้วมากกว่า 422,000 คัน ด้วยปริมาณการใช้ก๊าซ NGV สูงถึงกว่า 8,800 ตันต่อวัน  ซึ่งปริมาณการใช้ก๊าซ NGV เกือบร้อยละ 50 เป็นการใช้จากรถบรรทุก รถหัวลากและรถสาธารณะ ซึ่งเมื่อรถประเภทนี้เข้าเติมก๊าซ ณ สถานีบริการ NGV จะเติมก๊าซจำนวนมากและใช้เวลานาน ส่งผลให้รถ NGV อื่นๆ ประสบปัญหารอเติมก๊าซนาน และในพื้นที่ห่างไกลแนวท่อจะพบปัญหาก๊าซหมดด้วย

     ปตท. ไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาดังกล่าว ประกอบกับกระทรวงพลังงานมีนโยบายส่งเสริมให้ภาคขนส่งเอกชนเข้ามาลงทุนในกิจการ NGV  แบบครบวงจร ปตท. จึงริเริ่มโครงการขายก๊าซ NGV จากแนวท่อ (Ex-Pipeline) สำหรับภาคขนส่ง เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ก๊าซ NGV ภายใน Fleet ของตนเอง

 

     การขายก๊าซ NGV จากแนวท่อส่งก๊าซธรรมชาติ คืออะไร

     การจำหน่ายก๊าซ NGV จากแนวท่อส่งก๊าซเป็นการขายตามค่าความร้อนของคุณภาพก๊าซ NGV ที่แท้จริงให้กับกลุ่มผู้ประกอบการที่มีรถ NGV และมีปริมาณการใช้ก๊าซ NGV ค่อนข้างสูง อาทิ ผู้ประกอบการรถบรรทุก รถหัวลาก หรือรถโดยสาร เพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนในกิจการ NGV แบบครบวงจร จะช่วยให้การขยาย NGV เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น และผู้ประกอบการรถขนส่ง/รถโดยสารสามารถบริหารจัดการสถานีให้เหมาะสมและสะดวกในการดำเนินกิจการของตนเอง ส่งผลให้ปริมาณรถบรรทุก รถหัวลาก และรถโดยสาร ที่มาใช้บริการเติมก๊าซ NGV ณ สถานีบริการ NGV ในรูปแบบขายปลีกลดลง ผู้ใช้รถ NGV ทั่วไปสะดวกในการเติมก๊าซมากขึ้น และลดปัญหารอคิวเติมก๊าซได้ อีกทั้งผู้ประกอบการขนส่ง/รถโดยสารสามารถใช้ก๊าซด้วยคุณภาพจากแนวท่อในแต่ละพื้นที่ โดยไม่ต้องปรับปรุงคุณภาพก๊าซ

 

     แนวทางการดำเนินการ

     ปตท. จะเป็นผู้จัดหาและจำหน่ายก๊าซธรรมชาติจากแนวท่อ ผู้ประกอบการขนส่ง/รถโดยสารที่สนใจจะเป็นผู้ลงทุนในกิจการทั้งหมด ประกอบด้วย

  • ก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซจากแนวท่อส่งก๊าซของ ปตท. ถึงสถานีควบคุมความดันและวัดปริมาตรก๊าซ (M/R Station)
  • ก่อสร้าง M/R Station จุดวัดซื้อขายก๊าซ
  • ก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซจาก M/R Station ถึงสถานีบริการ NGV (Conventional Station)
  • ก่อสร้างสถานีบริการ NGV

 

แบบจำลองการขายตรงก๊าซ NGV จากแนวท่อ

     หลักเกณฑ์ในการลงทุน

     คุณสมบัติของผู้ประกอบการรถขนส่ง/รถโดยสารที่สนใจลงทุนสถานีเพื่อเติมก๊าซใช้เอง จะต้อง

  • นิติบุคคล สัญชาติไทย
  • มีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท
  • ซื้อก๊าซเพื่อเป็นเชื้อเพลิงสำหรับภาคขนส่งและใช้เองภายในกิจการหรือในกลุ่มผู้ประกอบการขนส่ง

     โดยพื้นที่ในการจัดตั้งสถานีบริการ NGV จะต้องประกอบด้วย

  • ต้องมีพื้นที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ได้
  • มีความสามารถของระบบท่อและปริมาณก๊าซเพียงพอ

 

แนวท่อส่งก๊าซในปัจจุบันและอนาคต

     ผู้ประกอบการรถขนส่ง/รถโดยสารสนใจ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนพัฒนาเครือข่ายสถานี ฝ่ายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ ปตท. โทรศัพท์ 0-2537-1737  และ 05-537-2360 ในวันและเวลาราชการ

 

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook