เทคโนโลยีรถจักรยานยนต์ และการเลือกใช้น้ำมันเครื่อง (ตอนที่ 1)

เทคโนโลยีรถจักรยานยนต์ และการเลือกใช้น้ำมันเครื่อง (ตอนที่ 1)

เทคโนโลยีรถจักรยานยนต์  และการเลือกใช้น้ำมันเครื่อง  (ตอนที่  1)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จักรยานยนต์ ?  คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่าไม่รู้จักนวัตกรรมยานยนต์ชนิดนี้ เพราะนอกจากจะเป็นสัญลักษณ์แห่งความเร็วที่เร้าใจแล้ว  ความคล่องตัวในการใช้งาน  และราคาที่สามารถซื้อหาได้ง่าย  ทำให้จักรยานยนต์ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง  ซึ่งในปัจจุบันนี้  คาดว่าน่าจะมีรถจักรยานยนต์ที่วิ่งอยู่ทั่วประเทศมากกว่า  20  ล้านคัน    โดยผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ในปัจจุบัน  ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีของจักรยานยนต์ให้ดีขึ้น  เหมาะกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป  และให้เหมาะกับการใช้งานมากขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นจักรยานยนต์เกียร์อัตโนมัติ  หรือการพัฒนาระบบหัวฉีดมาใช้ก็ตาม  แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า  หัวใจสำคัญที่จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพนั้น  อยู่ที่  “น้ำมันเครื่อง”  ดังนั้น  การเลือกใช้น้ำมันเครื่อง  ให้เหมาะสมกับเทคโนโลยีของเครื่องยนต์  ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง

เทคโนโลยีของจักรยานยนต์  และการเลือกใช้น้ำมันเครื่อง
รถจักรยานยนต์  2  จังหวะ  :  ได้รับความนิยมอย่างมากในอดีต  ทั้งนี้เนื่องจากรถจักรยานยนต์  2  จังหวะ  มีขนาดเล็กกว่า  รอบจัดกว่า  ทำให้ตอบสนองต่ออัตราเร่งที่ดีกว่า  อีกทั้งยังมีชิ้นส่วนที่น้อยกว่า  ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาน้อยกว่า  แต่อย่างไรก็ตาม  รถจักรยานยนต์  2  จังหวะนั้น  ต้องหมั่นเติมน้ำมันเครื่องเข้าถังน้ำมันเบนซิน  หรือเช็คระดับของน้ำมันเครื่อง  (ออโต้ลูป)  อยู่เสมอ  ทำให้เกิดความยุ่งยากในการใช้งาน  อีกทั้งน้ำมันเครื่องจะต้องเผาไหม้พร้อม ๆ กับเชื้อเพลิง  ซึ่งหากส่วนที่เป็นน้ำมันเครื่องเผาไหม้ไม่หมด  จะเกิดเป็นละอองไอน้ำมัน  เมื่อกระทบกับอากาศจึงเกิดเป็นควันขาวขึ้น  ทำให้เกิดเป็นมลพิษทางอากาศ
ดังนั้น  จึงเกิดการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและผู้ผลิตภาคเอกชน  ในการกำหนดมาตรการควบคุมมลพิษขึ้น  ทำให้ผู้ผลิตต้องหันมาพัฒนารถจักรยานยนต์  4  จังหวะแทน  เนื่องจากระบบเชื้อเพลิงไม่ต้องใช้น้ำมันหล่อลื่นผสม  จึงไม่เกิดควันขาว  มลพิษก็ลดลง   ได้ตามที่มาตรฐานกำหนด  ไม่เพียงแค่ผู้ผลิตรถจักรยานยนต์เท่านั้นที่ต้องปรับเปลี่ยน  แต่ผู้ผลิตน้ำมันเครื่องก็ต้องมีการพัฒนาเช่นกัน  โดยน้ำมันเครื่องที่เหมาะสำหรับรถจักรยานยนต์  2  จังหวะนั้น  ต้องเป็นน้ำมันเครื่องที่ช่วยลดควันขาว  (Low  Smoke  Lubricating  Oil)  เพื่อช่วยให้รถจักรยานยนต์  2  จังหวะที่วิ่งอยู่บนท้องถนน  ปล่อยมลพิษลดลง  สอดคล้องกับมาตรการของภาครัฐที่กำหนดไว้

ในปัจจุบันนี้  จึงไม่มีการผลิตรถจักรยานยนต์  2  จังหวะในประเทศไทยแล้ว

รถจักรยานยนต์  4  จังหวะ  :  สืบเนื่องมาจากข้อกำหนดทางด้านมลพิษ  ทำให้รถจักรยานยนต์  4  จังหวะมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  แม้ว่ารถจักรยานยนต์  4  จังหวะจะมีชิ้นส่วนที่เพิ่มขึ้นมา  ไม่ว่าจะเป็นวาล์ว  หรือกลไกต่าง ๆ  ทำให้ขนาดเครื่องใหญ่ขึ้น  น้ำหนักมากขึ้น  และมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาที่สูงขึ้น  แต่มีข้อดี  คือ  ใช้งานสะดวกกว่า  ไม่ต้องมาคอยเติมน้ำมันเครื่อง  อีกทั้งน้ำมันเครื่องไม่ต้องเข้าไปเผาไหม้แล้ว  ทำให้ประสิทธิภาพในการเผาไหม้ดีขึ้น  ไม่มีควันขาว  มลพิษต่ำ  รวมถึงให้กำลังที่สม่ำเสมอ  แม้ที่รอบต่ำ แม้ว่ารถจักรยานยนต์  4  จังหวะจะนำเทคโนโลยีในรถยนต์มาใช้  แต่อย่างไรก็ตาม  ระบบหล่อลื่นของรถจักรยานยนต์  4  จังหวะก็ยังแตกต่างจากรถยนต์ทั่ว ๆ ไป  อันเนื่องมาจากเนื้อที่ที่จำกัด  ทำให้มีการรวมชุดเกียร์  และชุดคลัตช์ให้ใช้อ่างน้ำมันเดียวกัน  นั่นคือ  น้ำมันหล่อลื่นของรถจักรยานยนต์  4  จังหวะ  จะต้องหล่อลื่นทั้งเครื่องยนต์  ชุดเกียร์  และชุดคลัตช์  โดยจะแช่อยู่ในอ่างน้ำมันเดียวกัน  หรือที่เรียกกันว่าจักรยานยนต์แบบ  “คลัตช์เปียก”  นั่นเองดังนั้น  น้ำมันเครื่องที่เหมาะสำหรับรถจักรยานยนต์  4  จังหวะแบบคลัตช์เปียกนี้  นอกจากจะต้องสามารถปกป้องเครื่องยนต์ได้เป็นอย่างดีแล้ว  ก็ต้องเป็นน้ำมันเครื่องที่ผ่านการทดสอบการป้องกันคลัตช์ลื่น  (Clutch  Slip)  หรือน้ำมันที่ได้รับมาตรฐาน  JASO  MA  เพื่อช่วยให้แผ่นคลัตช์ที่แช่อยู่ในอ่างน้ำมันเครื่อง  สามารถยึดจับกันได้อย่างดี  ไม่ลื่นสะดุด  ส่งผลให้อัตราเร่งดี  ปกป้องแผ่นคลัตช์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  อีกทั้งยังต้องสามารถปกป้องชุดเกียร์  ที่มีแรงกดแรงกระแทกสูงได้อีกด้วย  นอกจากนี้  ยังมีรถจักรยานยนต์  4  จังหวะอีกประเภทที่มีลักษณะคล้ายกับรถยนต์  นั่นคือ  แยกชุดเกียร์  และชุดคลัตช์ออกจากอ่างน้ำมันเครื่อง  หรือที่เราเรียกกันว่าจักรยานยนต์แบบ  “คลัตช์แห้ง”  ซึ่งการทำงานจะมีเสียงดังกว่า  และสึกหรอเร็วกว่า  แต่มีข้อดีคือ  ประสิทธิภาพในการจับตัวของแผ่นคลัตช์ดีกว่า  ส่งผลให้ตอบสนองต่อการขับขี่ที่ดีกว่า  ดังนั้น  จักรยานยนต์ประเภทนี้  จึงไม่นิยมใช้งานทั่วไป  จะพบแต่ในสนามแข่งเท่านั้น

CHALLENGER  เทคโนโลยีแห่งชัยชนะ
แม้ว่าตลาดน้ำมันเครื่องจักรยานยนต์  จะมีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้น  ไม่ว่าจะเป็นการที่มีแบรนด์รายเล็กรายน้อยอยู่ในท้องตลาดเป็นจำนวนมาก  ส่งผลให้มีการแข่งขันทางด้านราคาสูง  แต่  ปตท.  ก็ยังไม่หยุดยั้งในการพัฒนาน้ำมันเครื่องเพื่อรถจักรยานยนต์  เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อเทคโนโลยีของรถจักรยานยนต์ที่เปลี่ยนแปลงไป  โดยผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องคุณภาพสูงของ  ปตท.  มีชื่อว่า  “CHALLENGER”

CHALLENGER  2T  เป็นน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์  สำหรับรถจักรยานยนต์  2  จังหวะ  มาตรฐาน  ISO  EGD  และ  JASO  FD  ช่วยปกป้องเครื่องยนต์ได้อย่างดีเยี่ยม  พร้อมผสมสาร  Super – Detergent  ชนิดพิเศษ  ทำให้เครื่องยนต์สะอาด  เหมือนใหม่ตลอดเวลา  พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพในการลดควันขาว CHALLENGER  4T  เป็นน้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์  สำหรับรถจักรยานยนต์  4  จังหวะ  ความหนืด  SAE  10W-40  มาตรฐาน  API  SG  และ  JASO  MA  ช่วยปกป้องเครื่องยนต์  ชุดเกียร์  และชุดคลัตช์ได้อย่างดีเยี่ยม  รวมถึงผ่านการทดสอบการลื่นไหลของคลัตช์  (Clutch  Slip  Test)  จากประเทศญี่ปุ่น  ช่วยให้การเข้าเกียร์  เร่งเครื่องเป็นไปอย่างนิ่มนวล  ไม่สะดุด

อย่าลืมนะครับ ดีที่สุดเพื่อรถจักรยานยนต์  ต้อง  CHALLENGER  เท่านั้น  ฉบับหน้ามาพบกับเทคโนโลยีรถจักรยานยนต์กันต่อนะครับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook