ทัพชิ้นส่วนยานยนต์ญี่ปุ่นบุกไทย 200โรงงาน4พันล.-ผุดวันสต็อปเซอร์วิสรองรับ

ทัพชิ้นส่วนยานยนต์ญี่ปุ่นบุกไทย 200โรงงาน4พันล.-ผุดวันสต็อปเซอร์วิสรองรับ

ทัพชิ้นส่วนยานยนต์ญี่ปุ่นบุกไทย 200โรงงาน4พันล.-ผุดวันสต็อปเซอร์วิสรองรับ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     ทัพชิ้นส่วนเอสเอ็มอีญี่ปุ่นบุกไทยอีกระลอก คาดผู้ประกอบการ 200 ราย เทเงินลงทุน 4,000 ล้าน ด้านเอกชนไทยหัวใส ตั้งบริษัทแนะนำลงทุนในไทยพร้อมจัดหาโรงงาน-แรงงานให้ ชี้ผู้ประกอบการไทยหวั่นต้นทุนญี่ปุ่นต่ำกว่าทำให้แข่งขันยาก เชื่อ 3-5 ปี ญี่ปุ่นยังขยายลงทุนต่อเนื่อง คาดหลังจากนั้นชิ้นส่วนไฮเทคโนโลยีมาแน่

 นายชัยณรงค์ ลิมป์กิตติสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท รี้ด เทรดเด้กซ์ จำกัด ผู้จัดงาน "แมนูแฟกเจอริ่ง เอ็กซ์โป" มหกรรมเครื่องจักรและเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งคันเปิดเผยว่า จากที่บริษัทได้ไปโรดโชว์ในประเทศญี่ปุ่น พบว่าได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการเป็นอย่างดี โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมในโตเกียวและโยโกฮามา ที่เป็นย่านการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สำคัญ มีผู้สนใจย้ายฐานการผลิตมาลงทุนในไทยกว่า 200 ราย และคาดว่าจะสร้างมูลค่าการลงทุนถึง 4,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนโดยบริษัทญี่ปุ่นเอง 100% มูลค่าการลงทุน 3,000 ล้านบาท และบริษัทญี่ปุ่นที่ร่วมทุนกับผู้ประกอบการในไทยอีกราว 1,000 ล้านบาท

บริษัทคาดว่าตัวเลขของเอสเอ็มอีญี่ปุ่นที่จะย้ายฐานการผลิตเข้ามาในไทยน่าจะมีจำนวนมากกว่านี้ เพราะยังมีผู้ประกอบการในเมืองอื่น ๆ ที่สนใจย้ายฐาน แม้ปัจจุบันค่าเงินบาทจะเริ่มอ่อนตัวลงก็ตาม แต่ทิศทางในระยะยาวประเทศไทยยังคงเป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่สำคัญของภูมิภาคนี้ และมีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน ขณะที่นโยบายภาครัฐยังสนับสนุนการลงทุนอย่างต่อเนื่อง

บริษัทเริ่มสังเกตเห็นสัญญาณการลงทุนจากกลุ่มเอสเอ็มอีญี่ปุ่นตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการขยายธุรกิจในไทยและค่าเงินบาทแข็งและจากนั้นก็มีการทยอยเข้ามาลงทุนต่อเนื่อง โดยเอสเอ็มอีญี่ปุ่นที่เข้ามาลงทุนในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนผลิตชิ้นส่วนระดับเทียร์ 3-4 เพื่อผลิตสินค้าป้อนโรงงานผลิตรถยนต์ในประเทศ ซึ่งจะทยอยเข้ามาลงทุนเพิ่มเติมต่อไปในระยะ 3-5 ปีนับจากนี้ หลังจากนั้นคาดว่าจะเป็นกลุ่มผู้ผลิตที่ผลิตสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีและโนว์ฮาวระดับสูงจะเข้ามาลงทุนในไทยต่อไป

นายชัยณรงค์กล่าวว่า การเข้ามาลงทุนของผู้ประกอบการชิ้นส่วนจากญี่ปุ่น จะทำให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยต้องปรับตัวทั้งในรูปแบบการร่วมลงทุนกับเอสเอ็มอีญี่ปุ่น ส่วนผู้ที่ไม่ได้ร่วมทุนก็ต้องปรับตัวในด้านเทคโนโลยีการผลิต การออกแบบ รวมถึงอาจต้องซื้อโนว์ฮาวจากต่างประเทศเพื่อมาพัฒนาต่อยอดการผลิตเพิ่มเติม ซึ่งอาจทำให้ผู้ผลิตในไทยมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าผู้ผลิตญี่ปุ่นที่มีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง

"ถือว่าเอสเอ็มอีญี่ปุ่นกลุ่มนี้ซึ่งเป็นกลุ่มที่ผลิตชิ้นส่วนเทียร์ 3-4 ที่เข้ามาถือเป็นคลื่นลูกสุดท้าย เพราะก่อนหน้านี้ผู้ผลิตรถยนต์ก็ย้ายฐานมาแล้ว ผู้ผลิตระดับเทียร์ 1-2 ก็เข้ามาลงทุนแล้ว และกลุ่มเอสเอ็มอีแต่ละรายที่เข้ามาน่าจะลงทุน 20-30 ล้านบาท"

นอกจากกลุ่มเอสเอ็มอีญี่ปุ่นแล้ว คาดว่าจะมีนักลงทุนจากประเทศอื่น ๆ ทั้งไต้หวันและจีนสนใจเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยด้วย ครอบคลุมทั้งการผลิตชิ้นส่วนป้อนโรงงาน การผลิตชิ้นส่วนป้อนตลาดทดแทน และการผลิตอุปกรณ์ประดับยนต์

     อย่างไร ก็ตาม จากที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยทำให้มีผู้ประกอบการในไทยที่ทำ ธุรกิจจำหน่ายเครื่องจักรอุตสาหกรรมบางรายไปพัฒนารูปแบบธุรกิจใหม่ ก่อตั้งบริษัทอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนในรูปแบบวันสต็อปเซอร์วิส ให้บริการทั้งด้านคำปรึกษาในการขอรับการสนับสนุนจากบีโอไอ การจัดหาโรงงาน รับสร้างโรงงาน และจัดหาแรงงานให้ คาดว่าธุรกิจดังกล่าวน่าจะเติบโตได้ต่อเนื่อง เนื่องจากมี

ผู้ประกอบการชาวญี่ปุ่นจำนวนมากที่สนใจเข้ามาลงทุนในไทยยังขาดความรู้ด้านขั้นตอนการดำเนินงานสำหรับบริษัทในฐานะผู้จัดงาน "แมนูแฟกเจอริ่ง เอ็กซ์โป" จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-23 มิถุนายนนี้ บนพื้นที่กว่า 40,000 ตร.ม.ที่ศูนย์แสดงสินค้าไบเทค บางนา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook