"เยิน" เพราะจอดหนีน้ำท่วม ...ใครถูกใครผิด

"เยิน" เพราะจอดหนีน้ำท่วม ...ใครถูกใครผิด

"เยิน" เพราะจอดหนีน้ำท่วม ...ใครถูกใครผิด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ถ้าถามถึงสภานการณืในบ้านเราทั่วไปในช่วงนี้ที่ "น้องน้ำ" ไหลบ่าเข้ากรุงตามที่หลายคนคาดการณ์เอาไว้ล่วงหน้า และหลายท่านได้เตรียมความพร้อมด้วยการนำรถไปจอดในที่สูง ซึ่งกลายเป็นความไร้ระเบียบวินัยทางสังคมของเมืองไทยอย่างร้ายแรง จนต่างชาติอดหัวเราะขำขันไม่ได้ว่า "คนไทยกลัวน้ำ" และกลายเป็นมหกรรมจอดรถหนีน้ำที่แม้แต่มือกฏหมายบางท่านยังบอกว่าทำถูกแล้ว...คิดได้ยังไง

จอดรถหนีน้ำท่วมจอดรถหนีน้ำท่วม

"วินัยจราจราจรส่อวินัยชาติ" วลีนี้จี๊ดโดนใจขึ้นมาทันใดเมื่อเราได้เห็นความโกลาหลทุกหย่อมหญ้าที่รถนั้นไปจอดท่ามกลางสะพานลอยทางแยก ไม่เว้นกระทั่งทางด่วน ยันสะพานข้ามคลอง ที่ถูกจับจองเป็นที่จอดรถหลบภัยน้ำท่วมชั่วคราว แต่แม้เราจะมีการเตือนสติไปหลายครั้งแล้วก็ยังมีหลายคนไม่เข้าใจถึงคำว่าอันตราย ทั้งจากการโจรกรรมยานยนต์เองหรือจะอุบัติเหตุที่คุณอาจจะกลายเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตโดยไม่รู้ตัว

การจอดรถอย่างไรสติจนกลายเป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุนั้น แม้เราจะสามรถขอความเห็นใจจากความเดือดร้อนในเรื่องน้ำท่วมได้ แต่อุบัติเหตุที่เกิดจากความประมาท โดยเฉพาะเมื่อรถหลายหมื่นคันไปจับจองที่จอดบนทางด่วน คำถามที่ตามคือเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาใครจะรับผิดชอบ ความเสียหายหรือการสูญเสียต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งต่อเจ้าของรถเอง หรือคู่กรณีที่อาจจะบาดเจ็บหรือเสียชีวิตไปจากความมักง่ายของคนบางคน

เมื่อมองตามกฏหมายแล้ว โดยเฉพาะ พรบ.การจราจรทางบก และ พรบ.การจราจรการทางพิเศษแล้ว หากว่าความกันไปตามเนื้อผ้า รถที่จอดอยู่บนทางด่วนในมหกรรมหนีน้ำท่วม ถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฏหมายโดยชอบ สามารถตีความได้อย่างชัดเจนว่า "จอดในที่ห้ามจอด " เนื่องจากตามกฏหมายก็มิให้จอดรถบนทางด่วนโดยไม่มีเหตุอันควร และในบางกรณีนั้นสามารถตีความได้ว่ากีดขวางการจราจร แต่ที่รถเหล่านี้ยังไร้ซึ่งใบสั่งนั้น เพราะเป็นการอนุโลมตามสภาวะการณ์ที่เกิดขึ้น และเมื่อเกิดเหตุใดๆ ขึ้นมา ต้องเป็นหน้าที่ระหว่างคู่กรณีและผู้เสียหายต้องไปดำเนินคดีกันเอาเอง

จอดรถหนีน้ำท่วมจอดรถหนีน้ำท่วม

ความจริงแล้วการจอดรถในที่ห้ามจอดแล้วเป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุนั้นสามารถแจ้งความเอาผิดทั้งทางแพ่งและอาญาได้ หรือในทางกลับกันเจ้าของรถที่โดนอุบัติเหตุเองก็สามารถมีสิทธิที่จะดำเนินคดีตามกฏหมายได้ เพื่อจะหาคู่กรณีมารับผิดชอบในกรณีไม่มีประกันภัย และหากจอดรถในจุดที่มีการติดตั้งกล้องวงจรปิดก็อาจจะหาตัวผู้ทำผิดได้ง่ายกว่า เช่นเดียวกับกรณีที่ประสบอุบัติเหตุจากรถจอดหนีน้ำท่วมก็สามารถจดแผ่นป้ายทะเบียนรถแล้วแจ้งความดำเนินคดี ที่ต้องไปพิสูจน์กันในชั้นศาลว่า รถคันดังกล่าวสามารถเป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุได้ เช่นจอดในทางโค้ง หรือมุมอับ ซึ่งในกรณนี้อาจจะสามารถฟ้องเพื่อขอชดเชยค่าสินไหมได้จากข้อหาทำให้เสียทรัพย์

อย่างไรก็ดีในปัจจุบันรถยนต์ส่วนใหญ่นั้นล้วนมีประกันภัยคุ้มครอง ซึ่งมีหลายประเภท แต่ถ้ารถมีประกันภัยชั้น 1 นั้นก็ดูท่าว่าจะสบายใจมากกว่า เพราะเคลมได้แน่นอนไร้ปัญหา แต่ถ้าเป็นประเภท 5 หรือที่เราคุ้นกันในนาม 2+ นั้นอาจจะยุ่งยาก เนื่องจากต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าใครเป็นคู่กรณีพร้อมหลักฐานที่สามารถยืนยันได้ว่า มีคู่กรณีเป็นยานยนต์สัญจรทางบก เพื่อให้เข้าเงื่อนไขการรับประกันต่อไป

ถ้าจะให้่ตอบชัดลงไปอย่างชัดเจนว่า จอดรถหนีน้ำท่วมโดนชนใครถูกใครผิดนั้นคงจะยาก เพราะทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่ไม่เหมือนกัน แต่จากจำนวนรถหลายหมื่นคันที่กลัวน้ำยังมีรถอีก 5 ล้านคันที่ยังใช้งานตามปกติ คำถามคือจะรอให้รถเป็นรอยหรือมีเหตุไม่อันควรจากการจอดรถทิ้งหนีน้ำท่วมทำไม ในเมื่อทางเลือกยังมีอีกมาที่คุณไม่จำเป็นต้องตื่นเต้นทิ้งรถหนีน้ำ

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ ของ "เยิน" เพราะจอดหนีน้ำท่วม ...ใครถูกใครผิด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook