รู้จัก ′อาเซียน เอ็นแคป′ ก่อนซื้อรถ!

รู้จัก ′อาเซียน เอ็นแคป′ ก่อนซื้อรถ!

รู้จัก ′อาเซียน เอ็นแคป′ ก่อนซื้อรถ!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

′อาเซียน เอ็นแคป′คืออะไร
มติชนรายวัน วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558

 

     การทดสอบการชนรถใหม่ในอาเซียน หรืออาเซียน เอ็นแคป (Asean Ncap) จัดตั้งมาตั้งแต่เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ปี 2011 ประกาศจัดตั้งที่เมืองนิวเดลี ประเทศอินเดีย มีเป้าหมายเพื่อการประเมินการตรวจสอบสมรรถนะทางด้านความปลอดภัยในรถยนต์รุ่นใหม่

     แต่ประเทศในทางภูมิภาคอาเซียนไม่มีกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับการทดสอบการชน ทางคณะกรรมการอาเซียน เอ็นแคป ได้รับการฝึกฝนทักษะจากโกลบอล เอ็นแคป จึงกำหนดให้ค่ามาตรฐานระดับการปกป้องผู้ใหญ่ระดับ 4 ดาว ถือว่าเพียงพอสำหรับความปลอดภัยพื้นฐานในมาตรฐานความปลอดภัย

     ปัจจุบันการทดสอบตามโครงการอาเซียน เอ็นแคป ชี้วัดด้วยการประมวลผลจากการทดสอบการชน สำหรับรถยนต์ที่ใช้ในการทดสอบการชนนั้นมีที่มาสองทาง แล้วแต่แนวทางที่องค์กรทดสอบชนเลือก ประการแรก ซื้อรถยนต์ที่อยู่ตามโชว์รูมนำมาทดสอบในการชน หรือหากมีผู้ผลิตรายใดจะสนับสนุนการทดสอบการชนในรถยนต์ใหม่ของพวกเขาที่เตรียมวางจำหน่ายในเร็วๆ นี้ ก็จะใช้วิธีสุ่มเลือกรหัสตัวถังหรือเลขประจำรถ ก่อนรถคันดังกล่าวจะนำมาใช้ทดสอบการชน เพื่อไม่ให้เกิดการเตรียมการจากผู้ผลิต ก่อนที่รถยนต์คันดังกล่าวจะเข้าสู่กระบวนการทดสอบการชนแล้วรายงานผลต่อไป

     หลังได้รถใช้ทดสอบ จะทดสอบการชนโดยติดตั้งตัวแทนคน หรือแครช เทสต์ ดัมมี่ (Crash Test Dummy) เข้าไปในรถ ตัวดัมมี่จะเป็นหุ่นใช้แทนคน จะมีสองขนาด แบ่งเป็นผู้ใหญ่และเด็ก เพื่อดูค่าการปกป้องของตัวรถในการชนว่าเป็นอย่างไรบ้าง

 

     ดัมมี่หุ่นผู้ใหญ่นั้นจะถูกติดตั้งไว้ที่เบาะคู่หน้าเพื่อดูการตอบสนองของผู้โดยสารตอนหน้า และบอกถึงการปกป้องของรถต่อผู้โดยสารที่เป็นผู้ใหญ่ จะถูกจัดเป็นระดับดาวและบอกเป็นคะแนนที่ทำได้จากการทดสอบ ผ่านอะเดาล์ต ออคคิวเปชั่น โปรเท็กชั่น (Adult occupation protection) หรือ Aop คะแนนดังกล่าวยังอ้างอิงต่ออาการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นในระหว่างการชน จะมีการรายงานผลเป็นสีแทนตำแหน่งที่ดัมมี่ได้รับความเสียหาย

     สีเขียว หมายถึง ดีมากหรือปลอดภัย ระดับสีเหลือง หมายถึง ดี และระดับสีส้ม หมายถึง พอใช้ คืออาจจะได้รับบาดเจ็บ ส่วนสีน้ำตาลแทนต่ำ และสีแดงแทนต่ำมาก หมายถึง มีโอกาสได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการชนจริงในยามที่เกิดอุบัติเหตุ



     ส่วนทางด้านตัวแทนดัมมี่เด็กจะถูกใส่ไว้ในเบาะนั่งสำหรับเด็กติดตั้งอย่างถูกต้องตามที่ควรจะเป็นค่าที่ได้จากการทดสอบชนจะถูกแสดงผ่านไชล์ด ออคคิวเปชั่น โปรเท็กชั่น (Child Occupation protection) หรือ Cop แสดงเป็นคะแนนระดับดาวและเปอร์เซ็นต์ของการปกป้องการชน

     สำหรับผลการทดสอบการชน ก่อนอื่นเลยรถทุกคันจะผ่านมาตรฐานการทดสอบการชนระดับ 4 ดาว จะต้องผ่านการทดสอบชนทางด้านข้าง ตามมาตรฐานใหม่ UN R95 และจะต้องได้คะแนนความปลอดภัยปกป้องผู้โดยสารผู้ใหญ่ในระดับ 4-5 ดาว

     จากนั้น รถคันดังกล่าวจึงจะถูกอาเซียน เอ็นแคป พิจารณาว่าเป็นรถที่มีความปลอดภัยระดับ 5 ดาว หรือไม่ โดยดูจากเทคโนโลยีควบคุมเสถียรภาพในการขับขี่ที่ติดตั้งภายในรถหรือที่เรียกว่า ESC หรือเทียบเท่า ใช้ในการพิจารณา

 

     ต่อมามีการตรวจสอบระบบเตือนให้คาดเข็มขัดนิรภัย (Seat Belt Reminder-SBR) ในตำแหน่งผู้โดยสารตอนหน้า ทั้งคนขับและคนนั่งว่าติดตั้งมาให้ในรถยนต์คันดังกล่าวหรือไม่ หากมีทั้งสองระบบติดตั้งมาให้ก็จะได้รับคะแนนทดสอบชนระดับ 5 ดาว แต่ถ้าไม่มี ก็จะถูกพิจารณาแค่เพียง 4 ดาว แม้บางครั้งผลการทดสอบออกมาเป็น 5 ดาว และผู้ผลิตประกาศตามนั้น แต่ปรากฏว่ารถที่จำหน่ายในไทยไม่มีระบบควบคุมการทรงตัว หรือมีตัวเตือนคาดเข็มขัดเพียงด้านใดด้านหนึ่ง ก็เท่ากับว่ารถที่จำหน่ายมีคะแนนทดสอบชนเพียง 4 ดาวเท่านั้น

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook