พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์จาก “รอยสัก” ที่แรกของโลก
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/me/0/ud/4/24717/889.jpgพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์จาก “รอยสัก” ที่แรกของโลก

    พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์จาก “รอยสัก” ที่แรกของโลก

    2017-11-30T16:20:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    พิพิธภัณฑ์ในนครลอส แองเจลีส ในสหรัฐฯ ได้รวบรวมเรื่องราวของรอยสักจากหลากหลายประเทศ ซึ่งเปรียบเสมือนจดหมายเหตุแห่งความทรงจำและประวัติศาสตร์ของผู้คนทั่วทุกมุมโลก

    Chuey Quintanar ช่างสักในนครลอส แองเจลีส ของสหรัฐฯ จรดเข็มน้ำหมึกบนร่างกายผู้คนที่นี่มานานกว่า 20 ปี ด้วยความหลงใหลในงานศิลปะบนเรือนร่างมนุษย์ หลังจากเพื่อนรักของเขาได้มอบเครื่องสักให้เมื่ออายุได้ 14 ปี

    Quintanar เฝ้ามองพัฒนาการของรอยสักที่เคยอยู่แต่ในมุมมืดของสังคมในอดีต มาจนถึงปัจจุบันที่รอยสักนั้น ไม่ใช่เรื่องน่าปิดบังอีกต่อไป และเมื่อเขาได้รับเชิญให้มาร่วมทำรอยสัก เพื่อใช้ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ของรอยสักในนครลอส แองเจลีส เขารู้สึกว่านี่คือฝันที่เป็นจริง

    Stephane Martin ผู้ดูแลและจัดการนิทรรศการ Tattoo ที่ Natural History Museum ในนครลอส แองเจลีส บอกว่า นี่น่าจะเป็นที่แรกๆ ที่เป็นแหล่งรวบรวมรอยสักจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อบ่งบอกว่ารอยสักนั้นอยู่คู่กับผู้คนหลากหลายเชื้อชาติมานานหลายพันปี ซึ่งอาศัยความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญด้านรอยสักหลากหลายสาขาอาชีพ ตั้งแต่ปัญญาชนไปจนถึงอาชญากร

    Gretchen Baker รองหัวหน้าที่ดูแลนิทรรศการ Tattoo นี้ บอกว่า ผู้คนมีเหตุผลมากมายในการมีรอยสักติดตัว ทั้งเป็นการสร้างแรงกระตุ้นให้ตัวเอง การทำตามหลักการทางความเชื่อส่วนบุคคล การแสดงตัวตน ชนเผ่า หรือองค์กร โดยเฉพาะกลุ่มอาชญากรในอดีต หรือแม้กระทั่งการมีรอยสักเพื่อความสวยงามและมีคุณค่าทางจิตใจ

    ภายในนิทรรศการ ได้รวบรวมภาพถ่ายและวิดีโอจากทั่วโลก เพื่อสะท้อนเหตุและผลที่มนุษย์คนหนึ่งจะยอมเจ็บตัวเพื่อมีรอยสักติดตัวไปตลอดชีวิต และหนึ่งในวิดีโอที่ได้รับความสนใจอย่างมากในงานนี้ คือ พิธีไหว้ครูสักยันต์ของประเทศไทย ที่สร้างความฮือฮาไปทั่วโลกทุกปี

    Baker ให้ปรากฏการณ์นี้เป็นความเชื่อทางศาสนาและความเชื่อส่วนบุคคล ที่หลายวัฒนธรรมเชื่อว่า รอยสักนั้นมีพลังอำนาจที่ส่งเสริมตัวผู้สักได้

    แม้รอยสักจะเป็นสิ่งที่สะท้อนตัวตนและเสริมสร้างความมั่นใจให้ผู้คนได้ แต่สำหรับบางคนรอยสักอาจไม่ใช่สิ่งที่น่าจดจำนัก ..

    Martin เพิ่มเติมว่า บางวัฒนธรรมหรือชนเผ่าจะยังคับให้ผู้คนในชุมชนสักเพื่อสื่อถึงชนเผ่าของพวกเขา ซึ่งหัวหน้าครอบครัวจะเป็นผู้เลือกรอยสักแทนที่จะเป็นคนที่ถูกสัก และบางครั้งรอยสักก็มีไว้เพื่อการลงโทษผู้กระทำผิดหรือไม่เหมาะสม อย่างเช่น ชาวกรีก โรมัน และวัฒนธรรมญี่ปุ่น

    สำหรับนครลอส แองเจลีส มีสถานที่หนึ่งที่เป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายของรอยสัก ที่เรียกว่า the Pike ในย่าน Long Beach ทางตอนใต้ของนครลอส แองเจลีส ที่เปรียบได้กับ Silicon Valley ของรอยสักตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะบรรดานักเดินเรือจากฝั่งเอเชียจะมาแลกเปลี่ยนไอเดียการสักที่นั่น

    และ the Pike เป็นต้นกำเนิดของรอยสักสไตล์ Chicano หรือ black and grey ที่ใช้การไล่สีเหมือนภาพวาดสองมิติ ที่ได้รับความนิยมในหมู่ชาวละตินอเมริกันด้วย