วรยุทธ กิจกูล นักธุรกิจมนุษย์ล้อ พลิกจุดอ่อนเป็นจุดแข็ง

วรยุทธ กิจกูล นักธุรกิจมนุษย์ล้อ พลิกจุดอ่อนเป็นจุดแข็ง

วรยุทธ กิจกูล นักธุรกิจมนุษย์ล้อ พลิกจุดอ่อนเป็นจุดแข็ง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ชีวิตเป็นสิ่งไม่แน่นอน…ชีวิตของวรยุทธ กิจกูล ก็เป็นเช่นนั้น หลังเรียนจบปริญญาตรี เขากลับมาทำงานที่บ้านเกิด สานต่อธุรกิจของครอบครัว ตั้งอกตั้งใจทํางานเพื่อความรุ่งเรืองของธุรกิจ ได้แต่งงานกับหญิงสาวคนรัก ทุกอย่างในชีวิตคนหนุ่มอย่างเขาดูราบรื่นและเต็มไปด้วยความหวัง

แต่วันหนึ่งวรยุทธกลับโดนลอบยิง ส่งผลให้ร่างกายเป็นอัมพาตครึ่งท่อนนับแต่นั้นชีวิตของเขาก็ไม่เหมือนเดิม ทว่าความไม่เหมือนเดิมนั้นกลับสร้างเส้นทางใหม่ ๆ ให้กับเขา โดยมีล้อเป็นพาหนะขับเคลื่อนสําคัญ ทุกวันนี้วรยุทธเป็นนักธุรกิจที่มีกิจการหลากหลาย ทั้งกิจการการพิมพ์ บริษัทจําหน่ายอุปกรณ์และสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับคนพิการและผู้สูงอายุ บริษัทบรรจุภัณฑ์ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนั้นยังเป็นผู้ก่อตั้งองค์กรสาธารณกุศลเพื่อช่วยเหลือผู้พิการในสังคมไทยอีกด้วย

“ผมใช้คําว่ามนุษย์ล้อเต็มปาก เพราะสามารถเงยหน้าคุยกับใครก็ได้ ไม่ต้องอาย ไม่ต้องหลบใคร มีความภูมิใจในชีวิตของเราแล้ว สามารถทําอะไรก็ได้ที่ทุกคนทํา” และนี่คือเรื่องราวของนักธุรกิจผู้ภูมิใจกับการเป็น ‘มนุษย์ล้อ’

ปกติคุณวรยุทธเข้าทํางานตั้งแต่กี่โมงคะ
เดี๋ยวนี้สายหน่อย เมื่อก่อน 8 โมง เช้าเริ่มทํางาน ทุกวันนี้ 8 โมงครึ่งบ้างแต่เลิกงานดึก ผมออกจากออฟฟิศประมาณ 3 ทุ่ม เพราะที่โรงพิมพ์มีกะกลางคืนด้วยต้องดูความเรียบร้อยของกะกลางคืนก่อนถึงกลับบ้านถามว่าเรามีผู้จัดการดูแลไหมก็มีแต่ไม่เหมือนดูเองเพราะเราเป็นองค์กรเล็กลักษณะเหมือนหลงจู๊ต้องดูแลทุกอย่างแต่สมัยก่อนทํางานหนักมากกว่านี้ครับคือโรงพิมพ์ก่อตั้งเมื่อปี 2539 หลังจากทําได้ปีหนึ่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 แต่เราเอาวิกฤตนั้นเป็นโอกาสก่อตั้งขยายโรงงานมาก่อสร้างโรงงานใหม่ที่ซอยบางแค 14 และย้ายมาทํางานที่นี่เมื่อปลายปี 2541 จนถึงปัจจุบัน ช่วงนั้นเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อก่อร่างสร้างตัวเราทํางานหนักมากตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึงเที่ยงคืนทุกวันเพราะงานโรงพิมพ์อย่างที่รู้กันว่ามีแต่ด่วนและด่วนที่สุดเพราะฉะนั้นที่เราเติบโตมาได้จนถึงทุกวันนี้สิ่งหนึ่งซึ่งสําคัญที่สุดคือการตรงเวลารับปากลูกค้าต้องได้งานก็ต้องทําให้ได้

ลูกค้าที่ใช้บริการโรงพิมพ์ของคุณส่วนใหญ่เป็นลูกค้ากลุ่มไหน
ผมเป็นอัมพาตครึ่งท่อนซึ่งสมัยเมื่อ 31 ปีที่แล้วอัมพาตครึ่งท่อนหมดสิทธิ์เลยไม่มีทางหางานทําได้และการปฏิบัติตัวให้เป็น Independent Living การดำรงชีวิตอิสระของคนพิการที่จะอยู่ด้วยตัวเองจะทํายังไงไม่มีข้อมูลข่าวสารอะไรทั้งสิ้นคราวนี้ก็ย้อนมาถึงตอนที่เราก่อตั้งโรงพิมพ์คนพิการและรับสตาฟฟ์เป็นคนพิการเราใช้จุดอ่อนตรงนี้เป็นจุดแข็งในการทําธุรกิจของเราเอามาพรีเซ็นต์ลูกค้าด้วยข้อจํากัดของมนุษย์ล้อสถานที่ที่จะไปต้องเลือกต้องเป็นตึกออฟฟิศที่ใหญ่มีที่จอดรถเหมือนห้างสรรพสินค้ามีลิฟต์ขึ้นไปซึ่งก็เป็นองค์กรใหญ่ทั้งนั้นและถือว่าเป็นโชคดีของเราที่ทุกวันนี้เขายังเป็นลูกค้าเราอยู่พูดง่าย ๆคือเขาให้โอกาสเราทั้งนั้นเพราะอะไรเพราะสมัยนั้นเขาไม่ค่อยเห็นหรอกที่คนพิการอัมพาตครึ่งท่อนขับรถไปคนเดียวเอารถเข็นลงจากรถและขึ้นลิฟต์ไปหาเขาได้เพราะฉะนั้นสิ่งที่ได้รับคือเขาให้โอกาสเราทํางานพอได้โอกาสมาเราก็ทํางานด้วยความมุ่งมั่นเพื่อให้งานเสร็จตรงเวลามีคุณภาพจนถึงทุกวันนี้เกือบ 20 ปีแล้ว ลูกค้าพวกนี้ยังอยู่

กับเราอย่างต่อเนื่องไม่ว่ายุคสมัยไหนใครจะเปลี่ยนไปยังไงพรรณีก็ยังได้เป็นซัพพลายเออร์อยู่เราโชคดีที่ได้องค์กรใหญ่เป็นลูกค้า ทําให้เติบโตไปได้เร็ว ตั้งแต่ปี 2541 และเริ่มลงเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย ก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อย ๆ จนดิจิตอลมาแรงก็มีความรู้สึกว่า คงไม่กล้าขยายไปมากกว่านี้แล้ว ก็หยุดการขยายตัวด้านโรงพิมพ์ และมาดูแลบริษัทสยามนิชชิน ที่เป็นตัวแทนจําหน่ายวีลแชร์ อุปกรณ์สําหรับคนพิการและผู้สูงอายุ ซึ่งจังหวะเวลาได้พอดี สังคมไทยเราจะก้าวสู่สังคมคนแก่ คนพิการเริ่มมีคุณภาพชีวิตที่ดี เริ่มมีกฎหมายหลายอย่างที่เปิดกว้างให้คนพิการได้แต้มต่อในสังคมมาก

มาที่นี่ (บริษัทสยามนิชชิน) เราเจอพนักงานมนุษย์ล้อทั้งนั้น
ครับ ด้วยความที่ผมเป็นมนุษย์ล้อ ก็เปิดโอกาสให้คนพิการด้วยกัน คือหลังทําโรงพิมพ์ ผมมีความรู้สึกว่า คนพิการบางครั้งก็เหมาะสมกับอาชีพหนึ่ง ไม่เหมาะสมกับอาชีพหนึ่ง ตอนที่ทําโรงพิมพ์ มนุษย์ล้อของเรารุ่นนั้นส่วนใหญ่เป็นโปลิโอเยอะ เราให้เขามาทํางานหลังพิมพ์ มาพับบ้าง ห่อบ้าง เก็บเล่มหนังสือ และทําคอมพิวเตอร์ แต่รุ่นนั้นไม่สามารถเป็นพนักงานขายได้ ยังมีข้อจํากัดหลายอย่างพอมาสยามนิชชิน ด้วยความที่สถานที่เตรียมไว้เหมาะกับคนพิการ เพราะตัวเราเป็นคนพิการเป็นมนุษย์ล้อที่ใช้สิ่งเหล่านี้เรามีความรู้สึกว่า ลักษณะงานอย่างนี้ คนที่จะต้อนรับลูกค้า คนที่จะตอบปัญหาลูกค้าน่าจะตรงที่สุดคือพวกมนุษย์ล้อซึ่งเขาใช้ชีวิตประจําวันอย่างนี้อยู่แล้ว ปัจจุบันสยามนิชชินไปขึ้นทะเบียนกับกระทรวงแรงงาน เพื่อขอหักภาษีรายจ่ายของพนักงานที่เป็นคนพิการได้ 3 เท่า บริษัทสยามนิชชิน มีพนักงาน 20 คน 12 คนเป็นคนพิการ ผมว่าเราอาจเป็นบริษัทแรกที่ใช้สัดส่วนคนพิการสูงถึง 60…

สามารถอ่านบทสัมภาษณ์เพิ่มเติมได้ที่นิตยสาร ขวัญเรือน no.1060 vol.45 January 2015

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook