เลือกตู้เย็นประหยัดไฟ แบบไหนที่เหมาะกับบ้านคุณ

เลือกตู้เย็นประหยัดไฟ แบบไหนที่เหมาะกับบ้านคุณ

เลือกตู้เย็นประหยัดไฟ แบบไหนที่เหมาะกับบ้านคุณ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัจจัยแรกที่หลายคนมักจะคิดก่อนจะตัดสินใจเลือกซื้อตู้เย็น คือเรื่องของความประหยัดไฟ เพราะตู้เย็นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าสามัญประจำบ้าน ที่จะต้องเสียบปลั๊กอยู่เสมอ ทำงานตลอดเวลา ดังนั้นหากตู้เย็นประหยัดไฟได้ ก็จะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ ลองมาดูกันว่าจะซื้อตู้เย็นมีวิธีอะไรบ้าง ที่จะช่วยให้เราสามารถเลือกตู้เย็นประหยัดไฟ ที่สามารถช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าเราได้จริง ๆ

วิธีเลือกซื้อตู้เย็นประหยัดไฟ จ่ายค่าไฟน้อย ใช้สอยได้นาน

ปัจจุบันตู้เย็นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ได้พัฒนานวัตกรรมและฟังก์ชั่นแปลกใหม่มากมาย ซึ่งบางฟังก์ชั่นก็อาจจะไม่ได้จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตประจำวันมากขนาดนั้น ดังนั้นก่อนตัดสินใจเลือกซื้อตู้เย็น ควรพิจารณาก่อนว่าตู้เย็นแบบไหนจะคุ้มค่ากับเรามากที่สุด

1. เลือกตู้เย็นประหยัดไฟ ตามขนาดของพื้นที่

ตู้เย็นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะต้องมีการระบายความร้อนอยู่ตลอดเวลา ทำให้ต้องเว้นที่ว่างสำหรับการระบายความร้อนให้ตู้เย็นด้วย ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจซื้อตู้เย็น ควรดูจากขนาดพื้นที่ภายในบ้านว่ามีพื้นที่เพียงพอสำหรับตู้เย็นแค่ไหน

โดยควรเว้นที่ว่างสำหรับการระบายความร้อนเพื่อให้ตู้เย็นประหยัดไฟมากขึ้น พื้นที่ด้านบนควรเว้นอย่างน้อย 5 เซนติเมตร และควรเว้นพื้นที่ด้านข้างอย่างน้อย 5 มิลลิเมตร หากมีพื้นที่จำกัด ควรวัดขนาดพื้นที่ เพื่อเลือกซื้อตู้เย็นที่จะสามารถวางได้แบบเว้นช่องว่างอย่างเหมาะสม

2. เลือกจากการฟังก์ชั่นพื้นฐานของตู้เย็น

แต่ละแบรนด์ จะมีการออกแบบฟังก์ชั่นที่คล้ายคลึงกัน เพียงแต่จะมีการดีไซน์และการจัดวางที่แตกต่างกัน โดยฟังก์ชั่นพื้นฐานของตู้เย็นที่ควรมี คือ ชั้นวางที่สามารถถอดได้สะดวก ง่ายต่อการปรับขนาดช่องแช่และการทำความสะอาด, ช่องผักและผลไม้ เพื่อควบคุมความเย็นและความชื้น ให้วัตถุดิบคงความสดได้นาน, ชั้นวางขวดน้ำ ควรมีขนาดรองรับขวดน้ำทุกขนาดได้ และลิ้นชักช่องแช่ ควรมีช่องแยกภายใน ที่สามารถปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมกับอาหารที่แช่

3. เลือกวัสดุที่แข็งแรงคงทน

วัสดุที่ใช้ภายในตู้เย็นมีหลายประเภท โดยควรเลือกตู้เย็นที่ใช้วัสดุที่มีความแข็งแรง ทำความสะอาดง่าย สามารถรับน้ำหนักได้ดี

4. ความเงียบของการทำงาน

เนื่องจากตู้เย็นเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องเปิดไว้ตลอดเวลา สำหรับตู้เย็นบางรุ่นที่ใช้วัสดุคุณภาพระดับเกรดรอง จะมีข้อเสียในเรื่องของเสียงดังขณะทำงาน ซึ่งอาจทำให้เกิดความรำคาญในบางคน ดังนั้นหากใครที่ค่อนข้างให้ความสำคัญกับเรื่องเสียง ควรสอบถามกับพนักงานขายว่าตู้เย็นรุ่นนี้ มีเสียงดังแค่ไหน เพื่อป้องกันปัญหากวนใจในอนาคต

5. นวัตกรรมสำหรับตู้เย็นประหยัดไฟ

ปัจจุบันตู้เย็นมีนวัตกรรมในการถนอมอาหารและประหยัดพลังงานเพิ่มเติมมามากมาย ไม่ว่าจะเป็น

- ระบบทำความเย็นแบบคู่ (Dual-Cooling System) ที่จะช่วยกระจายลมเย็นจากช่องแช่ธรรมดากับช่องแช่แข็ง

- ระบบกรองอากาศ (Air Filtration) ช่องกรองอากาศแบบคาร์บอน ที่สามารถลดกลิ่นอับภายใน

- แผงควบคุมการทำงาน (Programmable Control Pad) แผงตั้งค่าอุณหภูมิเพื่อช่วยในการเก็บกักความเย็น ตรวจวัดตัวกรอง รวมถึงระดับน้ำในตู้เย็น

- ระบบประหยัดพลังงาน (Energy-saving Models) นวัตกรรมที่จะช่วยให้ตู้เย็นสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ งดใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น ทำให้ตู้เย็นประหยัดไฟ

6. เลือกตามความเหมาะสมของการใช้งานและระดับราคา

เพื่อให้ตอบรับกับประเภทผู้ใช้งานที่แตกต่างกัน ตู้เย็นในปัจจุบันจึงมีหลายขนาด ซึ่งก็จะมีราคาแตกต่างกันไปด้วย การเลือกซื้อตู้เย็นก็สามารถเลือกจากขนาดและราคาที่เหมาะสม

- ตู้เย็นขนาดเล็ก ราคาประมาณ 4,000-6,000 บาท เหมาะกับห้องที่มีขนาดเล็ก จุของน้อย

- ตู้เย็นแบบ 1 ประตู ราคาประมาณ 5,000-7,000 บาท เหมาะกับที่พักอาศัยทั่วไปที่ไม่เน้นจุของเยอะ

- ตู้เย็นแบบ 2 ประตู แยกช่องแช่แข็งและแช่ปกติ ราคาประมาณ 9,000-30,000 บาท เหมาะกับการใช้งานทั่วไป

- ตู้เย็นแบบ 2 ประตูแยกซ้ายขวา เหมาะสำหรับการจุของปริมาณมาก ราคาประมาณ 40,000-100,000 บาท

- ตู้เย็นแบบหลายประตู มีการแยกช่องแช่หลายจุ ราคาประมาณ 50,000-160,000 บาท

เลือกตู้เย็นแบบไหนให้เหมาะกับจำนวนคนภายในบ้าน

ตู้เย็นมีหน่วยเรียกขนาดว่า ‘คิว’ ซึ่งมาจาก Cubic foot หรือลูกบาศก์ฟุต โดยวัดเป็นลิตรตามความจุของตู้เย็น ดังนั้นการเลือกตู้เย็นให้เหมาะกับการใช้งาน จึงควรเลือกขนาดความจุตู้เย็นที่เพียงพอสำหรับปริมาณสมาชิกภายในบ้าน ซึ่งสามารถคำนวณได้จากขนาดความจุนี้ได้เช่นกัน

โดยมีสูตรคำนวณขนาดตู้เย็นคือ

ขนาดตู้เย็นที่เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว

ถ้าหากว่าการคำนวณตัวเลขนั้นวุ่นวายเกินไป ก็สามารถเลือกขนาดตู้เย็นจากปริมาณการใช้งานที่เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกภายในบ้านได้ โดยเฉลี่ยแล้วต่อหนึ่งคน จะใช้ปริมาณความจุประมาณ 100-150 ลิตร 

1. สมาชิกในบ้าน 1-2 คน ใช้ความจุประมาณ 200-300 ลิตร ควรเลือกตู้เย็นขนาด 7-13 คิว (ปริมาณความจุ 200-380 ลิตร)

2. สมาชิกในบ้าน 3-4 คน ใช้ความจุประมาณ 350-530  ลิตร ควรเลือกตู้เย็นขนาด 12-18  คิว (ปริมาณความจุ 350-530 ลิตร)

3. สมาชิกในบ้านตั้งแต่ 5 คน ใช้ความจุประมาณ 440 ลิตรขึ้นไป ควรเลือกตู้เย็นขนาด 15 คิวเป็นต้นไป (ปริมาณความจุ 440 ลิตรขึ้นไป)

นอกจากในเรื่องของขนาดความจุที่เหมาะสมกับปริมาณผู้ใช้งานแล้ว ยังต้องพิจารณาในเรื่องของความถี่ในการใช้ ขนาดของวัตถุดิบ พฤติกรรมการรับประทาน รวมไปถึงความถี่ในการทำอาหาร ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถจำกัดตัวเลือกของตู้เย็นให้แคบลง และเลือกได้เหมาะสมกับการใช้งานของคนในบ้านได้จริง ๆ

ความกว้าง​ x ความสูง x ความลึก (หน่วยเป็นฟุต) = ขนาดคิวบิกฟุต

โดยสามารถเปลี่ยนจากคิวบิกฟุต เป็นลิตรได้ โดยใช้เครื่องมือคำนวณ หรืออัตราส่วน 1 ลิตร = 0.0353147 คิว โดยจะได้ค่าความจุประมาณ 114-116 ลิตร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook