“แผลกดทับ” ป้องกันได้ เริ่มที่ดูแลผิวให้แข็งแรง

“แผลกดทับ” ป้องกันได้ เริ่มที่ดูแลผิวให้แข็งแรง

“แผลกดทับ” ป้องกันได้ เริ่มที่ดูแลผิวให้แข็งแรง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง นอกจากการกินยาและดูแลตามความจำเป็นในชีวิตประจำวันแล้ว เรื่องใหญ่ที่ต้องระวังเป็นพิเศษคงไม่พ้นเรื่อง “แผลกดทับ” เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่อาจจะอันตรายถึงชีวิตได้ แต่รู้หรือไม่ว่า “แผลกดทับ” นั้นป้องกันได้

วันนี้ 3เอ็ม คาวิลอน จะมาช่วยทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “แผลกดทับ” ที่เป็นการบาดเจ็บหรือเกิดแผล อันเป็นผลจากเนื้อเยื่อถูกกดทับเป็นเวลานานหรือกดทับรุนแรง ทำให้เลือดผ่านมาเลี้ยงได้น้อยกว่าปกติ ส่งผลให้เนื้อเยื่อขาดออกซิเจนและสารอาหารจนในที่สุดเนื้อเยื่อจะบาดเจ็บและตาย นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น เช่น สภาพผิวหนังที่อ่อนแอ เนื่องจากผิวเปียกชื้น ผิวบวมน้ำ การขาดสารอาหาร โรคและการรักษาที่มีผลต่อสภาพผิว รวมถึงการเสียดสี ทำให้เกิดเป็นแผลในที่สุด

ใครเสี่ยงต่อการเป็นแผลกดทับบ้าง?

แผลกดทับ

หลักๆ แล้ว คือ ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะ "ติดเตียง" ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เช่น ผู้ป่วยอัมพาต ผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนเพลียมากๆ ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ฯลฯ นอกจากนี้ ยังพบบ่อยในผู้ที่ขาดสารอาหาร และผู้ป่วยที่การไหลเวียนของโลหิตไม่ดี โดยบริเวณที่เกิดแผลกดทับได้บ่อย ได้แก่ บริเวณที่มีหนังหุ้มกระดูก ตามปุ่มกระดูก เช่น ผู้ที่นอนหงายท่าเดียวนานๆ มักจะพบแผลกดทับที่บริเวณกระดูกส้นเท้า กระดูกก้นกบ ข้อศอก สะบัก หรือผู้ที่นอนตะแคงท่าเดียวนานๆ จะพบแผลกดทับที่บริเวณสันตะโพก ต้นแขน หู ตาตุ่ม เป็นต้น

แผลกดทับ น่ากลัวกว่าที่คิด 

เพราะแผลกดทับไม่ใช่แค่แผลธรรมดาทั่วไป อาจจะรุนแรงลึกถึงกระดูก เกิดการติดเชื้อและเนื้อตายซึ่งอาจลามไปสู่การตัดอวัยวะบางส่วนได้ โดยบริเวณที่ต้องดูแลเป็นอย่างมาก เพราะเสี่ยงจะเป็นแผลกดทับและติดเชื้อได้ง่าย นั่นคือ บริเวณที่เกี่ยวข้องกับการสัมผัสสิ่งขับถ่ายนั่นเอง 

เพราะคนเราต้องขับถ่าย ผู้ป่วยติดเตียงก็เช่นกัน แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ เมื่อผู้ป่วยขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะแล้ว ของเสียมักจะค้างอยู่ในผ้าอ้อมระยะเวลาหนึ่งก่อนได้รับการทำความสะอาด จึงเกิดความอับชื้นได้ง่าย เสี่ยงต่อการอักเสบของผิวและเกิดแผลกดทับได้ง่ายที่สุด

ทำความสะอาดดี มีชัยไปกว่าครึ่ง

หนึ่งในการดูแลสุขภาพผิวเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ คือ ดูแลให้สภาพผิวแข็งแรง มีความชุ่มชื้นที่พอดี และเลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีความอ่อนโยนเหมาะสมกับสภาวะผิวของคนป่วย จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดแผลได้ เพราะในผู้ป่วยติดเตียงและผู้สูงอายุที่กลั้นสิ่งขับถ่ายไม่ได้ ผิวจะเปียกชื้นและอาจมีการอักเสบจากด่างและเอนไซม์ในอุจจาระ นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นด่างต่อผิวและการขัดถู และความเปียกชื้นจากการล้างน้ำบ่อยครั้ง จะเสริมให้เกิดการอักเสบได้ด้วย ซึ่งผิวที่อักเสบแล้วมีโอกาสเกิดแผลกดทับได้สูงถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับสภาพผิวปกติ

แผลกดทับ

ในกรณีที่ต้องการ ป้องกันการเกิดแผลกดทับ 3เอ็ม คาวิลอน แนะนำว่าต้องเริ่มจากการป้องกันไม่ให้เกิดผิวหนังอักเสบจากสิ่งขับถ่ายเป็นสิ่งสำคัญ โดยสามารถทำได้ง่ายๆ ใน 3 ขั้นตอน 

  1. สเปรย์ทำความสะอาด ใช้ 3เอ็ม คาวิลอน โนริน สกิน คลีนเซอร์ (3M Cavilon No Rinse Skin Cleanser) หลังทำความสะอาดเช็ดอุจจาระออกแล้วด้วยสำลีชุบน้ำ เพิ่มความมั่นใจด้วยการใช้สเปรย์โดยเฉพาะทำความสะอาดแทนสบู่ เพื่อลดความระคายเคือง
  2. ครีมเสริมสมดุลผิว คืนค่าความสมดุลให้กับผิวด้วยครีมจาก 3เอ็ม ที่มีค่า PH สมดุล เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น และลดการเกิดผิวหนังแตกแห้งเป็นขุยจากการทำความสะอาดในแต่ละครั้ง  
  3. ฟิล์มปกป้อง การใช้สเปรย์แบบฟิล์มเคลือบผิวไว้อีกชั้น จะช่วยลดการเกิดการระคายเคืองจากสารคัดหลั่งต่างๆ หรือปัสสาวะที่ไหลค้างได้

เพียงแค่ใส่ใจในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงให้มีสภาพผิวที่แข็งแรง ช่วยให้ห่างไกลจาก "แผลกดทับ" จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น ช่วยลดความเจ็บปวด ทรมาน และความเสี่ยงจากการติดเชื้อรุนแรงที่จะเกิดขึ้น ทำให้ผู้ป่วยติดเตียง สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างมั่นใจอีกครั้ง 

สำหรับผู้ที่สนใจเคล็ดลับการป้องกันการเกิดแผลกดทับ และการดูแลผู้ป่วยติดเตียงแบบผู้เชี่ยวชาญ จาก 3เอ็ม คาวิลอน (3M Cavilon) สามารถติดตามรายละเอียดดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://youtu.be/vIuyk2Xr3SY , www.3mdelivery.com และ https://bit.ly/2meWEhm

 

*ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก 3เอ็ม คาวิลอน

(Advertorial)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook