สถานีรถไฟบางกอกน้อย

สถานีรถไฟบางกอกน้อย

สถานีรถไฟบางกอกน้อย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สถานีรถไฟธนบุรี เรียกอีกชื่อว่า "สถานีรถไฟบางกอกน้อย" สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ.2443 บริเวณปากคลองบางกอกน้อยซึ่งเป็นที่ดินเวนคืนจากชาวมุสลิมโดยพระองค์ได้พระราชทานที่ดินฝั่งตรงกันข้าม พร้อมกับสร้างมัสยิด "อันซอริซซุนนะห์" (มัสยิดหลวง) ให้เป็นการทดแทน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเปิด "สถานีรถไฟธนบุรี" ในวันที่ 19 มิถุนายน 2446เปิดเดินรถวันที่ 1 เมษายน 2446 บริเวณริมคลองบางกอกน้อย อันเป็นเส้นทางสู่ภาคใต้และภาคตะวันตกของประเทศทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นศูนย์รวมของผู้คนที่จะเดินทางออกจากเมืองหลวง โดยอาศัยเรือข้ามฟากแม่น้ำเจ้าพระยา (สมัยนั้นยังไม่มีสะพานข้าม)

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้ใช้สถานีรถไฟเป็นฐานที่มั่นสำหรับขนส่งยุทธปัจจัยไปจังหวัดกาญจนบุรีและเป็นแหล่งบัญชาการสงครามในภูมิภาคนี้เพื่อโจมตีพม่า มาเลเซียและสิงคโปร์ ญี่ปุ่นอาศัยรถไฟเป็นเส้นทางลำเลียงของกองทัพ สถานีรถไฟธนบุรีจึงเป็นจุดยุทธศาสตร์ใน การโจมตีของฝ่ายสัมพันธมิตร จึงถูกฝ่ายสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดจนอาคารต่างๆ ถูกทำลายหมดสิ้น ต่อมาในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ได้ทำการปรับปรุงขึ้นใหม่ โดยคงรูปแบบเดิมไว้และให้มีการเดินรถไฟ จากสถานีไปยัง สมุทรสาคร นครปฐม หัวหิน และกาญจนบุรีตัวอาคารสถานีปัจจุบันได้สร้างเสร็จเมื่อ ปีพ.ศ. 2493

ที่ตั้ง

ทิศเหนือ จรดคลองบางกอกน้อย
ทิศตะวันตก พื้นที่รางรถไฟ
ทิศตะวันออก จรดแม่น้ำเจ้าพระยา
ทิศใต้ ติดโรงพยาบาลศิริราชและตลาดบางกอกน้อย

ปัจจุบันสถานีรถไฟธนบุรีแห่งนี้มีขบวนรถให้บริการวันละ 14 ขบวน คือ ขบวน 251/252 (ธนบุรี - ประจวบฯ - ธนบุรี), 253/254 (ธนบุรี - หลังสวน - ธนบุรี), 255/256 (ธนบุรี - หลังสวน - ธนบุรี), 257/258 (ธนบุรี - น้ำตก - ธนบุรี), 259/260 (ธนบุรี - น้ำตก - ธนบุรี), 351/352 (ธนบุรี - ราชบุรี - ธนบุรี) 353/354 (ธนบุรี - นครปฐม - ธนบุรี) วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างทางรถไฟสายใต้ ขนาดกว้าง 1 เมตรจากปากคลองบางกอกน้อย - เพชรบุรี ระยะทาง 150 กิโลเมตร และเปิดเดินรถได้เมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2446

ปัจจุบันการรถไฟฯ ได้จัดเก็บและบำรุงรักษารถจักรไอน้ำเพื่อใช้ลากจูงขบวนรถในวันสำคัญต่างๆ จำนวน 5 คัน จัดเก็บไว้ที่โรงรถจักรธนบุรี โดยอยู่ในความรับผิดชอบของ สารวัตรงานรถจักร ธนบุรี ดังนี้

1. รถจักรไอน้ำ ซี 56 การรถไฟฯ สั่งมาใช้การ 46 คัน หมายเลข 701 - 746 ปัจจุบันเหลือการใช้งาน 2 คัน หมายเลข 713, 715 ใช้ฟืนเป็น เชื้อเพลิงแบบล้อ2-6-0 (ล้อนำ 2 ล้อกำลัง 6 ล้อตาม 0) สร้างในประเทศญี่ปุ่นนำมาใช้การเมื่อ พ.ศ. 2489 ใช้วิ่งในงานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว จงหวัด กาญจนบุรี ซึ่งจัดงานประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน

โรงรถจักรธนบุรี

วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีเปิดเดินรถไฟครั้งแรก ระหว่าง กรุงเทพฯ - อยุธยา ระยะทาง 71 กิโลเมตรเดือนธันวาคม ของทุกปี และใช้วิ่งในการถ่ายทำภาพยนตร์ตามที่ขอเช่า

1. รถจักรไอน้ำแปซิฟิก ( PACIFIC ) การรถไฟฯ สั่งมาใช้การจำนวน 30 คัน รุ่นหมายเลข 821 - 850 ปัจจุบันมีเหลือใช้การ 2 คัน หมายเลข 824 , 850 เดิมใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง ภายหลังการรถไฟฯ ดัดแปลงใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิง แบบล้อ 4 - 6 - 2 ( ล้อนำ 4 ล้อกำลัง 6 ล้อตาม 2 ) สร้างโดย สมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น นำมาใช้การเมื่อปี พ.ศ. 2492 - 2494

2.รถจักรไอน้ำมิกาโด ( MIKADO ) การรถไฟฯ สั่งมาใช้การจำนวน 70 คันหมายเลข 901 - 970 ปัจจุบันมีเหลือใช้การ 1 คัน หมายเลข 953 เดิมใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงภายหลังการรถไฟฯ ดัดแปลงใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิง แบบล้อ 2 - 8 - 2 ( ล้อนำ 2 ล้อกำลัง 8 ล้อตาม 2 ) สร้างโดยสมาคม อุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น นำมาใช้การเมื่อปี พ.ศ. 2492 - 2494

รถจักรไอน้ำแปซิฟิก และ มิกาโด ใช้วิ่งทำขบวนพิเศษโดยสารในวันสำคัญต่างๆ ดังนี้

- วิ่งทำขบวนทุกวันที่ 26 มีนาคม ของทุกปี เนื่องในวันสถาปนากิจการการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยวิ่งทำขบวนจากสถานีกรุงเทพฯ ( หัวลำโพง ) - สถานีอยุธยา ไปและกลับโดยเปิดให้ประชาชนทั่วไปซื้อตั๋วรถไฟนั่งเที่ยวย้อนอดีตโดยใช้รถพ่วง 10 คัน

- วิ่งทำขบวนทุกวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปีเนื่องในวันปิยมหาราช โดยวิ่งระหว่าง กรุงเทพ - อยุธยา

- วิ่งทำขบวนทุกวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยวิ่งระหว่าง กรุงเทพฯ - อยุธยา

- วิ่งทำขบวนพิเศษต่างๆ ตามที่มีผู้ขอเช่า เช่น ถ่ายทำภาพยนตร์การรถไฟฯ ได้ทำการจัดซื้อรถจักรดีเซล มาใช้การครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2471จำนวน 2 คัน ยี่ห้อ ซุลเลอร์ 180 แรงม้า ผลิตในประเทศ สวิสเซอร์แลนด์

สถานที่น่าสนใจบริเวณใกล้เคียงสถานีรถไฟบางกอกน้อย

หอไตร 3 หลังแฝด อายุ 200 ปี ที่วัดระฆังโฆสิตาราม

วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นวัดโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยา และเป็นที่ประทับ ของสมเด็จพระสังฆราช (สี) ด้วยเหตุนี้ รัชกาลที่ 1 จึงมีพระราชประสงค์ ที่จะปฏิสังขรณ์ให้สง่างาม โดยโปรดเกล้าฯ ให้ขุดสระ รื้อพระตำหนัก และหอนั่ง มาปลูกเป็นหอไตร 3 หลังแฝด เชิงชายเป็นรูปเทพนมเรียงรายเป็นระยะ ภายในเขียนภาพจิตรกรรมบนไม้สัก บานประตูห้องด้านใต้ เขียนลายรดน้ำ บานประตูห้องกลางด้านตะวันออก แกะเป็นลายนกวายุภักษ์ ประกอบกนกเครือเถา บานประตูนอกชาน แกะลายมังกร ลายกนกดอกไม้ มีตู้พระไตรปิฎกขนาดใหญ่ สมัยแยุธยา ประดิษฐานในหอนอน และหอนั่ง ลายรดน้ำและลายแกะ กล่าวกันว่า เป็นฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 (เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศ เป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอศรสุนทร) กับครูช่าง จากกรุงศรีอยุธยา

ภาพประชันฝีมือช่างเอก สมัยรัชกาลที่ 3

ช่างเขียนภาพไทยโบราณ "คู่เอก" ที่แข่งขันประชันฝีมือ จนกลายเป็นตำนาน คือ ครูทองอยู่ (หลวงวิจิตรเจษฎา) และ ครูคงแป๊ะ (หลวงเสนีบริรักษ์) มี "เวที" หนึ่ง ที่ครูทั้งสองได้ฝากฝีมือเอาไว้ คือ บนฝาผนังด้านตะวันตกของพระอุโบสถ วัดสุวรรณาราม

วัดสุวรรณารามสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เดิมเรียกว่า วัดทอง สมัยรัชกาลที่ 1 มีการปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งวัด งานจิตรกรรมฝาผนัง ในพระอุโบสถ ฝีมือทั้งสองท่านนั้น ยังคงปรากฏแจ่มชัด เป็นมรดกอันทรงคุณค่า ที่หาชมได้ยากยิ่งในปัจจุบัน ครูทองอยู่เขียนเรื่อง เนมิราช ส่วนครูคงแป๊ะ เขียนเรื่อง มโหสถ ลีลาการเขียนของครูทอง อยู่เป็นแบบไทยแท้ ฝีมือละเอียด เอกลักษณ์ คือ การตัดเส้นใช้สีแดง สีน้ำเงิน และสีน้ำตาล ตรงกันข้ามกับครูคงแป๊ะ ซึ่งเขียนเป็นขบวนทัพ เต็มไปด้วยผู้คน ทั้งจีน ไทย เทศ ภาพแต่ละภาพ มีชีวิตชีวา สีที่ใช้โดยรวมเป็นสีเขียวสดใส

นอกจากภาพเขียนแล้ว ตัวพระอุโบสถ ก็มีความน่าสนใจไม่น้อย โดยเฉพาะที่หน้าบัน เป็นงานไม้แกะสลัก รูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ล้อมรอบด้วยเหล่าเทพยดา

หลวงพ่อโบสถ์น้อยพ้นภัยระเบิด สมัยสงครามโลก

วัดอัมรินทราราม เดิมชื่อ วัดบางว้าน้อย เป็นวัดโบราณ กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข หรือ "วังหลัง" ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งอาราม พร้อมทั้งได้รับพระราชทาน นามวัดใหม่ เป็น วัดอัมรินทราราม จากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 อีกด้วย

พระอารามนี้ได้รับการทำนุบำรุง สืบมาอีกร้อยกว่าปี กระทั่งถึงสมัย ปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝ่านสัมพันธมิตร ระดมทิ้งระเบิด ทำลายสถานีรถไฟบางกอกน้อย จนพังพินาศ เพื่อตัดเส้นทางลำเลียงกำลัง ของทหารญี่ปุ่น วัดอมริทราราม ซึ่งตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟ พลอยถูกลูกหลงจนเสียหาย ย่อยยับไปด้วย คงเหลือแต่วิหารหลังหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปปูนปั้น พุทธลักษณะงดงาม ตามแบบศิลปะอยุธยา นามว่า "หลวงพ่อโบสถ์น้อย" ที่รอดพ้นมาได้ ชาวบ้านซึ่งนับถือในความศักดิ์สิทธิ์ ของหลวงพ่ออยู่แล้ว ก็พากันเสื่อมใส ศรัทธา ในปาฏิหาริย์ครั้งนี้ เพิ่มขึ้นไปอีก กระทั่งทุกวันนี้ ศรัทธาประชาชน ก็ยังเดินทางมากราบไว้ขอพร จากหลวงพ่อมิได้ขาด

ตลาดไร้คาน เขตบางกอกน้อย

ชาวบ้านเรียกว่า ตลาดวัดทอง ตั้งอยู่หลังสำนักงานเขตบางกอกน้อย เป็นตลาดเก่าแก่ อยู่คู่ชุมชนบางกอกน้อย มานานร่วมร้อยปี คนเก่าแก่เล่าว่า เดิมตลาด ตั้งอยู่ริมน้ำ ต่อมา ในปี พ.ศ. 2467 จึงย้ายมาตั้ง ณ พื้นที่ปัจจุบัน ซึ่งเป็นช่วงเวลา ที่ตลาดวัดทองคึกคักมาก มีทั้งตลาดบก และตลาดน้ำ ปัจจุบัน ตลาดวัดทอง ยังคงติดตลาด อยู่ทุกวัน ในล่วงเย็นถึงค่ำ บรรยากาศจะคึกคักกว่าช่วงเช้า แต่กระนั้น สินค้าที่มาวางขาย ก็มีไม่มากนัก เหตุเพราะมีตลาด เกิดขึ้นใหม่ๆ หลายแห่งในละแวกนี้

ความโดดเด่น ของตลาดวัดทอง อยู่ที่ตัวอาคาร ซึ่งมีลักษณะเป็นโรงขนาดใหญ่ เสาและโครงสร้างหลัก เป็นไม้ ยกพื้นเป็นล็อกๆ สำหรับวางสินค้า เมื่อเงยหน้าขึ้นมองชุดเครื่องบน ของหลังคา ก็จะสะดุดตากับชื่อทรงโค้ง วางขวางอาคาร จากหัวเสาด้านหนึ่ง ไปยึดกับหัวเสาอีกด้านหนึ่ง เรียงกันเป็นแถวโค้ง ตลอดความยาวของอาคาร

เมื่อเข้าไปสังเหตุใกล้ๆ จะเห็นว่า วงโค้งของขื่อนี้ เกืดจากการนำไม้ท่อนสั้นๆ นับสิบท่อน มาประกอบกัน ด้วยหมุดเหล็ก ปลายของแต่ละท่อน ที่นำมาประกอบกันนั้น ค่อยๆ หักมุม จนเกิดเป็นขื่อวงโค้งอย่างที่เห็น พื้นที่ตรงกลางของหลังคา จึงมีแต่ขื่อ โดยปราศจากคานรองรับน้ำหนัก เช่น อาคารทั่วไป นับเป็นผลงาน อันเกิดจากฝีมืออันประณีต ของช่างไม้ผู้สร้าง นอกจากความงามแปลกตาแล้ว ขื่อรูปทรงนี้ ยังช่วยเพิ่มพื้นที่ภายในอาคาร ให้ดูโปร่งตากว่าโรงเรือนทั่วๆ ไปด้วย

ชุมชนบ้านบุ

ชุมชนบ้านบุ ชุมชนเล็กๆ ริมคลองบางกอกน้อย ใกล้กับสถานีรถไฟธนบุรี เป็นอีกหนึ่งชุมชน ในกรุงเทพมหานคร ที่มีงานหัตถกรรม อันเป็นมรดกของชุมชน สืบสานกันมาเป็นเวลานาน นั่นก็คือการทำ "ขันลงหินบ้านบุ" โดยมีปรากฏหลักฐาน ในเอกสารสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมา ในชุมชนว่า บรรพบุรุษ ของชาวบ้านบุปัจจุบัน เป็นชาวกรุงศรีอยุธยา ที่ได้อพยพมาตั้งหมู่บ้าน ในราชธานีใหม่ ภายหลังจากเสียกรุงเมื่อพุทธศักราช 2310

ชุมชนบ้านบุจึงสืบเชื้อสาย ต่อเนื่องจากอยุธยา มาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ โดยชาวบ้าน ที่เคยประกอบอาชีพ ช่างบุทำเครื่องทองลงหิน หรือเครื่องทองสัมฤทธิ์ ได้รวมกลุ่มกัน เลือกที่ตั้งบ้านเรือนขึ้น ในทำเลนอกคลองคูเมืองราชธานี บริเวณปากคลองบางกอกน้อย โดยมีวัดอมรินทราราม (วัดบางหว้าน้อย) และวัดสุวรรณาราม (วัดทอง) วัดโบราณสมัยอยุธย าตั้งอยู่เป็นศูนย์กลางของชุมชน ชาวบ้านคงดำรงชีพ ด้วยการทำภาชนะ เครื่องทองลงหิน อยู่เช่นเดิม และสืบเชื้อสาย ถ่ายทอดวิชาช่างบุ ต่อเนื่องกันมา ในชุมชนหลายชั่วอายุคน

สำหรับขันลงหิน อันเลื่องชื่อของบ้านบุนั้น เป็นภาชนะที่ใช้กันแพร่หลาย ในสังคมไทยสมัยก่อน บางบ้านใช้เป็น ขันใส่น้ำดื่ม เพราะขันลงหิน จะช่วยให้น้ำเย็นกว่าปกติ หรือบางบ้านใช้เป็น ขันใส่ข้าวสำหรับตักบาตร เพราะจะทำให้ข้าวมีกลิ่นหอม สำหรับขันลงหิน จากชุมชนบ้านบุ มีชื่อเสียงในเรื่องของ ความทนทานและความสวยงาม เมื่อลองเคาะดู จะมีเสียงดังกังวาน จึงนิยม ทำเป็นเครื่องดนตรีอย่าง ฉิ่ง ฉาบ หรือฆ้อง เป็นต้น

ขอขอบคุณข้อมูล/ภาพประกอบจาก สำนักงานเขตบางกอกน้อย, www.thonburidepot.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook