พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเขียง

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเขียง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียงตั้งอยู่ที่บ้านเชียง ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน มีสถานที่ชม 2 ส่วน คือ ส่วนที่เก็บรักษาโบราณวัตถุ ภายในตัวอาคารทำการจัดเก็บรักษาศิลปโบราณวัตถุ และวัฒนธรรมบ้านเชียงในอดีตอายุประมาณ 4,000-7,500 ปี สำหรับส่วนที่สองนั้นเป็นพิพิธภัณฑ์เปิดอยู่ในบริเวณวัดโพธิ์ศรีใน ซึ่งกรมศิลปากรได้รักษาสภาพของหลุมขุดค้นทางโบราณคดี เพื่อแสดงให้เห็นสภาพของการขุดค้นที่พบโครงกระดูก ภาชนะดินเผา สิ่งของอื่น ๆ ที่ฝังรวมกับศพจัดเป็นพิพิธภัณฑ์เปิดที่เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งแรกในประเทศไทย สำหรับเครื่องปั้นดินเผา "บ้านเชียง" เป็ฯที่รู้จักกันดีทั่วโลก เพราะ "บ้านเชียง" เป็นจุดกำเนิดของอารยธรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์เมื่อ 4,000-7,500 ปี ผ่านมาแล้ว นักโบราณคดีได้สันนิษฐานว่าลายเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงเป็นเครื่องปั้นดินเผาเขียนลายที่เก่าแก่ที่สุดในโลก รวมทั้งนับเป็นมนุษย์ยุคแรกที่มีการใช้โลหะสำริดเป็นเครื่องใช้และเครื่องประดับอีกด้วยเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2535 ที่ประชุมคณะกรรมการคุ้มครองมรดกโลก องค์การยูเนสโกได้ลงมติให้แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงเป็นมรดกโลกทางประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่ง ในบริเวณของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงมีหมู่บ้านหัตถกรรม ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านที่น่าสนใจและเกี่ยวเนื่องกับเรื่องราวของบ้านเชียง คือ หมู่บ้านปั้นหม้อที่ บ้านคำอ้อ บนเส้นทางอุดรธานี-สกลนคร อยู่ปากทางก่อนแยกเข้าบ้านเชียง หมู่บ้านเขียนสีเลียนแบบหม้อเขียนสีบ้านเชียง ที่บ้านปูลู ก่อนถึงบ้านเชียงราว 2 กิโลเมตร หมู่บ้านสานกระติบข้าว ที่บ้านดงเย็นก่อนถึงบ้านเชียง 3 กิโลเมตร และหมู่บ้านทอผ้าสามกษัตริย์ที่บ้านธาตุ บนเส้นทางสายอุดรธานี-สกลนคร เลยจากทางแยกเข้าบ้านเชียงไปประมาณ 5 กิโลเมตรครับบ้านเชียงแหล่งมรดกโลกแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดย webcamman ผลงานของท่านยังปรากฏอยู่หลายอย่างจนทุกวันนี้ แม้ท่าจะวายชนม์ไปนานแล้ว ชาวบ้านยังเคารพอยู่ไม่คลาย เชื่อมั่นว่ายังมีวิญญาณของท่านอยู่ เป็นเทพารักษ์คุ้มครองที่บ้านเชียงแห่งนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook