พิธีทอดกฐิน

พิธีทอดกฐิน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ประวัติการทอดกฐิน ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระเชตวนารามซึ่งเป็นพระอาราม ที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้สร้างถวายเป็นพุทธนิวาส ได้มีภิกษุ 30 รูป ชาวเมืองปาฐา ซึ่งอยู่ ด้านทิศตะวันตกในแค้วนโกศล เดินทางมาหมายจะเฝ้าพระพุทธองค์ ที่เมืองสาวัตถีแต่ มาไม่ทันเพราะใกล้ถึงวันเข้าพรรษา จึงเข้าพักจำพรรษา ณ เมืองสาเกต อันมีระยะทางห่าง จากเมือง สาวัตถีราว 6 โยชน์ ภิกษุทั้ง 30 รูปนั้นล้วนแต่เป็นผู้เคร่งครัดปฏิบัติธุดงค์ และต่างมีความศรัทธา อย่างแรงกล้าที่จะได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดา เมื่อถึงวันออกพรรษาแล้วก็รีบเดินทางไปยัง เมืองสาวัตถีโดยไม่มีการรั้งรอแม้ว่ายังเป็นช่วงที่ฝนยังตกหนักน้ำท่วมอยู่ทั่วไป แม้จะต้อง ฝ่าแดดกรำฝน ลุยโคลนอย่างไรก็ไม่ย่อท้อ เมื่อภิกษุทั้ง 30 รูปได้เข้าเฝ้าพระบรมศาสดาสมความตั้งใจแล้ว ครั้นพระองค์ตรัสถามจึง ได้เล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ทรงทราบ พระพุทธองค์จึงตรัสธรรมมิกถา ภิกษุเหล่านั้นจึงเรียก ประชุมภิกษุสงฆ์ แล้วตรัสอนุญาตให้ภิกษุรับผ้ากฐินได้ ในเมืองออกพรรษาแล้ว นาง วิสาขาได้ทราบพุทธานุญาตและได้เป็นผู้ถวายผ้ากฐินเป็นคนแรก การเตรียมการ เมื่อได้หมายกำหนดการทอดกฐินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้เป็นเจ้าภาพจองกฐิน จะต้อง จัดเตรียมเครื่องกฐินเอาไว้ ได้แก่ ผ้ากฐิน คือ ไตรจีวร พร้อมทั้งเครื่องบริขารอื่นๆตามแต่ศรัทธา (ถ้าจัดเต็มที่มักมี 3 ไตร คือองค์ครอง 1 ไตรคู่สวดองค์ละ 1 ไตร) สำหรับทางวัดก็ต้องบอกแก่กรรมการวัดและญาติโยมผู้มีศรัทธาทั้งหลาย ให้ทราบ หมายกำหนดการ เพื่อที่จะได้มาร่วมแรงร่วมใจกันตกแต่งสถานที่ จัดเตรียมงานและทำ อาหารเลี้ยงแขกที่นำมาทำการทอดกฐิน ครั้นก่อนถึงวันทำพิธีทอดกฐิน 1 วันเรียกว่า วันสุกดิบ ทุกคนจะมาพร้อมกันที่วัด จัดการ ตกแต่งสถานที่ ปักธงชาติ ธงธรรมจักร และธงจระเข้ จัดเตรียมข้าวของเครื่องใช้สำหรับ ถวายพระและใช้ในพิธี การตั้งองค์กฐิน ทางด้านเจ้าภาพเมื่อก่อนถึงวันทอดกฐิน ก็จัดเตรียมเครื่องกฐินไว้ให้พร้อม ตั้งองค์ กฐินไว้ที่บ้านหรือสถานที่กำหนด เพื่อให้เพื่อนบ้านได้มีโอกาสร่วมอนุโมทนาและบริจาค ร่วมบุญกุศล ครั้นถึงวันสุกดิบ จึงแห่ขบวนกฐินไปตั้งที่วัดในตอนเย็น มีมหรสพเฉลิมฉลอง หรือบางแห่งอาจทำการเฉลิมฉลองกันที่บ้านเจ้าภาพซึ่งเป็นที่ตั้งองค์กฐิน แล้วในตอนเช้า ของวันทำพิธีทอดกฐิน หากเป็นกฐินสามัคคีคือมีหลายเจ้าภาพ แยกกันตั้งองค์กฐิน ณ บ้านของเจ้าภาพใน วันรุ่งขึ้น จึงแห่มาทอดรวมกันที่วัด ทั้งนี้เพราะในแต่ละวัด จะรับกฐินได้เพียงปีละครั้งเท่านั้น บางทีมีเจ้าภาพหลายรายยื่นความประสงค์จะจองกฐิน จึงต้องให้ร่วมกันทอดเป็นกฐินสามัคคี Leisure Team
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook