ถนนสายวัฒนธรรม ท่าพระจันทร์

ถนนสายวัฒนธรรม ท่าพระจันทร์

ถนนสายวัฒนธรรม ท่าพระจันทร์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
ท่าพระจันทร์ เมื่อพูดถึงคำว่าท่าพระจันทร์ หลายคนมักจะนึกไปถึงที่ตั้งของมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ที่อยู่แถวๆ สนามหลวง และก็มีอีกหลายต่อหลายคนที่นึกไปถึงย่าน หมอดูแผงลอย พร้อมแหล่งพระเครื่องบนพื้นที่ย่านเดียวกันนี้ รวมไปถึงท่าน้ำที่มี เรือข้ามฟากไปถึงท่าศิริราช ผ่านลำน้ำเจ้าพระยาเป็นต้น ท่าพระจันทร์นี้ แม้ว่าจะดู เป็นท่าน้ำที่มีความคึกคักมากพอๆ กับ ท่าช้างที่อยู่ในละแวกเดียวกัน แต่ดูจากภาย นอกแล้วไม่เก่าแก่เท่า ท่าเตียนอันเป็นท่าเรือข้ามฝากไปยัง วัด อรุณราชวราราม แต่แท้จริงแล้วบริเวณท่าน้ำตรงนี้ เคยเป็นที่ตั้งของป้อมปราการเก่า ที่มีมาตั้งแต่ เริ่มสร้างกรุง ป้อมที่ว่านั้นคือ ป้อมพระจันทร์ ซึ่งเป็น1 ใน 14 ป้อมแรกที่ พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รับสั่งให้สร้างเพื่อป้องกันพระนครขึ้นในปี พ.ศ.2326 กาลต่อมา หลังจากที่ป้อมปราการเก่าชำรุดทรุดโทรม ถึงขีดสุดในช่วงสงคราม โลกนั้น ทางการไทยเชื่อว่า ไทยไม่มีความจำเป็นต้องใช้ ป้อมโบราณเหล่านี้อีกแล้ว อีกทั้งพลเมืองที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ทางการ ต้องทุบป้อมทิ้ง เพื่อสร้างชุมชนใหม่ขึ้น ต่อมา พระอาทิตย์จึงได้กลายมาเป็นเพียงที่ดินโล่ง และ ไม่นานนักที่ดินนี้ก็ กลายมาเป็นวังของกรมหลวงประจักษ์ ศิลปาคม อยู่เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง จากนั้น กรมหลวงประจักษ์ก็ถวายที่ดินนี้ให้กับพระคลังข้างที่ โดยอยู่ในความดู แลของ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และ เปิดให้เอกชนมาเช่าทำ อาคารพาณิชย์ และ สัมปทานที่ทำเรือข้ามฟาก โดยบริเวณที่เป็นท่าเรือนี้ แต่เดิม เป็นทางเดินเท้าข้างกำแพงวังหน้าด้านทิศใต้ ปัจจุบันแม้ว่าพื้นที่บริเวณ ท่าพระจันทร์นั้นจะไม่หลงเหลือเค้าของ ป้อมปราการแล้ว แต่ก็ยังมีเศษเสี้ยวกำแพงวัง ด้านหน้าพอให้เราได้เห็นเป็นหลักฐาน อยู่บ้าง หากเรามองไปทางด้านขวาของท่าน้ำ ก็จะเห็นร่องรอยแนวกำแพงอยู่ การเดินทาง ถนนสายนี้มีเส้นทางรถประจำทางผ่านหลายสาย ได้แก่ ๓ ,๖, ๙, ๑๕, ๓๒, ๓๓, ๕๓, ๖๔, ๖๕, ๘๒, ปอ.๖, ปอ.๑๑, ปอ.๓๙ และ ปอ.พ.๘ ท่านผู้อ่านที่สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมและชมการแสดงต่างๆ ซึ่งแต่ ละชุมชนร่วมกันจัดทุกวันอาทิตย์ โดยเริ่มต้นตั้งแต่อาทิตย์ที่ วันที่ 31 มี.ค.-28 เม.ย.45
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook