อนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย

อนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
เมื่อราว 69 ปีมาแล้ว ที่ประเทศไทย ได้มีการเปลี่ยนการปกครอง จาก ระบอบสมมติเทพ มาเป็นประชาธิปไตย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งถือว่าเป็นยุคที่เศรษฐกิจในประเทศ ตกต่ำ จนถึงขีดสุด และ เมื่อ คณะราษฎร์ ได้มีการก่อ รัฐประหาร จนทำให้รัชกาลที่ 7 ต้องทรงสละราชสมบัติ สัญลักษณ์ของพานทองที่มีสมุดวางอยู่ กลายมาเป็นเครื่องหมายของคำว่ารัฐธรรมนูญ นับแต่นั้นในงานสัมมนาทางวิชาการแห่งหนึ่งอาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ เคยตั้งข้อสังเกตุ ว่า สมุดลงพระนามบนพานทอง นั้น แสดงให้เห็นว่าเป็น การแสดงอาการของ ไพร่ ที่บังคับเอา อำนาจจาก พระเจ้าแผ่นดิน หาไม่แล้ว สมุดนั้นจะต้องไม่มีพานอยู่ ทั้งนี้เพราะ ผู้ที่สูงศักดิ์กว่า ไม่จำเป็นต้องมี พานถวายของ ในทางตรงกันข้าม ผู้น้อยพึงต้องมี พานยื่นถวายของแด่ ผู้สูงศักดิ์ ดังที่เราจะเห็นได้แทบจะทุกวันจาก ข่าวในพระราชสำนัก แม้ว่าประเทศไทย จะมี การเปลี่ยนแปลงการปกครองใน ปี พ.ศ.2475 แต่ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยนี้ กลับมาสร้างในยุค จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในอีก 8 ปีถัดมา ด้วยเหตุผลที่ว่า อนุสาวรีย์นี้ จะเป็นศูนย์กลางแห่งความเจริญทั้งมวล เป็นต้นว่า ถนนสายต่างๆที่จะออกจากกรุงเทพฯ ไปยังหัวเมือง ก็นับต้นทาง จากอนุสาวรีย์นี้ และ เป็นการสนองพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงตั้งพระราชหฤทัยจะทำให้ถนนนี้เป็นที่เชิดชูยิ่ง สาส์นของนายกรัฐมนตรี จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ในการเปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 24 มิถุนายน 2483 และ อนุสาวรีย์นี้ ก็ได้เป็นที่ศูนย์กลางจริงๆ เพราะ นอกจากจะตั้งอยู่บน ถนน ราชดำเนินกลางแล้ว หากแต่ยังเป็นศูนย์รวมผู้ชุมนุม เรียกร้องเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยเมื่อครั้ง ตุลาวิปโยคในปี 2514และ 2519 รวมทั้ง พฤษภาทมิฬในปี 2535 อีกด้วย

สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล

ทีมงานวันว่าง ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับทีมงานวันว่างได้ที่ leisure@th.mweb.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook