ท่า ราชวรดิษฐ์

ท่า ราชวรดิษฐ์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สร้างในสมัย : รัชกาลที่ 1

เมื่อประมาณเดือนที่แล้วที่ แม่น้ำเจ้าพระยา สายน้ำใหญ่ของชาวกรุงเทพฯ และ ของชาวไทยนั้น ถูกปรับแต่งลำน้ำพร้อมท่าน้ำจากฝั่งท่าราชวรดิษฐ์ มาเป็นเวทีแสงเสียงในละครเทิดพระเกียรติที่ชื่อ The River of King ในช่วงเวลาที่ว่านี้เองที่ปลุกให้ ท่าราชวรดิษฐ์ อันมีพระที่นั่งริมน้ำอันเก่าแก่ที่ชื่อ พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย ให้ครื้นเครงขึ้นมาได้อีกครั้งท่า ราชวรดิษฐ์นี้เป็นท่าน้ำ ที่มีมาแต่ครั้งสร้างกรุง ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของพระบรมมหาราชวัง ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้น ชาวบ้านชาววังเรียกกันว่า พระฉนวนน้ำ เพราะท่าน้ำนี้ เป็นท่าประจำพระราชวังหลวงนั่นเอง พระฉนวนน้ำนี้ นอกจากจะตั้งอยู่ทางปีกขวาของพระบรมมหาราชวังแล้ว หากแต่ยังตรงกับประตูวังชั้นนอกที่ชื่อ ประตู อุดมสุภา ด้วย ว่ากันว่า ณ บริเวณประตูอุดมสุภา ข้ามมายังท่าน้ำนี้ เป็นบริเวณที่นัดพบยอดนิยมของสาวข้าหลวง และขุนนางหนุ่ม ดังนั้นทั้งไพร่ และมูลนายทั้งหลายต่างก็เรียกท่าน้ำนี้เล่นๆ ว่า ท่า ขุนนาง มาในรัชสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระราชทานนามให้ท่าขุนนางนี้เสียใหม่ว่า ท่า ราชวรดิษฐ์ หมายถึง ท่าอันประเสริฐแห่งราชการ พร้อมทั้งรับสั่งให้สร้างหมู่พระที่นั่งริมท่าน้ำขึ้นอีก 4 แห่ง อันได้แก่ พระที่นั่งชลังคณพิมาน พระที่นั่งทิพยสถานเทพสถิต พระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย และพระที่นั่งอนงค์ในสราญรมย์ ตามลำดับ ปัจจุบันพระที่นั่งริมท่าน้ำนี้เหลืออยู่เพียงพระที่นั่งราชกิจวินิจฉัย เท่านั้น และพระที่นั่งนี้ก็ได้กลายมาเป็นที่ประทับของเจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ราชกัลยา ในคราวที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ The River of King ถวายแด่สมเด็จพระราชบิดาเมื่อเดือนที่แล้วด้วยสิริลักษณ์ จิตนะดิลกกุลLEISURE TEAM ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับ LEISURE TEAMได้ที่ leisure@th.mweb.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook