ซุ้มประตูวัง แพร่งสรรพศาสตร์ศุภกิจ

ซุ้มประตูวัง แพร่งสรรพศาสตร์ศุภกิจ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
สร้างเมื่อ : พ.ศ.2444

สมัยรัชกาลที่ 5 วังหลวงของเรานั้นเป็นที่ทราบกันดีว่าในช่วงที่มีการสร้างวังมากที่สุดคือ ยุคของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ วังส่วนใหญ่นั้นก็มักจะเป็นวังที่พระพุทธเจ้าหลวงทรงโปรดให้สร้างขึ้นสำหรับเป็นที่พำนักของราชบุตรและราชธิดาในพระองค์ โดยเฉพาะราชบุตรที่สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศนั้น พระองค์มักจะโปรดให้สร้างวังอย่างสมสมัย และ สวยงามตามแบบตะวันตก บนเกาะรัตนโกสินทร์ เขตพระนครนั้น ก็มีพระราชวังที่สร้างขึ้นในยุคกลางรัตนโกสินทร์ และ ยังพอหลงเหลือร่องรอยของวังนั้นก็ยังพอมีให้เห็นอยู่บ้าง และ นอกจากจะมีวังสราญรมย์ซึ่งตั้งอยู่ใกล้พระบรมมหาราชวังเพียงเดินข้ามถนนแล้ว ก็ยังมีเค้าวังเก่าอีกแห่งที่น่าสนใจอยู่ไม่ไกลจากพระบรมมหาราชวังนัก วังนี้ตั้งเป็นเพื่อนบ้าน ศาลเจ้าพ่อเสือ และ วัดมหรรพารามแค่ไม่กี่เมตร วังที่ว่านี้เคยเป็นวังในพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งทรงมีพระนามว่า พรเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจสมเด็จพระองค์เจ้าสรรพศาสตร์ศุภกิจนั้น มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายทองแถม ถวัลย์วงศ์ พระโอรสในเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ และ ในหลวงรัชกาลที่ 4 เมื่อทรงเจริญพระชันษา ก็ทรงเข้ารับราชการเป็นเจ้ากรมช่างมหาดเล็ก ทรงว่าจ้างเหล่าช่างทองไว้ในวังของพระองค์มากมาย และ ใกล้ๆ กันนั้นก็มีห้างทองของชาวเยอรมัน ที่ชื่อนาย แกรเลิต มาตั้งอยู่ด้วย ดังนั้นพระองค์จึงทรงถูกเรียกพระนามอย่างง่ายๆ ว่าพระองค์เจ้าช่างทอง และประทับรับราชการที่วังริมถนนตะนาว ในอาณาเขตติดๆ กันกับพระเชษฐา กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ วังของสมเด็จพระองค์เจ้าสรรพศาสตร์ศุภกิจนี้ แต่เดิมเป็นวังที่ใหญ่โตมาก เพราะมีอาณาเขตทางทิศเหนือจรดไปถึงศาลเจ้าพ่อเสือ และ ตรอกศาลเจ้าครุฑ ทางทิศตะวันออกจรดถนนบ้านตะนาว ทางทิศตะวันตกจรด ถนน อัษฎางค์ และทางทิศใต้ก็ติดกับ วังของกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์แถวๆ แพร่งนราวังใหญ่นี้อยู่มาจนถึงปี พ.ศ 2462 ก็ถูกขายทอดตลาดทันที หลังจากสมเด็จพระองค์เจ้าสรรพศาสตร์ศุภกิจสิ้นพระชนม์ ต่อมาในปี พ.ศ.2510 ก็เกิดไฟใหม้ขึ้นในบริเวณนี้ ส่งผลให้บ้านเรือนเสียหายมากมาย วังนี้ก็ถูกเผาจนเหลือแต่ซุ้มประตูวังด้านหน้าสุดให้เห็น และหลังจากไฟใหม้ในคราวนั้น พื้นที่บริเวณนั้นก็กลายมาเป็นตึกแถวตั้งขึ้นเต็ม และท้ายที่สุดในปีพ.ศ.2519 สถาปนิกสยาม (ในพระบรมราชูปถัมภ์) กรมศิลปากรและสำนักงานผังเมืองจับมือกับกรุงเทพมหานครปรับปรุงซุ้มประตูวังนี้ขึ้นมาใหม่อย่างที่เราได้เห็นกันในปัจจุบันนี้สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล

ทีมงานวันว่าง ท่านผู้อ่านมีคำแนะนำหรือติชมหรือคุยกับทีมงานวันว่างได้ที่ leisure@th.mweb.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook