ปากคลองตลาด

ปากคลองตลาด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในอดีต ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่มนุษย์เรานิยมจะจับจองที่ดินตั้ง เป็นชุมชนขึ้นตามริมน้ำมาโดยตลอด ทั้งนี้ เป็นเพราะสายน้ำเป็นทั้งแหล่ง อาหารและแหล่งสัญจรที่สำคัญที่มนุษย์พึงยึดเพื่อยังชีพนั่นเอง กล่าวถึงการตั้งชุมชนริมน้ำนั้น ประเทศไทยเราเองก็นิยมตั้งชุมชน ริมน้ำเหมือนๆ กับสากลโลกด้วยเหตุผลเดียวกัน และแหล่งทำมาหากินของ ชาวไทยเองก็เกิดขึ้นที่ริมน้ำด้วยเช่นกัน ที่ริมน้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสายหลักของภาคกลางที่หล่อเลี้ยงชีวิตเรามา เนิ่นนานนั้น มีชุมชนใหญ่ที่สำคัญๆ อยู่มากมาย ชุมชนหนึ่งที่ถือว่าเป็นแหล่ง ทำมาหากินของคนบางกอกมานานกว่า 3 ศตวรรษนี้ ตั้งอยู่ระหว่างราชธานีเดิม อย่างกรุงธนบุรีและราชธานีปัจจุบันอย่างกรุงเทพ มหานครพอดิบพอดี ชุมชนนี้ เป็นแหล่งทำมาหากินที่สำคัญเนื่องจากที่นี่เป็น ตลาดสดที่กินเนื้อที่มากที่สุดใน กรุงเทพนั่นเอง ในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยานั้น นอกจากชาวไทยแล้ว ยังมีชาวต่าง ชาติที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ ที่ฝั่งบางกอกไม่น้อย โดยเฉพาะชาวจีน ที่สยามเราทำการค้าสำเภามาตั้งแต่สมัย สุโขทัยนั้น ก็มีบทบาทที่สำคัญที่ช่วยกัน สร้างชุมชนริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้น และที่บริเวณถนนจักรเพชร ระยาวไปจนถึงถนนมหาราชในปัจจุบันที่เราเห็น เป็นตลาดสดขนาดใหญ่ที่ตั้งโอบล้อมวัดราชบูรณะ โรงเรียนราชินีและโรงเรียน สวนกุหลาบนั้น เป็นตลาดสดแหล่งใหญ่ของเกษตรกร ชาวประมงที่จะมาขาย ต่อผู้ค้าคนกลางที่จะส่งไปขายเป็นสินค้าปลีก ย่อยอีกทอดหนึ่งนั้น ประกอบไป ด้วยตลาดใหญ่ถึง 5 แห่งตั้งติดๆ กันเลยทีเดียว ตลาดนี้เราเรียกกันว่า "ปาก คลองตลาด" ปากคลองตลาด ตลาดขนาดใหญ่ที่เรารู้จักกันดีว่าเป็นแหล่งขายส่งผัก ผลไม้สด รวมทั้งดอกไม้สดนั้น แต่ก่อนเป็นตลาดค้าปลาขนาดใหญ่ที่ส่งตรง มาจากแม่น้ำท่าจีน (สมุทรสาคร) แล้วของที่ส่งผ่านมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา มายัง "ปากคลองตลาด" นี้ เกี่ยวข้องกับคำว่า "คลอง" ได้อย่างไร ทำไมไม่ เรียกว่า "ปากแม่น้ำตลาด" นั้น มีบันทึกกล่าวไว้ว่า ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก ทรงโปรดฯ ให้ขุดคลองหลายสายมาตั้งแต่เริ่มสถาปนากรุงเทพกัน เลยทีเดียว และมีคลองเล็กสายหนึ่งที่รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดฯ ให้ขุดที่ข้างวัด บูรณศิริอมาตยารามขึ้น ซึ่งคลองเล็กนี้เองที่ก่อให้เกิดชุมชนริมน้ำขนาดใหญ่ ที่สมัยก่อนเรียกว่า "คลองตลาด" อีกทั้งในย่านที่ไม่ไกลกันนี้ ก็มีคลองขุดที่ฝั่ง บางกอกมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2315 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสิน เรียกว่า "คลองใน" ซึ่งคลองทั้ง 2 แห่งนี้ ก็กลายมาเป็นตลาดสดแหล่งเดียว กันที่ยังคงเน้นการค้าปลาเป็นหลักมาจน ถึงแนดินของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่โปรดฯ จะเรียกตลาดนี้ว่า "ตะพานปลา" มา เพียงช่วงระยะหนึ่ง ก็มีการเปลี่ยนจากตลาดค้าปลาไปยังตำบลวัวลำพอง หัวลำโพง แทน ตลาดปลานี้จึงแปรสภาพเป็นตลาดสดที่ค้า สินค้าเกษตร กรรมที่เน้นการค้าส่งผัก ผลไม้และดอกไม้สด มาจนถึงทุกวันนี้ สิริลักษณ์ จินตนะดิลกกุล

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook