ทำความรู้จัก "วัดสร้อยทอง" พระอารามหลวง ของสอง พส. พระมหาไพรวัลย์-พระมหาสมปอง

ทำความรู้จัก "วัดสร้อยทอง" พระอารามหลวง ของสอง พส. พระมหาไพรวัลย์-พระมหาสมปอง

ทำความรู้จัก "วัดสร้อยทอง" พระอารามหลวง ของสอง พส. พระมหาไพรวัลย์-พระมหาสมปอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากที่ได้เกิดกระแส พส. ฟีเวอร์ จากสองพระนักเทศน์คนดังทั้ง 2 รูปได้แก่ พระมหาสมปอง และ พระมหาไพรวัลย์ แห่งวัดสร้อยทอง ได้ออกมาไลฟ์สดเผยแพร่ศาสนารูปแบบใหม่ผ่านทางโลกออนไลน์ พร้อมกับคำศัพท์และมุกตลกที่เรียกเสียงฮือฮาให้กับผู้ชมทั้งหลายได้เป็นอย่างดี จนบางคนอกว่าถ้าการเผยแพร่ศาสนาสนุกขนาดนี้บางทีอาจจะมีคนสนใจหันหน้าเข้าหาพระพุทธศาสนามากขึ้นกว่านี้ก็ได้

 พระมหาสมปอง พระมหาไพรวัลย์

พระมหาไพรวัลย์

ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่าท่านทั้ง 2 นั้นเป็นพระลูกวัดที่จำพรรษาอยู่ที่ วัดสร้อยทอง พระอารามหลวง ย่านบางซื้อ กรุงเทพฯ มหานคร ซึ่งในวันนี้ Sanook Travel จะขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับวัดของ พส. ทั้งสองรูปกันครับ

วัดสร้อยทอง เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ ตั้งอยู่บริเวณริมถนนประชาราษฎร์สาย 1 ด้านหลังติดแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมมีชื่อว่าวัดซ่อนทอง เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2394 ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

ในอดีตนั้นไม่ปรากฎหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างวัด แต่มีข้อสันนิษฐานว่าคงเป็นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจาก เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) 

วัดสร้อยทอง

ภายในวัดสร้อยทอง มีปูชนียวัตถุที่สำคัญคือ พระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลือง นามว่า หลวงพ่อเหลือ สร้างจากโลหะที่เหลือจากการหล่อพระประธาน ในปี พ.ศ. 2445 ภายในเกศบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของพระอรหันต์ 5 พระองค์

ผ่านมาในปี พ.ศ.2445-2477 ได้มีการบูรณะวัดครั้งใหญ่ โดยได้การร่วมแรงร่วใจกันของประชาชนทั้งชาวไทยและชาวมอญ ในพื้นที่ใกล้เคียง เป็นกำลังสำคัญในการบูรณะช่วงเวลาดังกล่าว โดยใช้งบประมาณ 10,000 บาท, ในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2488 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สะพานพระราม 6 ได้ถูกทิ้งระเบิดลงโดยฝ่ายสัมพันธมิตร โดยมีระเบิดจำนวน 14 ลูก ตกใส่บริเวณวัดสร้อยทองได้รับความเสียหายอย่างมหาศาล มีสิ่งที่เหลือรอดพ้นจากระเบิดเพียงแค่ พระพุทธรูปหลวงพ่อเหลือ หอระฆังและเจดีย์ริมคลองบางซ่อน เท่านั้น

วัดสร้อยทอง1

ในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2545 วัดสร้อยทอง ได้รับการยกฐานะจากวัดราษฎร เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรีชนิดสามัญ ซึ่งได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 18 กรกฎาคม ปีเดียวกัน นั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook