เผยสาเหตุทำไมหนังสือเดินทางทั่วโลกมีแค่ 4 สี

เผยสาเหตุทำไมหนังสือเดินทางทั่วโลกมีแค่ 4 สี

เผยสาเหตุทำไมหนังสือเดินทางทั่วโลกมีแค่ 4 สี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หนังสือเดินทางหรือ Passport ของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกนั้น จะเลือกใช้กันแค่  4 สีเท่านั้นคือ แดง น้ำเงิน เขียว และดำ ซึ่งแต่ละประเทศก็มีเหตุผลที่เลือกใช้สีใดสีหนึ่ง ใน 4 สีนั้น ลองมาดูกันว่า เหตุผลเบื้องหลังคืออะไร

istock-530995868

สีแดง เป็นสีที่เราเห็นกันมากที่สุด หนังสือเดินทางสีนี้ ประเทศที่เลือกใช้มักจะเป็นประเทศที่มีประวัติยาวนาน หรือไม่ก็ปัจจุบันยังใช้ระบบคอมมิวนิสต์ พลเมืองของประเทศสโลวาเนีย จีน เซอร์เบียร์ รัสเซีย ลัตเวีย โรมาเนีย โปแลนด์ และจอร์เจีย ใช้หนังสือเดินทางสีแดง ส่วนประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป ยกเว้นโครเอเธีย จะใช้สีแดงเบอร์กันดี และเฉดสีอื่น ๆ ของสีแดง ประเทศที่สนใจจะเข้าร่วมกลุ่มสหภาพยุโรป อย่างเช่นตุรกี มาซีโดเนีย และอัลบาเนีย ก็ได้เปลี่ยนสีหนังสือเดินทางมาเป็นสีแดงเมื่อไม่กี่ปีมานี้ นอกจากนั้นกลุ่มประชาคมแอนดีส อย่างโบลิเวีย โคลัมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู ก็ใช้สีแดงเบอร์กันดีเช่นกัน

สีน้ำเงิน เป็นอีกสีหนึ่งที่ใช้กันเป็นการทั่วไป โดยสีน้ำเงินเป็นสัญญาลักษณ์ของโลกใหม่  15 ประเทศแคริบเบียน ใช้หนังสือเดินทางสีนี่ ส่วนในกลุ่มประเทศอเมริกาใต้ สีน้ำเงินของหนังสือเดินทาง เป็นสัญาลักษณ์ของการเชื่อมต่อทางการค้า ซึ่งจะมีบราซิล อาร์เจนติน่า และปารากวัย แต่เวเนซุเอล่านั้น เป็นข้อยกเว้น เพราะใช้สีแดง ส่วนสหรัฐอเมริกานั้น ได้เปลี่ยนมาใช้หนังสือเดินทางสีน้ำเงินตั้งแต่ปี 1976

สีเขียว เป็นสีที่ประเทศมุสลิมส่วนมากเลือกใช้ เช่น โมร็อคโค ซาอุดิอาระเบีย และปากีสถาน โดยสีเขียวนั้น จัดว่าเป็นสีที่โปรดปรานของนบีมูฮัมหมัด และเป็นสัญญาลักษณ์ของธรรมชาติ และชีวิต นอกจากนี้ ประเทศในกลุ่มอัฟริกันตะวันตก เช่น เบอร์กิน่าฟาโซ ไนจีเรีย ไนเจอร์ ไอเวอรี่โคสต์ และเซเนกัล ก็เลือกใช้เฉดสีเขียวเช่นกัน โดยประเทศในกลุ่มนี้ เห็นว่า สีดังกล่าว คือการเป็นสมาชิกของ ECOWAS หรือ  ประชาคมเศรษฐกิจอัฟริกาตะวันตก

สีดำ เป็นสีที่ถูกเลือกใช้น้อยที่สุด ประเทศที่เลือกใช้ จะเป็นประเทศอัฟริกัน บางประเทศ เช่น บอตสวานา แซมเบีย บุรุนดี กาบอง แองโกลา ชาด คองโก มาลาวีและประเทศอื่น ๆ พลเมืองของนิวซีแลนด์ ก็ใช้หนังสือเดินทางเช่นกัน เพราะสีดำนั้น เป็นสีประจำชาติ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook