ท่องเที่ยวสไตล์พิศาล พาชม "บ้านป่องนัก" ที่ประทับแรม Unseen ของสองกษัตริย์ไทย
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/tr/0/ud/279/1395733/hili.jpgท่องเที่ยวสไตล์พิศาล พาชม "บ้านป่องนัก" ที่ประทับแรม Unseen ของสองกษัตริย์ไทย

    ท่องเที่ยวสไตล์พิศาล พาชม "บ้านป่องนัก" ที่ประทับแรม Unseen ของสองกษัตริย์ไทย

    2015-07-13T09:48:57+07:00
    แชร์เรื่องนี้

             ท่องเที่ยวสไตล์พิศาล พาชม บ้านป่องนัก บ้านอายุ 90ปี ที่สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2468 เพื่อเป็นที่ประทับแรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินมณฑลพายัพในเดือนมกราคม พ.ศ.2469 และต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรในภาคเหนือเมื่อเดือนมีนาคมพ.ศ.2501 ก็ได้ทรงประทับแรมที่นี่ เช่นกัน

    บ้านป่องนักเป็นภาษาคำเมืองที่คนในภาคเหนือเรียกกัน คำว่า "ป่อง"หมายถึงหน้าต่าง คำว่า "นัก" หมายถึงมาก บ้านป่องนักจึงหมายถึงบ้านที่มีหน้าต่างมาก

              บ้านป่องนักเป็นสถาปัตยกรรมยุโรปแบบคลาสสิกสมัยกรีก ราวศตวรรตที่13 ผสมผสานกับสถาปัตยกรรมแบบไทย ลักษณะหน้าต่างแบบเป็นเกล็ดมี 250 บาน ช่องหน้าต่าง 469 ช่อง ตัวบ้านเป็นอาคารไม้สัก 2 ชั้นยกพื้นเตี้ย มีหน้ามุขแบบ5 เหลี่ยม จำนวน 5 มุข หลังคาทรงปิรามิด

    ปัจจุบันบ้านป่องนักเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์มณฑลทหารบกที่ 32 ค่ายสุรศักดิ์มนตรี จังหวัดลำปาง ชั้นล่างของอาคารจัดเป็นที่แสดงอาวุธบางส่วนที่ใช้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

    ห้องวีรกรรม จัดแสดงอาวุธยุทธภัณฑ์สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

              ประมาณปีพ.ศ. 2445 พวกเงี้ยวมณฑลพายัพได้ก่อการกบฏขึ้นที่เมืองแพร่ และก่อเหตุไปถึงนครลำปาง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้ พลตรีเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (ยศในขณะนั้น) เป็นแม่ทัพไปปราบปราม เมื่อได้ปราบปรามเงี้ยวจนสงบเรียบร้อยแล้ว พลตรีเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี พิจารณาเห็นควรให้มีกองทหารตั้งที่ลำปาง เพื่อป้องกันไม่ให้มีเหตุร้ายเกิดขึ้นอีก จึงได้กราบบังคมทูลเรื่องนี้ให้ทรงทราบ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งกองทหารขึ้นที่จังหวัดลำปางเป็นครั้งแรก และพระราชทานนามค่ายทหารนี้ว่า "ค่ายสุรศักดิ์มนตรี"

    ภาพถ่ายพลตรีเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี

    เหรียญสงครามของทหารที่สู้รบในสงคราม

     หมวกทหารญี่ปุ่น

    หมวกเหล็กทหารไทย

    ปืนที่ชาวลำปางช่วยกันบริจาคเงินซื้อให้ทหารใช้ในสงคราม

    หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ก็พาขึ้นไปชมห้องทรงงาน และห้องบรรทมบนชั้น 2

    ห้องทรงงาน ได้จัดให้เป็นห้องเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

    พระแสงดาบคาบค่าย

    พระแสงของ้าว

    พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง

    จากนั้นเราก็เดินไปชมห้องบรรทมและห้องสรง ที่อยู่ติดกับห้องทรงงานชั้นบน

    ห้องบรรทมเรียบง่าย สวยงาม

    ของใช้ส่วนพระองค์ในตู้

     อีกมุมหนึ่งของห้องบรรทม

    ห้องสรง

    พระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จย่า

    โต๊ะเสวย

    ห้องแสดงเครื่องใช้ในครัวที่ใช้ในสมัยนั้น

    วิทยุในสมัยนั้น

    นอกจากนี้ก็ยังมีห้องจัดแสดงเกี่ยวกับภาพเขียนสีประตูผาที่คล้ายกับที่ผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี และยังมีการแสดงภาพถ่ายโบราณอีกมากมาย เช่น ภาพการแต่งกายของหญิงชาวล้านนาเมื่อปี พ.ศ.2445 เป็นต้น

              ลำปางยังมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายทั้งทางธรรมชาติ เช่นอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนที่เป็นธรรมชาติสวยงามมากท่ามกลางขุนเขา มีแหล่งท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม เช่น วัดพระธาตุลำปางหลวง วัดคู่บ้านคู่เมืองของชาวลำปาง มีมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวีในราวพุทธศตวรรตที่ 20 งดงามด้วยสถาปัตยกรรมเก่าแก่มากมาย กาดกองต้า เป็นย่านตลาดเก่าตั้งอยู่ขนานกับแม่น้ำวัง ในอดีตกาดกองต้าเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ เป็นแหล่งซื้อขายและกระจายสินค้าไปตามหัวเมืองต่างๆ กาดกองต้าในอดีตจึงคับคั่งไปด้วยพ่อค้าวณิชผู้มั่งคั่งหลากหลายเชื้อชาติทั้งไทย พม่า จีน ฝรั่ง การผสมผสานทางวัฒนธรรมจึงเกิดขึ้น ที่เห็นเป็นรูปธรรมคือ บ้านเรือนสิ่งก่อสร้างมีทั้งเรือนไทยแบบภาคกลาง ไทยล้านนา พม่า จีน และชาติตะวันตกอายุกว่า 100 ปี มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และสวยงามมากมายที่กาดกองต้า และมีสถานีรถไฟลำปางที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2458-2459 หรือเมื่อประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา ออกแบบโดยวิศวกรชาวเยอรมัน และตัวอาคารได้รับรางวัลเป็น อาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประเภทอาคารสถาบันและสาธารณะ

    ลำปางจึงเป็นหนึ่งใน 12 เมืองที่ต้องห้ามพลาดโดยเด็ดขาด เพราะเป็นเมืองรถม้าที่ไม่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

    อัลบั้มภาพ 26 ภาพ

    อัลบั้มภาพ 26 ภาพ ของ ท่องเที่ยวสไตล์พิศาล พาชม "บ้านป่องนัก" ที่ประทับแรม Unseen ของสองกษัตริย์ไทย